เรียนรู้เรื่องโมเลกุลแป้งข้าวโพดและใช้หลักการของเบอร์นูลลีเพิ่มปริมาณลม

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องอะตอมและโมเลกุล (+ของเล่นนักดำน้ำสำหรับเด็กอนุบาล) อยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องโมเลกุลแป้งข้าวโพดและการเป่าเพิ่มปริมาณลมด้วยหลักการของเบอร์นูลลีครับ

สำหรับเด็กประถม ผมถามคำถามทบทวนเรื่องโมเลกุลจากสัปดาห์ที่แล้ว โมเลกุลที่เรารู้จักเช่นน้ำ (H2O) ก๊าซออกซิเจน (O2) ก๊าซไฮโดรเจน (H2) มีเธน (CH4) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ล้วนเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่ประกอบด้วยอะตอมไม่กี่อะตอมเท่านั้น วันนี้เรามาดูรู้จักแป้งข้าวโพดที่เป็นของเล่นที่เล่นสนุกเนื่องจากโมเลกุลของมันมีขนาดใหญ่ และต่อกันเป็นเส้นยาวๆในขนาดต่างๆกันครับ

ผมให้เด็กๆดูรูปวาดโมเลกุลของแป้งจากเว็บนี้ครับ จะเห็นได้ว่าโมเลกุลมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับโมเลกุลเล็กที่เรารู้จักจากสัปดาห์ที่แล้ว (ตรงมุมหยักๆเป็นคาร์บอน) โมเลกุลแป้งเกิดจากโมเลกุลน้ำตาลกลูโคสมาต่อกันเป็นเส้นยาวๆที่มีขนาดไม่แน่นอนครับ แต่ลักษณะมันจะเป็นเส้นยาวๆ:

ตัวอย่างโมเลกุลแป้ง

แป้งมีอยู่ในอาหารหลายๆชนิดเช่นข้าว ขนมปัง เกี๊ยว เส้นก๊วยเตี๋ยว เวลาเราเคี้ยวข้าวแล้วอมไว้ น้ำย่อยในน้ำลายของเราจะทำให้แป้งบางส่วนแตกตัวเป็นโมเลกุลน้ำตาล ทำให้เรารู้สึกว่ามันหวานขึ้น Continue reading เรียนรู้เรื่องโมเลกุลแป้งข้าวโพดและใช้หลักการของเบอร์นูลลีเพิ่มปริมาณลม

อะตอมและโมเลกุล (+ของเล่นนักดำน้ำสำหรับเด็กอนุบาล)

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องอุณหภูมิ อะตอม และของเล่นคอปเตอร์กระดาษอยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องอะตอมและโมเลกุลสำหรับเด็กประถม และทำของเล่นนักดำน้ำสำหรับเด็กอนุบาลครับ

คราวที่แล้วคุยกับเด็กๆไปว่าเวลาเราบอกว่าของอะไรร้อน ของอะไรเย็นนั้น เรากำลังวัดว่าอะตอมหรือโมเลกุลในของนั้นๆเคลื่อนที่ไปมาเร็วแค่ไหน ถ้าเคลื่อนที่เร็วหรือสั่นเร็วก็จะร้อน ถ้าเคลื่อนที่ช้าหรือสั่นช้าก็จะเย็น วันนี้เราเลยมาคุยกันต่อให้มีความเข้าใจอะตอมและโมเลกุลมากขึ้น

ผมเริ่มโดยถามเด็กๆว่าอะตอมคืออะไร เพื่อดูว่าเด็กๆเข้าใจอะไรบ้างจากสัปดาห์ที่แล้ว เด็กโต(ป.4)ตอบได้ว่าเป็นส่วนประกอบเล็กๆ เล็กที่สุด ถ้าทำให้เล็กไปกว่านั้นจะเปลี่ยนชนิด ผมก็ยกตัวอย่างเสริมว่าถ้าเราเอาทองมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆไปเรื่อยๆ มันจะถึงจุดหนึ่งที่ชิ้นทองเล็กมากจนถ้าเราพยายามแบ่งแยกมัน ชิ้นส่วนที่ได้จะไม่ใช่ทองอีกต่อไป เราเรียกเจ้าชิ้นทองที่เล็กที่สุดว่าอะตอมของทอง ในแบบคล้ายๆกัน เราพบว่ามีชิ้นเหล็กที่เล็กที่สุดที่เรียกว่าอะตอมของเหล็ก คือถ้าเราพยายามตัดอะตอมของเหล็กให้เล็กลงไปอีก ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่ใช่เหล็กอีกต่อไป เช่นเดียวกันชิ้นอลูมิเนียมที่เล็กที่สุดก็เรียกว่าอะตอมของอลูมิเนียม ชิ้นเล็กสุดของออกซิเจนเรียกว่าอะตอมออกซิเจน นักวิทยาศาสตร์พบว่าวัสดุต่างๆจะประกอบด้วยอะตอมชนิดต่างๆเรียงต่อๆกัน และจำนวนชนิดของอะตอมที่เรารู้จักจะมีประมาณร้อยกว่าชนิด เราเรียกอะตอมแต่ละชนิดว่าธาตุ Continue reading อะตอมและโมเลกุล (+ของเล่นนักดำน้ำสำหรับเด็กอนุบาล)

อุณหภูมิและอะตอม (+คอปเตอร์กระดาษสำหรับเด็กอนุบาล)

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องจับเวลาและนาฬิกาควอทซ์อยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องอุณหภูมิและอะตอมสำหรับเด็กประถม และสอนเด็กๆอนุบาลสามทำของเล่นเฮลิคอปเตอร์กระดาษครับ

ผมเริ่มถามเด็กๆว่ารู้จักอุณหภูมิไหม เด็กๆบอกว่ารู้จัก ผมถามว่าคืออะไร เด็กๆก็ตอบต่างๆกันไปว่าคือความร้อน คือร้อนเย็น คืออุณหภูมิสูงคือร้อนอุณหภูมิต่ำคือเย็น ผมเลยบอกเด็กๆว่าใช่แล้ว อุณหภูมิเป็นตัวบอกว่าอะไรร้อนอะไรเย็น แล้วผมก็ถามต่อว่าเราใช้อะไรวัดอุณหภูมิ เด็กๆก็บอกว่าปรอท ผมบอกว่าปรอทเป็นแบบหนึ่ง โดยทั่วไปเราจะเรียกอุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิว่าเทอร์โมมิเตอร์ แล้วผมก็สะกดคำภาษาอังกฤษให้เด็กดูด้วย อุณหภูมิคือ Temperature และเทอร์โมมิเตอร์คือ Thermometer หน่วยของอุณหภูมิมีหลายหน่วย ที่เราใช้กันในประเทศไทยคือหน่วยเซลเซียส (Celsius) ในบางประเทศจะใช้หน่วยฟาห์เรนไฮท์ (Fahrenheit) ในการคำนวณทางวิทยาศาสตร์เราจะใช้หน่วยที่เรียกว่าเคลวิน (kelvin) ด้วย

จากนั้นผมก็เอาตัวอย่างเทอร์โมมิเตอร์มาให้เด็กๆดู ที่เอามามีสี่แบบคือแบบใช้ของเหลวขยายตัว (ในที่นี้คือแอลกอฮอล์ใส่สีแดง) แบบวัดความต้านทานไฟฟ้า แบบผลึกเหลวเปลี่ยนสี และแบบกล้องจับแสงอินฟราเรด

แบบใช้ของเหลวขยายตัว (ในที่นี้คือแอลกอฮอล์ใส่สีแดง) แบบวัดความต้านทานไฟฟ้า แบบผลึกเหลวเปลี่ยนสี และแบบกล้องจับแสงอินฟราเรด

Continue reading อุณหภูมิและอะตอม (+คอปเตอร์กระดาษสำหรับเด็กอนุบาล)

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)