ทำไมการดูชะตาชีวิตด้วยวันเดือนปีเกิดจึงไม่น่าจะทำได้

สมมุติว่าหมอดูสามารถดูชะตาชีวิตด้วยวันเดือนปีเกิดได้ แสดงว่าหมอดูสามารถใช้ฟังค์ชัน f(d) ที่รับค่าวันเดือนปีเกิด d เข้าไป แล้วให้คำทำนายชะตาชีวิต p ที่ถูกต้อง

หรือแสดงว่า มี f ที่ f(d) = p

ถ้า f มีจริง คุณสมบัติของ f จะเป็นอย่างไร?

เราสามารถรู้ว่าคุณสมบัติของ f เป็นอย่างไรได้โดยการดูชะตาชีวิตของฝาแฝด เราพบว่าฝาแฝดที่เกิดที่เวลาต่างกันนิดเดียว(เป็นหลักนาที) มีชะตาชีวิตที่ต่างกันได้มากมาย (เช่นตายไม่พร้อมกัน นิสัยต่างกัน ป่วยต่างกัน ฯลฯ) แสดงว่า f ขึ้นอยู่กับวันเดือนปีเกิด d แบบอ่อนไหวมาก คือ ถ้าค่า d เปลี่ยนไปนิดเดียวจะสามารถทำให้ f(d) เปลี่ยนไปเยอะมาก

คุณสมบัตินี้แปลว่าอะไร มันแปลว่าถ้าเราไม่สามารถให้ข้อมูลวันเดือนปีเกิดที่ละเอียดและถูกต้องมากๆ คำทำนายชีวิตที่ได้ก็จะคลาดเคลื่อนไปมากจนไม่เหมือนชีวิตเรา เช่นถ้าคลาดเคลื่อนไปสองสามนาที จะทำให้คำทำนายออกทะเลไปเลย ด้วยคุณสมบัติของ f ดังที่กล่าวมา

โดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าฟังค์ชัน f จะมีตัวตนอยู่แล้ว แต่ถึงแม้ว่า f จะมีตัวตน คุณสมบัติที่ f ขึ้นอยู่กับวันเดือนปีเกิด d แบบอ่อนไหวมาก ก็ทำให้ไม่สามารถใช้ทำนายได้อยู่ดี
— – —- – —– ———
ป.ล.
1. ถ้าอ่านหรือฟังภาษาอังกฤษได้ ลองค้นคว้าดูว่าหมอดู(และผู้วิเศษทั้งหลาย)หลอกชาวบ้านอย่างไร ด้วยการค้นหาด้วย keywords เช่น “cold reading” ผมมีตัวอย่าง links ให้สามอัน: 1, 2, 3

2. ลองหา video clips ของ Derren Brown ดูที่ YouTube เพื่อดูเทคนิคการทำให้คนคล้อยตาม และคิดว่าเราเป็นผู้วิเศษ

3. ถ้ารู้เรื่อง probability บ้าง ปรากฎการณ์แปลกๆ ก็อาจจะไม่แปลกนัก

4. ถ้าคุณเป็นหมอดูที่เก่งจริง หรือรู้จักหมอดูที่เก่งจริง คุณอาจจะได้รางวัล $1,000,000 มาใช้ก็ได้!

5. ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับบทความเลย ผมแค่อยากโชว์ท่าแปลงร่างของลูกผมเท่านั้น

ถ้าจะพยายามเข้าใจช่วงเวลานานๆ…

นอกจากวิธี Cosmic Calendar แล้ว เรายังทำแบบนี้ได้อีก

ถ้าเราสมมุติว่าช่วงชีวิตเราเท่ากับ 100 ปี แล้วแทน100ปีด้วยความยาว 1 มิลลิเมตร
แล้วนับย้อนหลังไป…

เวลาที่ไอน์สไตน์อยู่ จะประมาณ 1 มิลลิเมตร (100 ปี)
เวลาที่ดาร์วิน (ผู้ค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการ)อยู่ จะประมาณ 2 มิลลิเมตร (200 ปี)
เวลาที่นิวตันอยู่ จะประมาณ 3 มิลลิเมตร (300 ปี)
เวลาที่สมเด็จพระนเรศวรอยู่ จะประมาณ 4 มิลลิเมตร (400 ปี)
เวลาที่ลีโอนาโด ดาวินชีอยู่ จะประมาณ 5 มิลลิเมตร (500 ปี)
เวลาที่พ่อขุนรามคำแหงอยู่ จะประมาณ 7.5 มิลลิเมตร (750 ปี)
เวลาที่โมฮัมมัดอยู่ เกือบประมาณ 1.5 เซ็นติเมตร (1,400 ปี)
เวลาที่พระเยซูอยู่ จะประมาณ 2 เซ็นติเมตร (2,000 ปี)
เวลาที่อาคีมีดีส (แรงลอยตัว, ปั๊มน้ำ, แคลคูลัสบางส่วน, ฯลฯ) และ อีราทอสธีนีส (วัดขนาดโลก, หาจำนวนเฉพาะ, ฯลฯ) อยู่ จะประมาณ 2.25 เซ็นติเมตร (2,250 ปี)
เวลาที่พระพุทธเจ้าอยู่ จะประมาณ 2.5 เซ็นติเมตร หรือ 1 นิ้ว (2,500 ปี)
เวลาที่พีระมิดอียิปต์ถูกสร้าง จะประมาณ 5 เซ็นติเมตร หรือ 2 นิ้ว (5,000 ปี)
เวลาที่คนเริ่มอยู่กันเป็นเมือง จะประมาณ 10-20 เซ็นติเมตร หรือ 4-8 นิ้ว (10,000 – 20,000 ปี)
เวลาที่บรรพบุรุษคนเริ่มเดินตัวตรง จะประมาณ 1-2 เมตร (100,000 – 200,000 ปี)
เวลาที่คนกับลิงเริ่มต่างกัน จะประมาณ 10 เมตร (1 ล้านปี)
เวลาที่ไดโนเสาร์สูญพันธ์ จะประมาณ 650 เมตร หรือเกินครึ่งกิโล (65 ล้านปี)
เวลาที่เริ่มมีไดโนเสาร์ จะประมาณ 2.3 กิโลเมตร (230 ล้านปี)
เวลาที่เริ่มมีแมลง จะประมาณ 4 กิโลเมตร (400 ล้านปี)
เวลาที่เริ่มมีปลา จะประมาณ 4.5 กิโลเมตร (450 ล้านปี)
เวลาที่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ จะประมาณ 10 กิโลเมตร (1,000 ล้านปี)
เวลาที่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตบนโลก จะประมาณ 35 กิโลเมตร (3,500 ล้านปี)
อายุของโลกและดวงอาทิตย์ จะประมาณ 45 กิโลเมตร (4,500 ล้านปี)
อายุของจักรวาลที่เราอยู่ จะประมาณ 140 กิโลเมตร หรือประมาณกรุงเทพ-พัทยา (13,700 ล้านปี)

ด้วยอัตรานี้ (1 มิลลิเมตร = 100 ปี) ความหนาของเส้นผม (50 microns = 1/20 มิลลิเมตร) จะเท่ากับเวลา 5 ปี
ก่อนที่เราจะสบประมาทใครว่าเป็นไดโนเสาร์เต่าตุ่น อย่าลืมว่าไดโนเสาร์อยู่ได้นานกว่าเวลาที่มนุษย์เริ่มเดินตรงกว่า 1,000 เท่า และนกน่าจะเป็นลูกหลานโดยตรงของไดโนเสาร์

Another Resource For Budding Mad Scientists

Training the next generation of mad scientists takes a lot of work. I have to keep abreast of the current research news and not be too ignorant to know roughly what is being said. As a result, I can only understand less than 0.000001% of human knowledge. Good thing that we have a website like MadSci Network where people dedicated to training more mad scientists pool their heads together to form one giant collective cranium.

If you don’t know where to start, you might want to go here first.

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)