ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆศูนย์การเรียนปฐมธรรมมาครับ เด็กๆหัดคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยพยายามอธิบายมายากลตัดไพ่ในกล่อง แล้วเราดูภาพลวงตาต่างๆเพื่อความสนุกสนานและให้เข้าใจว่าทุกสิ่งที่เรารับรู้เกิดจากการทำงานของสมอง และสมองบางครั้งก็ทำงานผิดพลาดหรือถูกหลอกได้ (อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ) ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลในคลิปนี้ครับ เด็กๆดูกลก่อนแล้วพยายามอธิบายก่อนเฉลย คราวนี้เป็นกลตัดไพ่ในกล่อง: กิจกรรมหัดอธิบายมายากลนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็น และหวังว่าเมื่อโตไปจะไม่ถูกหลอกง่ายๆครับ ผมเล่าให้เด็กๆฟังว่าสมองเป็นก้อนไขมัน (เป็นส่วนมาก) อยู่ในกระโหลกมืดๆ ติดต่อกับโลกภายนอกผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมีกับประสาทสัมผัสและอวัยวะอื่นๆ ทุกอย่างที่เรารับรู้ ที่เราคิด ที่เราจำ เกิดจากการทำงานของสมอง การรับรู้ต่างๆของเรา เราเห็นอะไร เราได้ยินอะไร เรารับรสชาติอะไร เราได้กลิ่นอะไร เราสัมผัสอะไร ต่างเกิดจากการที่สมองตีความสัญญาณไฟฟ้าที่วิ่งมาตามเส้นประสาทที่เชื่อมกับอวัยวะในร่างกาย การตีความนี้มีประโยชน์ทำให้พวกเรามีชีวิตอยู่ได้ในโลก เรามักจะเข้าใจผิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารับรู้มีความถูกต้องตรงกับความเป็นจริง แต่เราอาจตีความผิด รับรู้ผิดๆ จำผิดๆ และเข้าใจอะไรผิดๆก็ได้ ดังนั้นเราต้องระมัดระวังว่าเรารับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆอย่างไร วันนี้เราใช้ตัวอย่างภาพลวงตาต่างๆมาแสดงว่าเราเข้าใจผิดหรือรับรู้ผิดได้ง่ายๆอย่างไร ผมให้เด็กๆดูภาพลวงตาต่างๆเช่น ภาพลวงตาสองอันนี้แสดงว่าตาเรามองชัดๆได้ในบริเวณเล็กๆเท่านั้น และสมองจะตีความว่าเห็นอะไรในบริเวณเล็กๆนั้นทันที ไม่สามารถรอให้ตามองทั้งภาพก่อนตีความได้ ผมให้เด็กๆเหยียดแขนแล้วมองนิ้วโป้งของตัวเอง จะพบว่าเราเห็นรายละเอียดได้ดีแถวๆบริเวณนิ้วโป้งเท่านั้น บริเวณรอบๆจะไม่ชัด ไม่มีรายละเอียด: ให้เด็กๆดูคลิปวิดีโอนี้ ให้เข้าใจว่าเมื่อตามองไม่ชัด สมองก็จะพยายามจินตนาการสิ่งคาดว่าจะเป็นเข้าไป ในกรณีนี้เมื่อมองกากบาทตรงกลาง หน้าทั้งสองข้างก็จะบิดเบี้ยวดูประหลาด: เนื่องจากเราจะเห็นชัดๆในบริเวณเล็กๆเท่านั้น ตาเราจะต้องกวาดไปมาตลอดเวลาเพื่อดูสิ่งรอบๆตัวเราแล้วเอาภาพมาประกอบกัน ผมจึงให้เด็กๆไปพยายามสังเกตว่าตาของเพื่อนจะขยับไปมาเรื่อยๆเสมอเพื่อดูให้ชัดทั่วๆด้วยครับ (saccadic … Continue reading วิทย์ประถม: เปิดเทอมไหม่เราเริ่มด้วยภาพลวงตา →
ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กประถมมาครับ วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพลวงตาต่อ คุยเรื่องภาพลวงตาหน้าเว้าและทำของเล่นจากกระดาษ ตัดและพับให้เป็นตุ๊กตาที่ดูเหมือนว่าหันหน้ามองตามเรา (ด้วยหลักการภาพลวงตาหน้าเว้านั่นเอง) ก่อนอื่นกดเข้าไปดูคลิปนี้ก่อนนะครับ: ตุ๊กตาหน้าเว้า (ตุ๊กตาหันตาม) (อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ) สัปดาห์นี้เราไม่มีกิจกรรมพยายามอธิบายมายากลเพราะของเล่นที่เราจะประดิษฐ์กันต้องใช้เวลาหน่อย ผมให้เด็กๆรู้จักภาพลวงตาอีกแบบคือให้ดูด้านหลังหน้ากาก ซึ่งปรากฏว่าถ้าหลับตาข้างหนึ่งแล้วดูจะเห็นว่าด้านหลังหน้ากากมันนูนออกมาแทนที่จะเว้า: ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าภาพลวงตาหน้าเว้า (Hollow-Face illusion) เกิดขึ้นเพราะสมองคนเราจะวาดภาพในหัวเองว่าเราเห็นอะไรอยู่ ในหลายๆสถานการณ์ข้อมูลที่เข้ามาทางตาสู่สมองมันคลุมเครือเกิดจากของหลายๆแบบที่ต่างกันได้ สมองก็อาจจะตีความตามแบบที่เกิดขึ้นบ่อยๆเป็นปกติ ตัวอย่างใกล้ตัวที่น่าประหลาดใจก็คือภาพลวงตาหน้าเว้าแบบนี้ ที่เรามองด้านหลังของหน้ากากแล้วตีความว่ามันคือด้านหน้า แถมยังดูเหมือนหันมองตามเราซะด้วยครับ คลิปนี้มีตัวอย่างว่าจะเห็นหน้าเว้าเป็นหน้านูนอย่างไรครับ: จากนั้นเด็กๆก็ได้ประดิษฐ์ของเล่นจากกระดาษแข็งที่เป็นตุ๊กตาหน้าเว้าที่มองตามเราครับ วิธีประดิษฐ์เป็นแบบนี้ครับ: เด็กๆแยกย้ายกันทำเสร็จแล้วมาถ่ายคลิปร่วมกันครับ: แบบกระดาษเหล่านี้ผมเอามาจากลิงค์ของ Brusspup และที่มีคนโพสต์ไว้ใน imgur และเว็บอื่นๆโดยหาใน Google ด้วยคำว่า “3D dragon illusion” ครับ ผมรวมมาวางไว้ที่นี่เพื่อให้เอาไปลองสะดวกๆนะครับ สามารถเอาไปพิมพ์บนกระดาษ A4 ได้ครับ:
ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กประถมศูนย์การเรียนปฐมธรรมมาครับ เด็กๆหัดคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยพยายามอธิบายมายากล ผมเล่าให้เด็กๆฟังว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารับรู้เกิดจากสมองแปลความสัญญาณไฟฟ้าที่รับมาจากประสาทสัมผัสทั้งหลาย เช่นภาพต่างๆที่เราเห็นก็เกิดจากสมองวาดขึ้นมาจากสัญญาณไฟฟ้าจากประสาทตา สมองถูกหลอกและหลอกตัวเองได้ง่ายกว่าที่เราคิด เราดูตัวอย่างการที่สมองถูกหลอกโดยภาพลวงตาต่างๆกัน (อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ) ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลในคลิปนี้ครับ เด็กๆดูกลก่อนแล้วพยายามอธิบายก่อนเฉลย คราวนี้เป็นกลนักดนตรีหายไปครับ: กิจกรรมหัดอธิบายมายากลนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็น และหวังว่าเมื่อโตไปจะไม่ถูกหลอกง่ายๆครับ ผมเล่าให้เด็กๆฟังว่าการรับรู้ต่างๆของเรา เราเห็นอะไร เราได้ยินอะไร เรารับรสชาติอะไร เราได้กลิ่นอะไร เราสัมผัสอะไร ต่างเกิดจากการที่สมองตีความสัญญาณไฟฟ้าที่วิ่งมาตามเส้นประสาทที่เชื่อมกับอวัยวะในร่างกาย การตีความนี้มีประโยชน์ทำให้พวกเรามีชีวิตอยู่ได้ในโลก เรามักจะเข้าใจผิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารับรู้มีความถูกต้องตรงกับความเป็นจริง แต่เราอาจตีความผิด รับรู้ผิดๆ จำผิดๆ และเข้าใจอะไรผิดๆก็ได้ ดังนั้นเราต้องระมัดระวังว่าเรารับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆอย่างไร วันนี้เราใช้ตัวอย่างภาพลวงตาต่างๆมาแสดงว่าเราเข้าใจผิดหรือรับรู้ผิดได้ง่ายๆอย่างไร ผมใช้ตัวอย่างจากเว็บ Illusion Index ตัวอย่างแรกคือความยาวของเส้นที่ปลายไม่เหมือนกัน (Müller-Lyer) ดูเหมือนยาวไม่เท่ากัน แต่ถ้าเอาไม้บรรทัดวัดจะพบว่ายาวเท่ากัน: อีกอันคือเมื่อเราเห็นลวดลายเคลื่อนไหวนานๆแล้วเราไปมองภาพนิ่ง (หรือหน้าคน) เราจะเห็นการเคลื่อนไหวในภาพนิ่งนั้น ภาพลวงตานี้เรียกว่า Waterfall Illusion สามารถเข้าไปเล่นในลิงก์นี้ได้ครับ: https://www.illusionsindex.org/ir/79-waterfall-illusion หน้าตามันจะเป็นประมาณนี้: ภาพลวงตาอันต่อไปคือเมื่อเราจ้องมองอะไรนานๆสิ่งนั้นหายไป เราจะเห็นเงาของสิ่งนั้นเหลืออยู่ เงาในที่นี้ไม่ใช่เงาดำๆ แต่มีสีตรงข้ามกับสิ่งที่เราจ้องตอนต้น ภาพลวงตาแบบนี้เรียกว่า Negative Afterimages … Continue reading วิทย์ประถม: เปิดเทอมใหม่ด้วยภาพลวงตา →
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)