เล่มนี้ชื่อ “เอาตัวรอดด้วย ทฤษฏีเกม” เขียนโดยคุณ นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ ครับ เก๊าเพื่อนผมบอกว่าเป็นเรื่องที่เด็กนักเรียน (และผู้ใหญ่) ทุกคนควรเรียนรู้ เพราะมีประโยชน์มากในการตัดสินใจในชีวิต ซึ่งผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ อ่านง่าย และราคาไม่แพง คุ้มมากครับ ผมซื้อ 3 เล่มแล้วแจกไป 2 แล้ว
สารบัญครับ:
กำเนิดทฤษฎีเกม…..๑๑
๑. เกม…..๑๕
๒. กลยุทธ์เด่น…..๒๗
๓. ความลำบากใจของจำเลย…..๓๘
๔. จุดสมดุลของแนช…..๕๐
๕. เกมปอดแหก…..๖๒
๖. เกมแห่งความร่วมใจ…..๗๐
๗. สุ่มกลยุทธ์…..๗๖
๘. ความน่าเชื่อถือ…..๘๒
๙. การต่อรอง…..๙๒
๑๐. เกมกับค่าจ้าง…..๑๐๖
๑๑. เกมกับธุรกิจ…..๑๑๘
๑๒. เกมกับตลาดหุ้น…..๑๒๗
บทส่งท้าย….๑๔๑
— – —- – —– ———
ผมคิดว่า บท “ความลำบากใจของจำเลย” (Prisoners’ Dilemma) เป็นตัวอย่างสำคัญว่ามนุษย์จะทำให้กฏแห่งกรรมทำงาน และทำให้สังคมน่าอยู่ได้อย่างไรโดยไม่ต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยครับ
เด็กออสเตรเลียอายุ 14 ปี (เป็นนักดนตรีพังค์ร็อคด้วย) เสี่ยงชีวิตเข้าช่วยชายอายุ 54 ปีที่เป็นลมตกลงไปในรางรถไฟ
เขาเรียนรู้เรื่องแรงลมดูดจากการเคลื่อนที่ของรถไฟจากรายการ Myth Buster ด้วย!
ฝูงปลาโลมาเข้าช่วยคนที่ถูกฉลามขาวกัด โดยว่ายน้ำล้อมรอบคนไม่ให้ฉลามเข้าใกล้
คุณสงสัยไหมว่าทำไมสิ่งมีชีวิตถึงช่วยเหลือกัน ถ้าสงสัยอาจจะอยากอ่านหนังสือที่ผมเคยแนะนำเรื่อง The Evolution of Cooperation
ศาสนาเป็นผลจากจริยธรรมที่มีอยู่แล้วในตัวคน(และสัตว์)ที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ ไม่ใช่เหตุ (ดังนั้นควรระวังเวลาศาสนากลายพันธ์ุและเป็นโทษกับมนุษยชาติด้วย จงเชื่ออะไรอย่างมีเหตุผล ไม่งมงาย)
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)