วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ สำหรับเด็กประถมผมพยายามเล่าเรื่องการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติคือการวัดคลื่นความโน้มถ่วงโดยตรงเป็นครั้งแรก อีกพันสองพันปีต่อจากนี้ถ้าสปีชีส์เรายังไม่สูญพันธุ์ คนสมัยนั้นคงจำเรื่องราวร้อยแปดพันเก้าสมัยนี้ไม่ได้แล้ว พวกเราทุกคนไม่ว่ามหาเศรษฐี ยาจก นักปราชญ์ มหาโจร คงจะสูญหายไปตามกาลเวลา แต่การค้นพบนี้จะติดอยู่ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติต่อไปครับ ได้ดูคลิปจำลองการโค้งของอวกาศบนผ้ายืดด้วยครับ สำหรับเด็กอนุบาลสามทับหนึ่ง ผมให้เล่น Slinky ซึ่งก็คือสปริงอ่อนๆขนาดใหญ่ ให้สังเกตการตกของ slinky และสังเกตการเคลื่อนที่และการสะท้อนของคลื่นใน slinky และได้ดูคลิป Infinite Slinky ด้วยครับ
(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “พยายามวัดความเร็วประสาท+สมอง เริ่มรู้จักค่า Pi เล่นของเล่นบูมเมอแรง” ครับ)
สำหรับเด็กประถม ผมบอกเด็กๆว่าปกติเราคิดว่าเวลาของแต่ละคนเพิ่มขึ้นเท่าๆกัน แต่ความคิดนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริงในธรรมชาติ เมื่อประมาณร้อยปีที่แล้ว ไอน์สไตน์แสดงให้โลกดูว่าเวลาของแต่ละคนเดินช้าเดินเร็วขึ้นกับว่าคนๆนั้นเคลื่อนที่อย่างไร ถ้าเคลื่อนที่เร็วเวลาก็จะเดินช้าลง นอกจากนี้ถ้าเราอยู่ใกล้แถวที่มีแรงโน้มถ่วงมากๆเวลาเราก็จะช้าลงด้วย ระยะทางก็เหมือนกัน ถ้าเราวัดความยาวตอนเราเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ความยาวจะสั้นกว่าถ้าเราวัดตอนอยู่เฉยๆ ในชีวิตปกติประจำวันของเรา เราอยู่ในที่ที่แรงโน้มถ่วงไม่มากนัก และเคลื่อนที่ไม่เร็ว (เคลื่อนที่เร็วไม่เร็วต้องเทียบกับความเร็วแสงซึ่งเท่ากับ 300,000 ก.ม,/วินาที ครับ) เราก็เลยไม่ค่อยเห็นความแตกต่างของเวลาและระยะทาง Continue reading คุยกันเรื่องคลื่นความโน้มถ่วง หัดดูคลื่นเคลื่อนที่ใน Slinky →
อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ
ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ
(คราวที่แล้วเรื่อง “วิธีมองเห็นอากาศด้วย Schlieren Optics การทดลองแรงโน้มถ่วงเทียม” ครับ)
วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมครับ (อนุบาลสามบ้านพลอยภูมิติดธุระวันพ่อเลยไม่มีกิจกรรมครับ) วันนี้เด็กประถมต้นได้ดูวิดีโอเลี้ยงค้างคาวทารกเพื่อดูนิ้วมือค้างคาวที่ยาวเป็นโครงปีก และได้ดู “รถไฟ” ที่ทำจากถ่านไฟฉายแม่เหล็กและขดลวดทองแดง เด็กทั้งประถมต้นและปลายได้ดูวิดีโอเร็ว (time-lapse) และวิดีโอช้า (slow motion) เด็กๆได้เข้าใจว่า time-lapse เกิดจากการที่เราถ่ายภาพด้วยช่วงเวลาห่างๆแล้วมาฉายด้วยความเร็วปกติ 24-30 ภาพต่อวินาที ขณะที่ slow motion เกิดจากการที่เราถ่ายภาพเยอะๆ (เยอะกว่า 24-30) ในหนึ่งวินาทีแล้วมาฉายด้วยความเร็ว 24-30 ภาพต่อวินาทีครับ เราได้ทดลองถ่ายภาพสโลโมของคลื่นในขดสปริง ดูการสะท้อนของคลื่นในสปริง การตกของสปริง และเปรียบเทียบการกระเด้งของลูกบอลแบบต่างๆครับ
ผมให้เด็กๆประถมต้นดูวิดีโอน่ารักของลูกค้างคาว เพื่อสังเกตนิ้วมือและแขนของมันที่วิวัฒนาการเป็นปีกครับ: Continue reading วิดีโอเร็วและช้า (Time-lapse & Slow Motion) →
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)