วิทย์ม.ต้น: แม่เหล็กไฟฟ้าและมอเตอร์กระแสตรง

วันนี้เด็กๆม.ต้นได้รู้จักแม่เหล็กไฟฟ้า และหลักการทำงานของมอเตอร์กระแสตรงจากคลิปนี้ครับ:

จากนั้นผมก็สอนวิธีทำของเล่นมอเตอร์กระแสตรงดังในคลิปนี้:

จากนั้นเด็กๆก็แยกย้ายทำมอเตอร์กันเองครับ บรรยากาศกิจกรรมเป็นประมาณนี้ครับ:

กิจกรรมวิทย์ม.ต้นวันนี้ เด็กๆรู้จักแม่เหล็กไฟฟ้าและมอเตอร์ และได้สร้างของเล่นมอเตอร์กระแสตรงกันครับ

Posted by Pongskorn Saipetch on Tuesday, December 8, 2020

วิทย์ม.ต้น: ฝึกไพธอน, จับเวลาลูกบอลตก

วันนี้เราคุยกันเรื่องพวกนี้ครับ:

1. รุ่นพี่ฝึกไพธอนกันต่อ เขียนโปรแกรมแก้ปัญหาเล็กๆหลายๆอัน มีเฉลยการบ้านจากสัปดาห์ที่แล้ว หน้าตาประมาณนี้ (โปรแกรมเบื้องต้น ไม่มี error handling เพื่อให้เข้าใจง่าย)

#สร้างโปรแกรมให้เราใส่วันที่เข้าไป แล้วคำนวณว่าวันนั้นห่างจากปัจจุบันเป็นเวลาเท่าไร

import datetime

year = int(input('ใส่ปี (ค.ศ.): '))
month = int(input('ใส่เดือน (1-12): '))
day = int(input('ใส่วัน (1-31): '))
date = datetime.date(year, month, day)
today = date.today()

time_difference = today - date
days_diff= time_difference.days

print('จำนวนวันระหว่าง ' + str(date) + ' ' + 'และ ' + str(today) +  ' คือ ' + str(days_diff) + ' วัน')

#ใช้ f-string (https://realpython.com/python-f-strings/ 
#หรือ https://careerkarma.com/blog/python-f-string/) เพื่อสามารถจัดรูปแบบได้ง่ายและตรงใจมากขึ้น

print(f"จำนวนวันระหว่าง {date} และ {today} คือ {days_diff:,} วัน")

แนะนำให้เด็กๆไปค้นคว้าและหัดใช้เรื่อง f-string ดังในบรรทัดสุดท้ายในโปรแกรมข้างบน หาอ่านได้ที่ https://careerkarma.com/blog/python-f-string/ หรือ https://realpython.com/python-f-strings/

เด็กๆรู้จักไปค้นคว้าเรื่องโมดูล datetime ผมแนะนำให้ไปดูตัวอย่างเพิ่มเติมที่ https://www.programiz.com/python-programming/datetime และ https://pymotw.com/3/datetime/

2. รุ่นพี่มีการบ้านไปเขียนโปรแกรมข้อนี้:

โปรแกรมเศษส่วน

เขียนโปรแกรมรับ เศษและส่วน ตัวที่ 1 และตัวที่ 2
หาค่า +, -, *, / ของเศษส่วน 1 และ 2

(hints: หาเรื่องเกี่ยวกับ fractions ใน Python)

3. ให้โจทย์รุ่นน้องดังนี้:

หาเวลาการตกถึงพื้นของวัตถุจากความสูงต่างๆ วาดกราฟความสูง vs. เวลา

เด็กๆก็จัดการถ่ายวิดีโอ เอาวิดีโอใส่โปรแกรม Tracker เพื่อนับจำนวนเฟรมตั้งแต่ลูกบาสเริ่มตกจนถึงพื้น แปลงจำนวนเฟรมเป็นเวลา ได้ข้อมูลต่างๆประมาณที่บันทึกไว้ในสเปรดชีตนี้ครับ

สเปรดชีตอยู่ที่นี่ครับ

ไฟล์วิดีโอต่างๆที่ถ่ายวันนี้โหลดได้ที่นี่เผื่อใครต้องการใช้ Tracker จับตำแหน่งการตกนะครับ

ผมชี้ให้เด็กๆเห็นว่าเมื่อความสูงเพิ่มขึ้นสองเท่า เวลาไม่ได้เพิ่มเป็นสองเท่าตาม แต่จะเพิ่มแค่ประมาณ √2 เท่า (สแควรูทสอง เท่ากับประมาณ 1.4 เท่า) ถ้าจะให้เวลาเพิ่มเป็นสองเท่า ความสูงต้องเพิ่มเป็นสี่เท่า หรือสรุปได้ว่าเวลาแปรผันตรงกับสแควรูทของความสูงนั่นเอง

บรรยากาศกิจกรรมวันนี้ครับ:

กิจกรรมวิทย์ม.1 วันนี้ เด็กๆหาเวลาการตกถึงพื้นของวัตถุจากความสูงต่างๆ แล้ววาดกราฟความสูง vs. เวลา

Posted by Pongskorn Saipetch on Thursday, December 3, 2020


วิทย์ประถมและอนุบาลสาม: เล่นมอเตอร์โฮโมโพลาร์เส้นลวด

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กประถมศูนย์การเรียนปฐมธรรมและเด็กอนุบาลสามบ้านพลอยภูมิครับ เด็กๆประถมหัดคิดแบบวิทย์โดยพยายามอธิบายมายากล เด็กๆทุกคนเล่นโฮโมโพลาร์มอเตอร์ที่ทำจากถ่านไฟฉาย แม่เหล็ก และลวดทองแดง บางคนที่สนใจก็เอาลวดไปดัดเองเล่นเองครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมประถมอยู่ที่นี่ กิจกรรมอนุบาลอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆประถมได้ดูมายากลเหล่านี้ครับ ดูเฉพาะตอนแรกที่เป็นกล ยังไม่ดูส่วนเฉลยตอนหลัง แล้วดูเฉลยหลังจากได้พยายามคิดพยายามอธิบายว่ากลแต่ละกลทำอย่างไรกันก่อน วันนี้คือกุมารทองคิดเลข:

กิจกรรมนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็นครับ

ผมสอนเด็กๆประถมว่าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าและแม่เหล็กอยู่ใกล้ๆกัน จะมีแรงกระทำกับกระแสไฟฟ้าในทิศทางที่ตั้งฉากกับทั้งทิศทางสนามแม่เหล็กและทิศทางกระแสไฟฟ้า ถ้าเราออกแบบขดลวดและแม่เหล็กให้อยู่ใกล้กันอย่างเหมาะสมก็สามารถทำให้ขดลวดหรือแม่เหล็กเคลื่อนที่ได้ หลักการนี้ถูกใช้ในการสร้างมอเตอร์ประเภทต่างๆ สร้างลำโพง และผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและแม่เหล็กอีกหลายชนิด

วันนี้มาสอนวิธีทำมอเตอร์แบบแรกๆของโลกเรียกว่าโฮโมโพลาร์มอเตอร์ วิธีทำดังในคลิปครับ:

จากนั้นผมก็แจกขดลวดที่ดัดไว้แล้วให้เด็กๆเล่น สำหรับเด็กที่สนใจจะดัดลวดเอง ผมก็ตัดลวดแจกให้เด็กๆไปทดลองทำเอง พบว่าเด็กๆตั้งแต่อนุบาลสามถึงป.6 เล่นของเล่นนี้อย่างสนุกสนาน

ของเล่นอันนี้ทำง่ายเหมาะกับให้เด็กๆทดลองทำเล่นเอง เป็นการปลูกฝังให้เคยชินกับเรื่องแม่เหล็ก กระแสไฟฟ้า แบตเตอรี่ครับ

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)