วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศา
(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “พยายามวัดความเร็วประสาท+สมอง เริ่มรู้จักค่า Pi เล่นของเล่นบูมเมอแรง” ครับ)
สำหรับเด็กประถม ผมบอกเด็กๆว่าปกติเราคิดว่าเวลาของแต่ละคนเพิ่มขึ้นเท่าๆกัน แต่ความคิดนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริงในธรรมชาติ เมื่อประมาณร้อยปีที่แล้ว ไอน์สไตน์แสดงให้โลกดูว่าเวลาของแต่ละคนเดินช้าเดินเร็วขึ้นกับว่าคนๆนั้นเคลื่อนที่อย่างไร ถ้าเคลื่อนที่เร็วเวลาก็จะเดินช้าลง นอกจากนี้ถ้าเราอยู่ใกล้แถวที่มีแรงโน้มถ่วงมากๆเวลาเราก็จะช้าลงด้วย ระยะทางก็เหมือนกัน ถ้าเราวัดความยาวตอนเราเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ความยาวจะสั้นกว่าถ้าเราวัดตอนอยู่เฉยๆ ในชีวิตปกติประจำวันของเรา เราอยู่ในที่ที่แรงโน้มถ่วงไม่มากนัก และเคลื่อนที่ไม่เร็ว (เคลื่อนที่เร็วไม่เร็วต้องเทียบกับความเร็วแสงซึ่งเท่ากับ 300,000 ก.ม,/วินาที ครับ) เราก็เลยไม่ค่อยเห็นความแตกต่างของเวลาและระยะทาง
เราอาจจะหัวเราะว่าไอน์สไตน์บ้าหรือเปล่า แต่การทดลองต่างๆที่ผ่านมาร้อยปีพบว่าธรรมชาติทำงานอย่างนั้นครับ อุปกรณ์ในชีวิตประจำวันของเราที่ใช้หลักการของไอน์สไตน์ตลอดเวลาก็คือเครื่อง GPS ครับ
เครื่อง GPS บอกตำแหน่งของมันได้เพราะมันคุยกับดาวเทียมหลายๆดวงที่โคจรรอบโลกอยู่ครับ มันสามารถวัดระยะห่างจากดาวเทียมต่างๆได้ จึงสามารถคำนวณตำแหน่งของมันได้ว่าต้องอยู่ตรงนี้จึงจะห่างจากดาวเทียมต่างๆอย่างที่วัดระยะได้ การจะคำนวณอย่างนี้การนับเวลาของเครื่อง GPS และของดาวเทียมต้องนับให้เท่าๆกัน แต่ดาวเทียมโคจรรอบโลกอยู่ด้วยความเร็วสูงมาก เวลามันเลยช้ากว่าบนโลกไปประมาณ 7 ส่วนล้านวินาทีต่อวัน (7 ไมโครวินาทีต่อวัน) แต่เนื่องจากดาวเทียมอยู่ห่างผิวโลกออกไป แรงโน้มถ่วงของโลกอ่อนลง เวลาจะเดินเร็วเนื่องจากแรงโน้มถ่วงอ่อนไปประมาณ 45 ส่วนล้านวินาทีต่อวัน (45 ไมโครวินาทีต่อวัน) ผลลัพธ์ก็คือเวลาของดาวเทียมเดินเร็วกว่าเวลาบนโลกไป 45-7 = 38 ไมโครวินาทีต่อวัน ซึ่งวิศวกรผู้สร้างดาวเทียมเหล่านี้ได้คิดเรื่องเหล่านี้ไว้แล้วครับ ทำให้ GPS ทำงานได้อย่างที่เป็น
สิ่งที่ไอน์สไตน์แสดงให้โลกดูเมื่อร้อยปีที่แล้วเรียกว่า “ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป” (General Relativty) ครับ ในทฤษฎีนี้ไอน์สไตน์ยังแสดงให้ดูว่าเวลาของที่มีมวลหนักๆมีความเร่งที่ไม่สมมาตรแบบกลมๆเกินไป จะเกิดคลื่นความโน้มถ่วงแพร่กระจายออกมา เจ้าคลื่นความโน้มถ่วงนี้เคลื่อนที่ไปถึงไหนก็จะทำให้ระยะทางแถวนั้นสั่นๆ สั้นบ้างยาวบ้าง แล้วก็หยุดสั่นเมื่อคลื่นผ่านไป ไอน์สไตน์คำนวณขนาดคลื่นและพบว่าขนาดคลื่นจะเล็กมาก จึงคิดว่าคงไม่สามารถวัดได้โดยตรง
เวลาผ่านไป 100 ปี ด้วยความรู้ที่เพิ่มขึ้นของมนุษยชาติ ทำให้สามารถสร้างเครื่องวัดคลื่นความโน้มถ่วงได้สำเร็จครับ นับเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวของความรู้ความเข้าใจของสปีชีส์เรา ที่ผ่านมาจนกระทั่งมีเครื่องนี้ เวลาเราสำรวจจักรวาล เราต้องอาศัยแสงต่างๆคือ คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นอินฟราเรด แสงที่ตาเรามองเห็น รังสีอัลตร้าไวโอเล็ท รังสีเอ็กซ์เรย์ รังสีแกมมา ที่วัตถุในจักรวาลปล่อยออกมา แล้วเราเอากล้องเราไปรับเพื่อสังเกตวัตถุต่างๆ ด้วยอุปกรณ์แบบใหม่คือเจ้าเครื่องตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง เรามีวิธีใหม่ที่จะสำรวจจักรวาลได้ครับ ตอนนี้จึงเหมือนตอนที่กาลิเลโอเอากล้องโทรทรรศน์ส่องท้องฟ้า หรือโรเบิร์ต ฮุค เอากล้องจุลทรรศน์พืชและสัตว์เล็กๆเมื่อหลายร้อยปีก่อนครับ เราน่าจะค้นพบส่ิงแปลกๆในจักรวาลในอนาคตครับ
ผมให้เด็กๆดูคลิปสรุปการค้นพบและผมอธิบายไปด้วยครับ:
ได้ดูคลิปจำลองว่าความโน้มถ่วงทำให้อวกาศโค้งอย่างไร:
สำหรับท่านที่สนใจเพิ่มเติม ลองไปฟังอาจารย์จากมหิดลคุยกันเรื่องนี้นะครับ:
สำหรับเด็กอนุบาลสามทับหนึ่ง ผมเอาของเล่นที่เรียกว่าสลิงกี้ (Slinky) ซึ่งคือสปริงอ่อนๆใหญ่ๆครับ
เด็กๆได้สังเกตๆว่าคลื่นวิ่งผ่านกันไหมบนสลิงกี้:
ได้ทายว่าเวลาของตก เช่นสลิงกี้ตก ส่วนไหนตกก่อน:
นอกจากนี้ผมเอาคลิปสลิงกี้เดินไม่หยุดให้เด็กๆดูด้วยครับ:
Have you seen Tadashi Tokieda’s videos? There are several at MSRI here: http://www.msri.org/web/msri/public/public-events-and-initiatives/tadashis-toys
and also an old talk with some others here: https://www.radcliffe.harvard.edu/video/toys-in-applied-mathematics
I just realized we can replicate the rotating turtles with watermelon rind.
Aha, I’ve seen his face on Numberphile YouTube channel but haven’t followed his toy talks.
Thank you very much for the head-up.