หัดรู้จัก pH (ความเป็นกรดเป็นด่าง) การเคลื่อนที่ของคลื่นใน Slinky

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้ทำความรู้จักกับค่า pH และทดลองวัดค่าสำหรับของเหลวต่างๆเช่นน้ำก๊อก น้ำอัดลม ชาเขียว ซุปไก่สกัด น้ำมะนาวความเข้มข้นต่างๆ baking soda ละลายน้ำ น้ำยาล้างจาน เด็กประถมปลายได้ฟังผมเล่าข่าวเรื่องพบหมึกสายวงฟ้า (Blue-ringed octopus) ที่มีพิษร้ายแรงในตลาดขายปลาหมึกด้วยครับ เด็กอนุบาลสามทับสองได้เล่นและสังเกตคลื่นในสปริงยาวๆที่เราเรียกว่า Slinky ได้สังเกตการตกของ Slinky และได้ดูคลิป Infinite Slinky ด้วยครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “คุยกันเรื่องคลื่นความโน้มถ่วง หัดดูคลื่นเคลื่อนที่ใน Slinky” ครับ)

สำหรับเด็กประถม ผมคุยกับเด็กๆว่าเรื่องค่า pH ซึ่งเป็นตัวเลขที่จะบอกว่าสารละลายในน้ำมีความเป็นกรด เป็นด่างแค่ไหน ในทางเทคนิค นักวิทยาศาสตร์จะวัดความเข้มข้นที่มีหน่วยเป็นโมลต่อลิตรของไฮโดรเจนไอออน (H+) แล้วใส่เครื่องหมาย -Log[ ] เข้าไปครับ จะได้ค่า pH = -Log[H+] รายละเอียดนี้ผมไม่ได้บอกเด็กๆไปครับ แต่เล่าเรื่องโมเลกุลน้ำที่หน้าตาเหมือนมิกกี้เมาส์ที่เต้นไปมาเป็นแสนล้านครั้งต่อวินาที บางทีก็แตกตัวเป็นมิกกี้เมาส์หูหลุด (H20 เปลี่ยนร่างไปมาเป็น OH + H+) แล้วเราก็วัดว่ามีความเข้มข้น H+ เท่าไร ถ้าเอาสารเคมีไปละลายในน้ำ ความเข้มข้น H+ ก็เปลี่ยนไป เราวัดความเข้มข้นนี้เป็นตัวเลขชี้วัดว่าสารละลายเป็นกรดเป็นด่างเท่าไร

โมเลกุลน้ำหน้าตาเหมือนมิกกี้เมาส์ครับ
โมเลกุลน้ำหน้าตาเหมือนมิกกี้เมาส์ครับ

Continue reading หัดรู้จัก pH (ความเป็นกรดเป็นด่าง) การเคลื่อนที่ของคลื่นใน Slinky

คุยกันเรื่องคลื่นความโน้มถ่วง หัดดูคลื่นเคลื่อนที่ใน Slinky

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ สำหรับเด็กประถมผมพยายามเล่าเรื่องการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติคือการวัดคลื่นความโน้มถ่วงโดยตรงเป็นครั้งแรก อีกพันสองพันปีต่อจากนี้ถ้าสปีชีส์เรายังไม่สูญพันธุ์ คนสมัยนั้นคงจำเรื่องราวร้อยแปดพันเก้าสมัยนี้ไม่ได้แล้ว พวกเราทุกคนไม่ว่ามหาเศรษฐี ยาจก นักปราชญ์ มหาโจร คงจะสูญหายไปตามกาลเวลา แต่การค้นพบนี้จะติดอยู่ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติต่อไปครับ ได้ดูคลิปจำลองการโค้งของอวกาศบนผ้ายืดด้วยครับ สำหรับเด็กอนุบาลสามทับหนึ่ง ผมให้เล่น Slinky ซึ่งก็คือสปริงอ่อนๆขนาดใหญ่ ให้สังเกตการตกของ slinky และสังเกตการเคลื่อนที่และการสะท้อนของคลื่นใน slinky และได้ดูคลิป Infinite Slinky ด้วยครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “พยายามวัดความเร็วประสาท+สมอง เริ่มรู้จักค่า Pi เล่นของเล่นบูมเมอแรง” ครับ)

สำหรับเด็กประถม ผมบอกเด็กๆว่าปกติเราคิดว่าเวลาของแต่ละคนเพิ่มขึ้นเท่าๆกัน แต่ความคิดนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริงในธรรมชาติ เมื่อประมาณร้อยปีที่แล้ว ไอน์สไตน์แสดงให้โลกดูว่าเวลาของแต่ละคนเดินช้าเดินเร็วขึ้นกับว่าคนๆนั้นเคลื่อนที่อย่างไร ถ้าเคลื่อนที่เร็วเวลาก็จะเดินช้าลง นอกจากนี้ถ้าเราอยู่ใกล้แถวที่มีแรงโน้มถ่วงมากๆเวลาเราก็จะช้าลงด้วย ระยะทางก็เหมือนกัน ถ้าเราวัดความยาวตอนเราเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ความยาวจะสั้นกว่าถ้าเราวัดตอนอยู่เฉยๆ ในชีวิตปกติประจำวันของเรา เราอยู่ในที่ที่แรงโน้มถ่วงไม่มากนัก และเคลื่อนที่ไม่เร็ว (เคลื่อนที่เร็วไม่เร็วต้องเทียบกับความเร็วแสงซึ่งเท่ากับ 300,000 ก.ม,/วินาที ครับ) เราก็เลยไม่ค่อยเห็นความแตกต่างของเวลาและระยะทาง Continue reading คุยกันเรื่องคลื่นความโน้มถ่วง หัดดูคลื่นเคลื่อนที่ใน Slinky

พยายามวัดความเร็วประสาท+สมอง เริ่มรู้จักค่า Pi เล่นของเล่นบูมเมอแรง

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้ดูวิดีโอน่าหวาดเสียวคือคนลองเอาลิ้นไปให้เครื่องดักหนูหนีบในแบบสโลโมชั่น ได้ดูภาพระบบประสาทในร่างกาย และทดลองวัดความเร็วประสาทและสมองกัน เด็กประถมปลายได้ดูคลิปว่าทำไมไม่ควรเอาสัตว์เล็กๆไปวางบนลูกบอลใหญ่ๆแล้วกระเด้ง และได้เริ่มรู้จักค่า π กัน (π ที่เท่ากับ 3.141592653… นั่นแหละครับ) เด็กอนุบาลสามได้หัดทำและเล่นบูมเมอแรงกระดาษกันครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “Webucation” ทดลองเป่าฟองสบู่ ขนมปังทาแยมตกลงพื้น บูมเมอแรง” ครับ)

สำหรับเด็กประถมต้น ผมถามเด็กๆว่ารู้ไหมว่าทำไมเราเห็นคลิปวิดีโอเคลื่อนไหวได้ เด็กๆไม่รู้ครับ ผมเล่าให้ฟังว่าภาพเคลื่อนไหวต่างๆเช่นภาพยนต์หรือคลิป YouTube มันเคลื่อนไหวเพราะมีภาพ 24-30 ภาพต่อวินาทีมาแสดงให้เราดูต่อเนื่องกัน แต่ละภาพก็จะต่างกันไปนิดๆหน่อยๆ พอเราดูหลายๆภาพต่อกันเราก็จะเห็นเป็นการเคลื่อนไหว ผมเล่าต่อว่าถ้าเราถ่ายภาพเกิน 30 ภาพต่อวินาที แล้วเอามาให้คนดูแค่ 30 ภาพต่อวินาที คนดูจะเห็นการเคลื่อนไหวเป็นแบบช้าลง (Slow motion) ยิ่งถ้าตอนถ่ายทำถ่ายภาพต่อวินาทีมากเท่าไร ตอนมาดูก็จะดูช้าลงเท่านั้น แล้วผมก็ให้เด็กๆดูคลิปหวาดเสียวที่ถ่ายที่ 2,000 ภาพต่อวินาที ทำให้ช้าลงไปประมาณ 2,000/30 = 70 เท่าครับ:

Continue reading พยายามวัดความเร็วประสาท+สมอง เริ่มรู้จักค่า Pi เล่นของเล่นบูมเมอแรง

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)