วิทย์ม.ต้น: เฉลยข้อสอบเทอมที่แล้ว, การเหนี่ยวนำด้วยแม่เหล็ก, ปืนแม่เหล็ก

วันนี้เราคุยกันเรื่องเหล่านี้ครับ:

1. เฉลยข้อสอบองค์ที่แล้วและพาดพิงสิ่งต่างๆเหล่านี้:

-แนะนำให้เด็กๆศึกษา Cosmic Calendar

-เขียนโปรแกรมบวกเลข 1 – 1/2 + 1/3 – 1/4 + 1/5 – 1/6 … ได้ค่าประมาณ 0.69 = natural log of 2 = ln(2)

-โชว์ว่า 1 + 1/2 + 1/3 + 1/4 + 1/5 + 1/6 … จะเพิ่มไปเรื่อยๆแต่จะเพิ่มช้ามากๆ (ถ้าเรียนมากกว่านี้สามารถพิสูจน์ว่ามีค่าเป็นอนันต์)

-รู้จักกฎของ 72 (หรือ 70) ไว้ใช้ประมาณในใจว่าถ้าลงทุนมีผลตอบแทนทบต้นที่ r % ต่อปี จะใช้เวลาประมาณ 72/r ปีที่เงินจะงอกเงยเป็น 2 เท่า ทำสเปรดชีตไว้คำนวณเปรียบเทียบการเติบโตของเงินที่นี่

-คำนวณการออมเงินเป็นประจำทุกปีที่ผลตอบแทนคงที่ต่อปีเป็นเวลา 40 ปีจะมีเงินออมรวมเท่าไร ทำสเปรดชีตไว้ที่นี่

2. เล่นเหนี่ยวนำด้วยแม่เหล็ก สองอันนี้เป็นคลิปอธิบายในอดีตครับ:

และเด็กๆได้ดูคลิปการลอยตัวด้วยการเหนี่ยวนำ:

3. เล่นปืนแม่เหล็ก (Gaussian Gun) โดยเอาลูกเหล็กอย่างน้อยสองลูกมาเรียงกันแล้วติดกับแม่เหล็กแรงๆปล่อยลูกเหล็กอีกลูกให้กลิ้งเข้าชนจากอีกด้านจะมีลูกเหล็กกระเด็นออกไปด้วยความเร็วสูง เพราะแม่เหล็กเพิ่มความเร็วลูกเหล็กที่วิ่งเข้ามาชน สามารถต่อกันเป็นตอนๆให้ความเร็วลูกเหล็กเพิ่มขึ้นเยอะๆได้:

เราทำการถ่ายวิดีโอสโลโมชั่นไว้สำหรับวิเคราะห์ด้วย Tracker ในโอกาสต่อไปด้วยครับ

ภาพบรรยากาศกิจกรรมวันนี้:

วันนี้เด็กม.ต้นเรียนรู้เรื่องการเหนี่ยวนำด้วยแม่เหล็ก และเล่นและถ่ายวิดีโอปืนแม่เหล็กเพื่อไปวิเคราะห์ต่อไปครับ

Posted by Pongskorn Saipetch on Tuesday, November 10, 2020

วิทย์ประถม: ปล่อยลูกแก้วจากที่สูง (Gravity Golf), กรอกน้ำและเทน้ำ, วิทย์อนุบาล: ปล่อยลูกแก้ว

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆประถมศูนย์การเรียนปฐมธรรมและเด็กอนุบาลสามอนุบาลบ้านพลอยภูมิมาครับ เด็กๆประถมหัดคิดแบบวิทย์โดยพยายามอธิบายมายากลปามีด ประถมต้นเล่นเกมปล่อยลูกแก้วที่ผมเรียกให้เท่ว่า Gravity Golf ประถมปลายทดลองหาวิธีกรอกน้ำใส่และเทน้ำออกจากขวดให้เร็วๆ อนุบาลสามเล่นปล่อยลูกแก้วเหมือนประถมต้น

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมประถมอยู่ที่นี่ กิจกรรมอนุบาลสามอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กประถมได้ดูมายากลนี้ครับ ดูเฉพาะตอนแรกที่เป็นกล ยังไม่ดูส่วนเฉลยตอนหลัง แล้วดูเฉลยหลังจากได้พยายามคิดพยายามอธิบายว่ากลแต่ละกลทำอย่างไรกันก่อน กลวันนี้คือขว้างมีดครับ:

กิจกรรมนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็นครับ

สำหรับเด็กประถมต้น เราจำลองรถไฟเหาะตีลังกา เอาสายพลาสติกใสมาสมมุติว่าเป็นราง เอาลูกแก้วมาสมมุติว่าเป็นรถไฟ แล้วปล่อยลูกแก้วในสายพลาสติกจากที่สูงๆ เด็กๆสังเกตว่าลูกแก้วจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเมื่อตกลงสู่ที่ต่ำ เป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานศักย์โน้มถ่วงเป็นพลังงานจลน์ (ผมเคยบันทึกคำอธิบายที่ละเอียดขึ้นอยู่ที่ “จำลอง “รถไฟเหาะ” การเปลี่ยนรูปพลังงานระหว่างศักย์และจลน์” ครับ) แต่การเล่นคราวนี้เรามีถ้วยพลาสติกเป็นเป้าด้วย ผมเลยตั้งชื่อเกมนี้ว่า Gravity Golf คือคล้ายๆตีกอล์ฟโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นตัวให้ความเร็วลูกแก้ว

สำหรับประถมปลาย ผมให้ทดลองและสังเกตการใส่น้ำเข้าไปในขวดแบบต่างๆ และให้หาทางเอาน้ำออกจากขวดให้เร็วๆ

ให้เปรียบเทียบเวลาว่าทำแบบไหนใช้เวลาน้อยกว่ากันครับ เช่นทดลองเติมน้ำใส่ขวดโดยเทใส่แบบปกติไม่มีเครื่องมือช่วย,ใส่กรวย, ใส่หลอด, เปรียบเทียบกรวยใหญ่ vs. กรวยเล็ก ,ทดลองเอาน้ำออกจากขวดโดยเทออกแบบปกติไม่มีเครื่องมือช่วย, เขย่าขวดหมุนๆให้เกิดน้ำวนออกรอบๆแกนอากาศที่ไหลเข้า (คล้ายๆพายุหมุน), เจาะขวดให้อากาศเข้าได้, เป่าลมไปแทนที่

สำหรับเด็กอนุบาลสามผมให้เล่น Gravity Golf แบบประถมต้นครับ:

วิทย์ม.ต้น: ความรุนแรงในมนุษยชาติ, เล่นลูกแก้วชนกัน, ลูกแก้วแทนรถไฟเหาะ (พลังงานศักย์/พลังงานจลน์)

วันนี้เราคุยกันเรื่องเหล่านี้ครับ:

1. เราดูคลิปน่าสนใจก่อนเวลาเรียนเช่นทำไมไฟบ้านเป็นกระแสสลับ:

บินเหมือน Iron Man:

ตัวอย่างหุ่นยนต์ในงานหุ่นยนต์ที่ประเทศจีน:

https://youtu.be/baHH_xMaJ1w

2. คุยกันถึงบท “เลือดสีแดงบนหญ้าเขียว” จากหนังสือปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล เรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงในตัวเราและธรรมชาติ

3. ทำไมการทะเลาะกันบางเรื่องเช่นเรื่องการเมืองและศาสนาจึงมักจะนำไปสู่ความขัดแย้งมากๆหรือความรุนแรง (เพราะเราที่เป็นสัตว์สังคม ชอบคิดแบบเผ่า และการเมืองและศาสนาเป็นสิ่งที่รวมคนเป็นเผ่า) ผมเคยคุยเรื่องนี้ใน ThaiPBS Podcast ครับ

4. อยากแนะนำให้เด็กๆดูคลิป “โลกของเรากำลังจะดีขึ้นหรือแย่ลง ลองมาดูตัวเลขกัน” (Is the world getting better or worse?) โดย Steven Pinkerครับ วันนี้เราไม่ได้ดูเพราะต้องแบ่งเวลาเล่นลูกแก้ว

5. เราเล่นกับลูกแก้วสองแบบ แบบแรกคือเล่นปล่อยลูกแก้วชนกันหลายๆขั้นตอนแต่ให้โดนเป้าที่เป็นลูกแก้วลูกสุดท้ายเสมอ

เราอาศัยปรากฏการณ์ที่เมื่อมีวัตถุทรงกลมแข็งผิวเรียบ (เช่นลูกแก้ว) ขนาดเท่าๆกันสองลูกวางติดกันอยู่ ถ้ามีอะไรมาชนลูกใดลูกหนึ่ง อีกลูกจะกระเด็นออกไปในแนวเส้นตรงที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางของทรงกลมทั้งสองลูก ดังนั้นถ้าเราเรียงแนวเส้นตรงที่ผ่านจุดศูนย์กลางของลูกบอลแต่ละคู่ เราสามารถบังคับทิศทางการกระเด้งไปที่เป้าที่เราต้องการได้ง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องเล็งอะไรมากมาย ตราบใดที่มีการชนที่แรงมากพอ:

6. การเล่นกับลูกแก้วแบบที่สองคือเล่นรถไฟเหาะตีลังกา เอาสายพลาสติกใสมาสมมุติว่าเป็นราง เอาลูกแก้วมาสมมุติว่าเป็นรถไฟ แล้วปล่อยลูกแก้วในสายพลาสติกจากที่สูงๆ เด็กๆสังเกตว่าลูกแก้วจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเมื่อตกลงสู่ที่ต่ำ เป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานศักย์โน้มถ่วงเป็นพลังงานจลน์ (ผมเคยบันทึกคำอธิบายที่ละเอียดขึ้นอยู่ที่ “จำลอง “รถไฟเหาะ” การเปลี่ยนรูปพลังงานระหว่างศักย์และจลน์” ครับ)

คลิปจากวันนี้ครับ:

คลิปสโลโมชั่นจากในอดีตครับ:

บรรยากาศกิจกรรมวันนี้ครับ:

กิจกรรมม.ต้นเล่นลูกแก้ววันนี้ครับ

Posted by Pongskorn Saipetch on Wednesday, October 21, 2020

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)