สนุกกับน้ำส้มสายชูและเบคกิ้งโซดา

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “กระแสไฟฟ้า แม่เหล็ก มอเตอร์ และแบตเตอรี่” ครับ)

วันนี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กอนุบาลสามอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เราผสมน้ำส้มสายชูกับเบคกิ้งโซดาให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กันครับ ถ้าเราผสมในขวดที่มีลูกโป่งปิดอยู่ลูกโป่งก็จะโป่ง ถ้าใส่ในขวดไวน์ที่มีจุกคอร์กปิด จุกคอร์กก็จะกระเด็นออกมาเร็วมาก (ต้องระวังโดนตานะครับ) ถ้าใส่ในถุงพลาสติก ถุงพลาสติกก็จะระเบิด คำอธิบายเพิ่มเติมผมเคยบันทึกไว้แล้วที่ ของเล่นจากเบคกิ้งโซดา+น้ำส้มสายชู ครับ Continue reading สนุกกับน้ำส้มสายชูและเบคกิ้งโซดา

กระแสไฟฟ้า แม่เหล็ก มอเตอร์ และแบตเตอรี่

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ดูฟ้าผ่าในก้อนพลาสติก เล่นไฟฟ้าในถ่านไฟฉาย มอเตอร์ และหลอดไฟ” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมครับ วันนี้เด็กๆได้เห็นภาพรอยแผลเป็นของคนที่โดนฟ้าผ่าแต่ไม่ตาย พบว่ารอยเป็นกิ่งก้านสาขาดัรูป Lichtenberg Figure ที่ได้ดูไปสัปดาห์ที่แล้ว เด็กประถมต้นได้เรียนรู้เรื่องกระแสไฟฟ้าทำให้เกิดแม่เหล็ก และได้ประยุกต์โดยการประกอบมอเตอร์แบบโฮโมโพลาร์เล่นกันครับ เด็กประถมปลายได้ทดลองทำแบตเตอรี่จากโลหะต่างกันสอดใส้ด้วยกระดาษชุบกรดจากน้ำส้มสายชู ได้ทดลองกับทองแดง สังกะสี อลูมิเนียม เราพบว่าเหรียญของประเทศไทยมีส่วนประกอบของทองแดงเยอะดีครับ Continue reading กระแสไฟฟ้า แม่เหล็ก มอเตอร์ และแบตเตอรี่

ดูฟ้าผ่าในก้อนพลาสติก เล่นไฟฟ้าในถ่านไฟฉาย มอเตอร์ และหลอดไฟ

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง ‘ดูวิดีโอแขนขาไฟฟ้าเทียม ไม้แปะยุง=ฟ้าผ่าจิ๋ว กลจากไฟฟ้าสถิต” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมครับ วันนี้เด็กๆได้ดูวิดีโอการสร้างฟ้าผ่าในก้อนพลาสติกที่เรียกว่า Lichtenberg figure เด็กประถมปลายเริ่มเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ ความต้านทาน และกระแสไฟฟ้า เด็กๆทุกคนได้เล่นมอเตอร์ไฟฟ้า ได้สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างขั้วถ่านไฟฉายและทิศทางการหมุนของมอเตอร์และความสว่างของหลอดไฟ ได้เริ่มเข้าใจการต่อถ่ายไฟฉายแบบอนุกรม Continue reading ดูฟ้าผ่าในก้อนพลาสติก เล่นไฟฟ้าในถ่านไฟฉาย มอเตอร์ และหลอดไฟ

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)