หูและเสียง

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ
ถ้าท่านได้รับข้อความเหล่านี้ทางอีเมล์แต่ไม่เห็นวิดีโอคลิป เข้ามาดูที่ https://witpoko.com/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่องตาและภาพลวงตาอยู่ที่นี่  เรื่องหูจากปีที่แล้วอยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องหูและเสียง

เริ่มด้วยถามเด็กๆว่าเราใช้อะไรฟังเสียง เด็กๆก็บอกว่าใช้หู ใช้สมอง บางคนบอกว่าใช้ปากและจมูก ผมเลยบอกว่าให้อุดหูแน่นๆแล้วอ้าปากและจมูกลองฟังเสียงได้ไหม เด็กๆก็บอกว่าไม่ได้ยิน ดังนั้นผมเลยบอกว่าปากกับจมูกไม่น่าจะใช้ฟังเสียงได้  (แต่ความจริงถ้าเสียงตำ่และดังพอ หูเราอาจจะไม่ได้ยินแต่ร่างกาย หน้าอกและส่วนอื่นๆอาจใช้รู้สึกคลื่นเสียงต่ำๆเหล่านั้นได้แต่สมองเราจะไม่แปลความว่าเป็นเสียง มีคนทดลองเรื่องเสียงตำ่ๆเหล่านี้และบอกว่าอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่ามีผีอยู่ใกล้ๆ ถ้าสนใจลองหาข้อมูลเรื่อง Infrasound ดูนะครับ)

พอเราตกลงกันว่าเราใช้หูและสมองฟังเสียง ผมก็เอาภาพส่วนประกอบของหูให้ดู: Continue reading หูและเสียง

ตาและภาพลวงตา

 

ถ้าท่านได้รับข้อความเหล่านี้ทางอีเมล์แต่ไม่เห็นวิดีโอคลิป เข้ามาดูที่ https://witpoko.com/ นะครับ (คราวที่แล้วเรื่องสมดุลของร่างกายและกลหลอกลวงชาวบ้านอยู่ที่นี่  เรื่องตาจากปีที่แล้วอยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้เป็นวันแรกของปีการศึกษาใหม่ที่ผมได้ไปสอนเด็กๆที่โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิและกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมครับ วันนี้คุยกันเรื่องตาและภาพลวงตา

เราเริ่มกันโดยการถามเด็กๆว่าเรามองเห็นได้อย่างไร เด็กๆก็บอกว่าต้องใช้ตา ผมก็ถามว่าใช้อย่างอื่นด้วยไหม ธีธัชบอกว่าใช้สมองด้วย ผมจึงบอกเด็กๆว่าลูกตารับแสงเข้าไปแล้วส่งสัญญาณไฟฟ้าตามเส้นประสาทไปยังสมอง สมองจะตีความสัญญาณไฟฟ้าว่าเห็นอะไรอยู่ เด็กๆบางคนถามว่าแล้วไฟไม่ชอร์ตเหรอ ผมก็บอกว่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้ในร่างกายมีระดับต่ำ ไม่เป็นอันตราย และบอกว่าเราทุกคนต่างเป็นมนุษย์ไฟฟ้ากันทั้งนั้น ความคิดและการสื่อสารภายในร่างกายใช้ไฟฟ้าส่งสัญญาณเป็นส่วนใหญ่ส่วนหนึ่ง
 
จากนั้นผมก็เอารูปตาให้เด็กๆดู และถามเด็กๆว่าส่วนต่างๆคืออะไร ทำไมตาดำถึงสีดำ (เพราะแสงวิ่งผ่านเข้าไปทางตาดำเข้าไปในลูกตาแล้วไม่สะท้อนออกมา) ทำไมในตาถึงมีเส้นเลือด (เพราะตามีชีวิต และต้องการอาหาร อากาศ และขจัดของเสีย) มีเลนส์ไว้ทำไม (ไว้รวมแสงให้ภาพไปตกที่ม่านรับแสงในดวงตาด้านในข้างหลัง ให้ภาพชัด)

Continue reading ตาและภาพลวงตา

สร้าง Bifurcation Diagram แบบง่ายๆ


พอดีมีนักเรียนตั้งกระทู้ถามเรื่องการวาดรูปเรื่อง Bifurcation Diagram เมื่อคืน ผมเลยทดลองวาดบน Mathematica เห็นว่าวิธีวาดง่ายดี เลยมาบันทึกไว้เผื่อมีใครค้นหาอีกในอนาคต ถ้าจะลองก็คัดลอกเอาไปลองได้เลย แล้วเปลี่ยนนู่นเปลี่ยนนี่เล่นดูเอง


(* กำหนด mapping ที่เราสนใจ อันนี้เรียกว่า logistic map *)
f[r_, x_] := r x (1 – x)

(* ทำการ iterate ด้วย ‘r’ ไป ‘iterations’ ครั้ง เริ่มด้วย ‘x0’ แล้วตัดมาดู ‘count’ ตัว *)
longtermValues[r_, count_, iterations_, x0_] :=
Map[{r, #} &, Take[NestList[f[r, #] &, x0, iterations], -count]]

(* เราเปลี่ยน r ตั้งแต่ 2.6 ไปจนถึง 4 โดยขยับทีละ 0.001 สำหรับแต่ละ r เรา iterate 500 ครั้งแล้วเอา 200 ตัวสุดท้่ายมาใช้ เราต้องใช้ Flatten[…,1] เพื่อให้คู่ลำดับทั้งหมดอยู่ในลิสท์ระดับเดียวกัน *)
allValues = Flatten[Table[longtermValues[r, 200, 500, 0.2], {r, 2.6, 4, 0.001}], 1];

(* วาดรูป *)
ListPlot[allValues, PlotStyle -> PointSize[0.001]]

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)