วิทย์ม.ต้น: การเติบโตของเงินออมเป็นประจำ, หัดใช้ Mu-Editor

สัปดาห์นี้เด็กม.2-3 เขียนโปรแกรมหาเงินสะสมจากการออมเป็นประจำปีละเท่าๆกัน โดยมีผลตอบแทนต่อปีเท่าๆกัน เป็นเวลาหลายๆปีครับ ต่อยอดจากสัปดาห์ที่แล้วที่คำนวณมูลค่าเงินในอนาคตถ้ามีการทบต้นไปเรื่อยๆหลายๆปี

เราปรับชื่อตัวแปรของฟังก์ชั่นหาค่าเงินในอนาคตให้เป็นสากลมากขึ้น:

หัดใช้ f-string เพื่อจัดรูปแบบข้อความหรือจำนวนทศนิยม:

และคำนวณเงินอนาคตทั้งหมดถ้าออมเท่าๆกันทุกปี:

ถ้าออมเงินทุกปีๆละ 1 บาท ที่ผลตอบแทน 0%, 2%, 5%, 7%, 10%, 15%, 20% เป็นเวลา 10, 20, 30, 40, 50 ปี จะมีเงินรวมตอนจบดังนี้:

สามารถโหลด Jupyter Notebook ไปเล่นได้ที่นี่ หรือดูโค้ดออนไลน์ได้ที่ https://colab.research.google.com/drive/1m8nOG-kKcsY7zur6IIrG9NlzNyB5ylYS?usp=sharing นะครับ

นอกจากนี้เด็กๆม.1, 2, 3 ก็ได้รู้จัก Mu Editor สำหรับเขียนโปรแกรมไพธอนแล้วเก็บเป็นไฟล์ .py แยกต่างหากไม่อยู่ใน Jupyter Notebook ครับ สามารถโหลดได้ที่ https://codewith.mu

เด็กม. 1 ได้เห็น turtle graphics นิดหน่อย ในอนาคตเราคงเอามาใช้วาดนู่นวาดนี่กัน

วิทย์ม.ต้น: Self-Selection Bias, Big History Project, เล่นฟ้าผ่าจิ๋ว

วันนี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง self-selection bias จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli  ที่เราต้องระวังว่าการสรุปต่างๆของเราอาจเกิดจากเลือกแหล่งข้อมูลที่มีลักษณะพิเศษหรือเฉพาะเจาะจง ทำให้บทสรุปของเราไม่ตรงกับความจริงครับ

เด็กๆได้รู้จักเว็บ Big History Project ซื่งเป็นเว็บอธิบายความเป็นมาโดยย่อ (มากๆ) ว่ามนุษยชาติมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร บทเรียนจะเน้นว่าสิ่งที่ซับซ้อนใหม่ๆเกิดจากสิ่งที่เรียบง่ายกว่าเมื่อมีส่วนผสมและสภาวะที่เหมาะสม มีมีสิ่งซับซ้อนใหม่ๆเกิดขึ้นจะเรียกว่า Threshold โดยผมจะให้เด็กๆดูข้อมูลสัปดาห์ละ Threshold แล้วมาคุยกันครับ

จากนั้นเด็กก็หัดเป็น μThor หรือ μZeus (ไมโครธอร์, ไมโครซูส) หรือเทพเจ้าสายฟ้าขนาดจิ๋ว สร้างฟ้าผ่าจิ๋วจากไม้ชอร์ตยุงกันครับ หลักการเป็นประมาณนี้ครับ:

ภาพกิจกรรมเด็กๆครับ:

ลิงก์เรื่องมนุษย์เคยไปดวงจันทร์(หรือเปล่า? )

ครบรอบ 50 ปีมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรก ก็มีเหล่านักทฤษฎีสมคบคิดมาแพร่ความเชื่อผิดๆว่ามนุษย์ไม่เคยไปเหยียบดวงจันทร์อีกแล้วครับ วันนี้ผมจึงบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องว่าทำไมเหล่านักทฤษฎีสมคบคิดเขาเข้าใจผิด มนุษย์เคยไปดวงจันทร์แล้วจริงๆ เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ:

สรุปคือ:

  1. มนุษย์เคยไปดวงจันทร์จริงๆ
  2. มนุษย์เคยเก็บหินดวงจันทร์มาโลก
  3. มนุษย์ทิ้งอุปกรณ์วิทย์หลายอย่างไว้บนดวงจันทร์ มีกระจก (retroreflectors) ที่หอดูดาวสามารถยิงเลเซอร์ไปที่ดวงจันทร์แล้วรอไม่ถึงสามวินาทีเพื่อดูแสงที่สะท้อนกลับมา
  4. ความเข้าใจผิดเรื่องบรรยากาศบนดวงจันทร์ (สุญญากาศ ไม่มีลม ไม่มีสายน้ำ), เรื่อง perspective, เรื่องธรรมชาติของฝุ่นและหินบนดวงจันทร์, และเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้นักทฤษฎีสมคบคิดตีความภาพและวิดีโอต่างๆผิด
  5. ยานสำรวจจากหลายๆชาติเห็นร่องรอยหลักฐานการลงจอดและสำรวจบนผิวดวงจันทร์

ลิงก์ภาษาไทยเรื่องนี้ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข้อมูล ภาพถ่าย บันทึกจากการสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ทุกครั้ง (Apollo Lunar Surface Journal)

ข้อโต้แย้งโดยนักดาราศาสตร์ Phil Plait ต่อรายการทีวีที่แพร่ความคิดว่าคนไม่เคยไปดวงจันทร์

ปล่อยค้อนกับขนนกพร้อมๆกันบนดวงจันทร์ ตกถึงพื้นพร้อมๆกันเพราะไม่มีแรงต้านอากาศ:

ฝุ่นที่กระเด็นจากล้อรถบนดวงจันทร์ตกลงพื้นต่างจากโลกเพราะบนดวงจันทร์ไม่มีอากาศคอยต้านฝุ่นขนาดต่างๆครับ:

สัมภาษณ์คุณนีล อาร์มสตรอง มนุษย์คนแรกบนดวงจันทร์ครับ:

สัมภาษณ์คุณไมเคิล คอลลินส์ ผู้ขับยาน Apollo 11 Command Module รอรับนีล อาร์มสตรองและบัซ อัลดรินที่ไปเดินบนดวงจันทร์ครับ:

กระจกที่มนุษย์อวกาศทิ้งไว้บนดวงจันทร์เพื่อใช้แสงสะท้อนวัดระยะระหว่างโลกและดวงจันทร์ครับ:

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)