วันนี้ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ ทุกครั้งที่เปิดเรียนผมจะทำกิจกรรมปลูกวัคซีนกันถูกหลอกให้เด็กๆ ผมเอาภาพลวงตาและเสียงลวงหูมาให้เด็กๆดูและฟังเพื่อให้รู้ว่าสมองของเราทำงานผิดพลาดได้ง่ายๆ ดังนั้นเมื่อจะเชื่ออะไรต้องระมัดระวัง ต้องดูหลักฐานและกลไกต่างๆว่าน่าจะเป็นจริงหรือไม่ครับ (อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมต่างๆอยู่ที่นี่นะครับ กิจกรรมประถมคราวที่แล้วเรื่อง “เล่นเรื่องจุดศูนย์ถ่วง หัดวัดความดันโลหิต” ครับ รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ) ก่อนอื่นผมให้เด็กๆดูของแปลกประจำสัปดาห์ครับ คราวนี้คือคลิปนี้ครับ: อุปกรณ์นี้เรียกว่า Flyboard Air มีเครื่องยนต์เจ็ตขับเคลื่อน ทำให้คนสามารถลอยไปมาได้ เด็กดูแล้วตื่นเต้นกันมาก ผมให้เด็กๆคิดว่ามันปลอดภัยไหม และถ้าอันตรายจะทำให้ปลอดภัยขึ้นอย่างไร ต่อจากนั้นผมก็ให้เด็กๆดูโต๊ะในวิดีโอนี้ ให้ดูว่าอันไหนยาวกว่าครับ: ทุกคนเห็นว่าโต๊ะด้านซ้ายยาวกว่า แต่เมื่อเราวัดขนาดดูแล้ว ปรากฏว่ามันมีขนาดเท่ากันเป๊ะเลยครับ ผมพิมพ์รูปโต๊ะทั้งสองบนกระดาษแจกให้เด็กๆไปวัดและเทียบกันด้วยครับ ภาพนี้นะครับ: ภาพลวงตาอันต่อไปคือหอนาฬิกาบิ๊กเบนครับ: ดูเหมือนว่าอันขวาเอียงมากกว่าอันซ้าย แต่ถ้าพิมพ์บนกระดาษแล้วตัดมาเทียบกันมันจะเอียงเท่าๆกันครับ ที่เราเห็นอย่างนี้ก็เพราะว่าสมองคิดว่าทั้งสองภาพรวมกันเป็นภาพของหอนาฬิกาสองอันคู่กัน และเมื่อเรามองหอนาฬิกาจริงๆตั้งคู่กันอยู่ เราจะเห็นยอดของมันลู่เข้าหากัน (เรื่อง perspective) เมื่อเราไม่เห็นมันลู่เข้าหากัน เราจึงคิดว่าหอด้านขวาต้องเอียงอยู่แน่ๆ ปรากฏการณ์นี้แสดงถึงการที่สมองตีความหมายตามสมมุติฐาน(หรือโปรแกรม)ที่มีอยู่แล้วในสมอง ไม่ใช่เห็นในสิ่งที่เป็น ปรากฏการณ์เดียวกันนี้อธิบายภาพถนนที่ดูเอียงไม่เหมือนกันทั้งๆที่เป็นภาพเดียวกันทั้งซ้ายขวาด้วยครับ: อีกภาพหนึ่งเรียกว่า Cafe wall illusion ดังนี้ครับ: แถบสีฟ้าในภาพมันขนานกันนะครับ แต่เรามองมันดูเอียงๆลู่เข้าลู่ออกไม่ขนาน ผมถามเด็กว่าจะเช็คยังไงดี เด็กๆก็ลองวัดระยะห่างของแถบด้านซ้ายและด้านขวา และพบว่ามันเท่ากันครับ นอกจากนี้ถ้าเรามองภาพนี้จากข้างๆจะเห็นว่าแถบสีฟ้ามันขนานกันครับ ผมแถมให้เด็กๆดูภาพหน้าไอน์สไตน์ผสมมาริลีน มอนโรครับ ถ้าหรี่ๆตาให้ภาพมัวๆหรือมองจากไกลๆจะเห็นหน้ามาริลีน มอนโร (หน้าผู้หญิง) … Continue reading วิทย์ประถม: ปลูกวัคซีนกันถูกหลอกง่ายๆ →
ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นเรียนรู้เรื่องการวิวัฒนาการของตาและได้เล่นแบบจำลองลูกตาที่ทำจากเลนส์รวมแสง โคมญี่ปุ่น และถุงก๊อบแก๊บ เด็กประถมปลายได้เล่นกับแรงโน้มถ่วงเทียมที่มาประยุกต์ไว้ขนแก้วน้ำโดยน้ำไม่หก เด็กอนุบาลสามได้เล่นกับสุญญากาศครับ (อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมต่างๆอยู่ที่นี่นะครับ กิจกรรมคราวที่แล้วเรื่อง “ภาพลวงตาหน้าเว้าและตุ๊กตาหันหน้าตาม” ครับ รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ) สำหรับเด็กประถมต้น ผมหาภาพตาของสัตว์ชนิดต่างๆให้เด็กๆดู ให้สังเกตว่ามีความเหมือน ความแตกต่างอย่างไร (หาใน Google ว่า animal eyes ครับ) ต่อจากนั้นเด็กๆก็ได้ดูคลิปอธิบายการวิวัฒนาการของตา จากเซลล์ที่รับแสงได้อยู่บนผิวแบนๆรู้แต่ว่ามืดและสว่าง กลายเป็นเซลล์รับแสงอยู่ในรอยบุ๋มลงไปที่รับรู้ทิศทางของแสง จนกระทั้งเป็นตาแบบกล้องรูเข็มและตาที่มีเลนส์อยู่ด้านหน้าแบบตาพวกเราที่สามารถมองเห็นภาพได้ครับ: ผมเอาภาพนี้ให้เด็กๆดูว่าตาแบบต่างๆมีความซับซ้อนและความสามารถในการมองเห็นต่างๆกัน ในภาพข้างบน สีเหลืองคือเซลล์รับแสง คือถ้ามีแสงมาตกที่เซลล์มันจะส่งสัญญาณไปตามเส้นประสาทไปที่สมองว่ามีแสงมาตกตรงนี้ ในภาพ a ตาแบบนี้มีเซลล์เรียงอยู่เป็นแผ่นแบนๆดังนั้นจะรับแสงได้ว่าสว่างหรือมืด แต่จะไม่เห็นภาพอะไรชัดเจน ภาพ b เซลล์รับแสงอยู่ในแอ่งลงไป จะดีกว่าแบบ a ตรงที่เริ่มจับทิศทางว่าแสงหรือเงาอยู่ทิศทางไหน ตัวอย่างตาแบบนี้คือหนอนแบนตัวเล็กที่เรียกว่าพลานาเรียน (Planarian ถ้ามากกว่าหนึ่งตัวเรียกว่าพลานาเรีย Planaria) ภาพ c และ d แอ่งลึกลงไปและรูรับแสงมีขนาดเล็กเหมือนกล้องรูเข็ม ตาแบบนี้จะเริ่มเห็นภาพแต่ภาพจะมืดๆเพราะแสงเข้าไปได้น้อย ภาพ c จะไม่มีอะไรปิดรูรับแสง หอยงวงช้าง (Nautilus) จะมีตาแบบนี้ … Continue reading วิวัฒนาการของตา แรงโน้มถ่วงเทียม ต่อสู้กับแรงดันอากาศ →
ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้พยายามเดาว่ากลสองสามอันเป็นอย่างไร ได้สังเกตการขยายตัวและหดตัวของอากาศในขวดพลาสติกปิดเมื่ออากาศร้อนและเย็น เด็กประถมปลายได้ดูคลิปการจับแมลงมากินเป็นอาหาร (เป็นก้อนๆคล้ายเบอร์เกอร์) ได้ทดลองเป่าลมเข้าถุงพลาสติกแบบเอาปากจ่อและเป่าจากไกลๆ พบว่าเป่าจากไกลๆจะพาอากาศรอบๆมาด้วยทำให้เป่าเร็วขึ้น เนื่องจากหลักการที่ว่าบริเวณไหนลมวิ่งเร็ว ความดันอากาศแถวนั้นจะต่ำ ทำให้อากาศจากที่อื่นที่ความดันสูงกว่าวิ่งเข้ามาด้วย เด็กอนุบาลสามได้หัดเล่นกลน้ำไม่หกโดยเอาแก้วใส่น้ำแล้วเอาแผ่นพลาสติกหรือตะแกรงมีรูปิดปากแก้วแล้วคว่ำแก้ว พบว่าน้ำไม่หกออกมาเพราะความดันอากาศและแรงตึงผิวของน้ำ (อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ กิจกรรมคราวที่แล้วเรื่อง “เปิดเทอมใหม่เราเริ่มด้วยภาพลวงตา” ครับ รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ) สำหรับเด็กประถมต้น ผมให้ดูกลสามอันแรกในคลิปข้างล่างนี้ครับ ให้ดูเฉพาะส่วนเล่นกลก่อนแล้วหยุดคลิปไว้ยังไม่ดูเฉลย ให้เด็กๆเดากันว่ากลแต่ละอันทำอย่างไร ให้เด็กๆฝึกคิดและกล้าเดาครับ พอทายกันเยอะๆแล้วก็ค่อยดูเฉลยกัน: จากนั้นก็ให้เด็กดูของแปลกๆครับ ในแอฟริกามีแมลง (midge) หน้าตาคล้ายๆยุงแต่ไม่กัดคนจำนวนเยอะมาก: ชาวบ้านเลยไปจับกันด้วยหม้อหรือกระทะชุบน้ำหรือน้ำมัน แล้วเอามาทอดกินเป็นแหล่งโปรตีนซะเลย จากนั้นก็มีกิจกรรมดูกันว่าเมื่ออากาศร้อน มันจะขยายตัว และเมื่ออากาศเย็นมันจะหดตัวครับ เราเล่นด้วยขวดพลาสติกใส่น้ำร้อนรอสักครึ่งนาทีแล้วปิดฝาให้แน่นครับ เรารอเพื่อให้อากาศได้รับความร้อนจากน้ำร้อนแล้วขยายตัวล้นออกไปจากขวดบ้าง พอปิดฝาให้แน่นแล้วรอต่อไปให้อากาศเย็นลง มันจะหดตัวแล้วดึงให้ขวดยุบลงมาครับ ถ้าน้ำยังร้อนอยู่แล้วเราเขย่า อากาศจะร้อนตามและขยายตัว ดันให้ขวดป่องอีกครับ ทำสลับกันไปมาได้ เล่นเป็นกลก็ได้ครับ ดูในคลิปนะครับ: สำหรับเด็กประถมปลาย ผมให้ดูคลิปเบอร์เกอร์แมลงเหมือนประถมต้น แล้วก็ทำการทดลองกันครับ ผมให้เด็กๆเป่าลมใส่ถุงพลาสติกบางๆ (อย่างที่มีห่อผักผลไม้ในห้างสรรพสินค้าเช่นท๊อปส์) โดยให้เอาปากจ่อกับถุงแล้วนับว่าเป่ากี่ครั้งถุงถึงจะโป่ง เป่ากันใหญ่แบบนี้ครับ: พอเป่าแบบปากติดถุงเสร็จ ก็ให้ลองเป่าใหม่โดยเป่าห่างๆจากปากถุงมาสักหน่อย สัก 1 ฟุตก็ได้ครับ ปรากฎว่าถุงโป่งเร็วกว่ามาก … Continue reading ขนาดของอากาศร้อนอากาศเย็น ความดันและความเร็วอากาศ กลน้ำไม่หก →
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)