วิทย์ประถม: ของเล่นป๋องแป๋งไฟฟ้า (Franklin Bell)

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆศูนย์การเรียนปฐมธรรมมาครับ เด็กๆหัดคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยพยายามอธิบายมีดไม่บาดแขน แล้วเราก็ประดิษฐ์ของเล่นป๋องแป๋งไฟฟ้า (Franklin Bell) โดยใช้ไฟฟ้าแรงสูงจากไม้ตียุงไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงาน

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลในคลิปนี้ครับ เด็กๆดูกลก่อนแล้วพยายามอธิบายก่อนเฉลย คราวนี้เป็นกลมีดไม่บาดมือได้อย่างไร:

กิจกรรมหัดอธิบายมายากลนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็น และหวังว่าเมื่อโตไปจะไม่ถูกหลอกง่ายๆครับ

จากนั้นเรามาหัดเล่นและประดิษฐ์ของเล่นป๋องแป๋งไฟฟ้า (Franklin Bell) กัน

ผมเอาของเล่นป๋องแป๋งไฟฟ้าหรือ Franklin Bell ให้เด็กๆดู เราทำจากกระป๋องอลูมิเนียมสองกระป๋อง ต่อกระป๋องอันหนึ่งกับตะแกรงด้านในของไม้ตียุงไฟฟ้า และต่ออีกกระป๋องกับตะแกรงด้านนอก เมื่อกดปุ่มสวิทช์ไม้ตียุงไฟฟ้า กระป๋องทั้งสองก็จะมีประจุต่างชนิดกันไปกองอยู่ ถ้าเราเอาตัวนำไฟฟ้าเบาๆเช่นลูกบอลที่ทำจากฟอยล์อลูมิเนียมไปแขวนระหว่างกระป๋อง ลูกบอลก็จะถูกดูดเข้าโดนกระป๋องอันที่ใกล้กว่า แล้วก็จะรับประจุจากกระป๋องนั้นเข้าลูกบอล ลูกบอลจะกระเด้งไปหาอีกกระป๋องหนึ่งจากแรงไฟฟ้าสถิต แล้วก็จะถ่ายประจุที่รับมาไปให้กระป๋องที่มันวิ่งไปชน แล้วมันก็จะกระเด้งกลับไปหากระป๋องแรกอีก รับประจุ กระเด้ง ชนอีกกระป๋อง ถ่ายเทประจุให้กระป๋องที่มันชน แล้วก็วนกลับไปกระป๋องแรกใหม่ จนกระทั้งประจุถูกถ่ายเทจนสองกระป๋องมีประจุคล้ายๆกันในที่สุด นี่คือวิดีโอคลิปวิธีสร้างครับ:

หลักการทำงานของมันเป็นประมาณนี้:

เราสามารถใส่ตัวนำไฟฟ้าเบาๆเข้าไปตรงกลางแทนลูกบอลฟอยล์อลูมิเนียมก็ได้ เช่นใช้กระป๋องเบาๆ เด็กม.ต้นในอดีตเคยทำแบบต่างๆไว้ดังในคลิปครับ:

หลังจากเด็กๆเข้าใจวิธีทำและหลักการ ก็แยกย้ายกันเล่นเองครับ:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.