บันทึกย่อๆสัปดาห์นี้ครับ จากข่าวใหญ่เรื่องยาน Juno ไปเยี่ยมดาวพฤหัส ผมให้เด็กๆคำนวณว่าถ้าดวงอาทิตย์มีขนาด 10 cm ดาวพฤหัสจะใหญ่แค่ไหนและอยู่ไกลประมาณไหนครับ ใช้วิธีคำนวณทำนองเดียวกับที่เปรียบเทียบขนาดโลกที่เคยทำไปแล้ว จะได้ว่าดาวพฤหัสขนาดประมาณ 1 cm และอยู่ห่างไปประมาณ 50 เมตรครับ
ผมให้เด็กสังเกตการความเกี่ยวข้องกันระหว่างกระแสไฟฟ้าและแม่เหล็กครับ:
และทดลองเล่นปืนแม่เหล็กครับ: Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: ขนาดดาวพฤหัส กระแสไฟฟ้าและแม่เหล็ก ทำความคุ้นเคยกับตารางธาตุ →
วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วมีเด็กป.1 ถามผมว่าทำไมปลาเส้นทาโร่ใส่ไมโครเวฟถึงกรอบ แต่ของอืนๆใส่ไมโครเวฟแล้วนิ่ม ไม่กรอบ ผมเลยเอาปัญหานี้มาให้เด็กประถมคิด เด็กๆได้หัดเดา (ตั้งสมมุติฐาน) ว่าเป็นเพราะอะไรได้บ้าง แล้วให้ไปหาทางทดลองว่าสิ่งที่เดาน่าจะถูกหรือผิดครับ เป็นการบ้านเพื่อมาคุยกันอีกสามสัปดาห์ จากนั้นได้ดูคลิปการเคลือบสีผลิตภัณฑ์ต่างๆด้วยการพิมพ์ด้วยฟิล์มสีลอยน้ำ (Hydrographic Printing) โดยสืบเนี่องมาจากกิจกรรมที่เด็กๆได้หัดทำ Marbling Art ที่ใช่สีลอยน้ำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้เริ่มสังเกตปรากฎการณ์กระแสไฟฟ้าทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก และสังเกตปืนแม่เหล็กครับ เด็กอนุบาลสามได้เล่นลูกข่างไจโรสโคปกันครับ
(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “ไฟฟ้าสถิต & น้ำในยานอวกาศ ฟ้าผ่าจิ๋ว Franklin Bells ไจโรสโคป” ครับ)
เมื่อสองสัปดาห์ก่อนน้องเอวาป.1 ถามผมว่าทำไมปลาเส้นทาโร่ใส่ไมโครเวฟถึงกรอบ แต่ของอย่างอื่นใส่ไปแล้วไม่กรอบ ผมจึงมาถามเด็กประถมว่าคิดว่าอย่างไร เด็กๆก็เสนอไอเดียต่างๆกันดังในรูปครับ:
Continue reading ทาโร่กรอบเพราะอะไร พิมพ์ด้วยสีลอยน้ำ ไฟฟ้ากระแส ลูกข่างไจโร →
วันนี้ผมคุยกับเด็กๆเรื่องอะตอมครับ เมื่อวันพุธเด็กๆสังเกตปรากฎการณ์ไฟฟ้าต่างๆกัน รู้จักประจุไฟฟ้า วันนี้เราเลยคุยกันต่อว่าประจุไฟฟ้ามันอยู่ที่ไหนกัน
ผมเล่าให้เด็กๆฟังว่าของทั้งหลายที่อยู่รอบตัวเรามันมีส่วนประกอบเล็กๆอยู่เรียกว่าโมเลกุล (เช่นน้ำมีโมเลกุลที่เรียกว่า H2O )โมเลกุลเองก็มีส่วนประกอบที่เรียกว่าอะตอม (เช่น H2O ประกอบด้วย H ไฮโดรเจนสองตัว และ O ออกซิเจนหนึ่งตัว)
อะตอมมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่เรียกว่าโปรตอน นิวตรอน และอิเล็คตรอนเป็นจำนวนต่างกัน โปรตอนจะมีประจุไฟฟ้าบวก นิวตรอนไม่มีประจุไฟฟ้า อิเล็คตรอนจะมีประจุไฟฟ้าลบ มวลของโปรตอนและนิวตรอนมีขนาดใกล้ๆกันโดยนิวตรอนหนักกว่านิดนึง และอิเล็คตรอนจะเบากว่าโปรตอนประมาณ 2,000 เท่า (ลิงก์อ่านเพิ่มภาษาอังกฤษ: atom) Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: โมเลกุล อะตอม และธาตุ (แต่เราตื่นเต้นเรื่องระเบิดนิวเคลียร์มากกว่า) →
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)