วิทย์ประถม: เล่นกับล้อและแรงเสียดทาน

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆศูนย์การเรียนปฐมธรรมมาครับ เด็กๆหัดคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยพยายามอธิบายกลคนในกล่อง วันนี้ผมสอนให้เด็กๆรู้จักการแรงเสียดทานและล้อ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลในคลิปนี้ครับ เด็กๆดูกลก่อนแล้วพยายามอธิบายก่อนเฉลย คราวนี้เป็นกลคนในกล่อง:

กิจกรรมหัดอธิบายมายากลนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็น และหวังว่าเมื่อโตไปจะไม่ถูกหลอกง่ายๆครับ

จากนั้นผมก็แนะนำให้เด็กๆรู้จักแรงเสียดทานและล้อ บอกเด็กๆว่าเมื่อเรามีของสองชิ้นมาขัดมาถูกัน หรือมีการสัมผัสแบบพยายามขยับ (ไม่ใช่วางแตะไว้เฉยๆ) เช่นถ้าเราเอามือมาถูกัน เราจะรู้สึกว่ามีแรงต้าน ถูนานๆเกิดความร้อน หรือวางกล่องไว้กับพื้นแล้วพยายามลากหรือผลักมันจะรู้สึกว่ามีแรงต้าน

ประโยชน์ของแรงเสียดทานก็เช่น ทำให้เราเดินได้โดยไม่ลื่น ทำให้จับสิ่งของได้ไม่หลุดมือ ทำให้เบรครถทำงานได้ ช่วยให้รถวิ่งบนถนนได้

แต่บางครั้งเราก็ไม่ต้องการแรงเสียดทาน เพราะทำให้เครื่องจักรสึกหรอ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานในการเคลื่อนที่ ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นหรือตลับลูกปืนช่วยลดแรงเสียดทาน

ส่วนล้อก็เป็นอุปกรณ์ที่อาศัยแรงเสียดทานตรงที่ล้อติดกับพื้นทำให้สิ่งต่างๆที่ติดล้อสามารถกลิ้งหรือขับดันให้เคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้น ล้อต้องการแรงเสียดทานเพื่อเคลื่อนที่ เหมือนตอนเราเดินบนพื้นลื่น จะเดินไม่ได้ ล้อก็เช่นกัน ต้องการแรงเสียดทานพอดีๆ เพื่อทำให้ล้อหมุนไปข้างหน้าได้ ไม่ลื่นไถลออกนอกทาง และสามารถเบรกหยุดได้

แล้วเราก็ทำกิจกรรมลากของและลากเพื่อนๆโดยใช้และไม่ใช้ล้อกันครับ ผูกที่ชั่งน้ำหนักไว้กับเชือก ดูว่าต้องใช้แรงลากเท่าไร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.