คุยกับเด็กเรื่องโมเลกุลน้ำ แรงตึงผิว สบู่และน้ำยาล้างจาน featuring ซูเปอร์คอนดัคเตอร์

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ทำไอศครีม ดูลูกบอลกระเด้ง เล่นเรือป๊อกแป๊ก ปล่อยลูกแก้วใส่เป้า” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เราทำการทดลองเกี่ยวกับแรงตึงผิวครับ โดยเด็กๆได้เข้าใจว่าแรงตึงผิวเกิดจากการดูดกันของโมเลกุลน้ำ สารเคมีบางชนิดเช่นสบู่หรือน้ำยาล้างจานจะเข้าไปจับโมเลกุลของน้ำทำให้โมเลกุลน้ำดูดกันไม่ได้ ทำให้แรงตึงผิวลดลง เราได้ทดลองลอยคลิปหนีบกระดาษบนผิวน้ำ และหยดสีบนผิวนมให้เกิดลวดลายสวยๆเมื่อหยดน้ำสบู่ลงไป เด็กประถมได้ดูวิดีโอสเปรย์เคลือบกันน้ำและน้ำมัน นอกจากนั้นเด็กประถมปลายได้ดูวิดีโอซูเปอร์คอนดัคเตอร์ด้วย (เรื่องมันมาถึงนี่ได้เพราะเด็กๆถามว่าโมเลกุลหยุดสั่นได้ไหมถ้าเย็นมากๆ)

ผมเล่าให้ฟังก่อนว่าน้ำและสารต่างๆจะมีส่วนประกอบต่างๆกัน เจ้าส่วนประกอบเล็กๆที่เป็นสารต่างๆจะเรียกว่าโมเลกุลของสารนั้นๆ เช่นน้ำประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำ แต่ละโมเลกุลของน้ำก็ประกอบด้วยออกซิเจนหนึ่งอะตอมรวมอยู่กับไฮโดรเจนสองอะตอม เราเลยเรียก H2O (เอชทูโอ) ว่าคือน้ำ หน้าตาโมเลกุลของน้ำก็คล้ายๆมิกกี้เมาส์ที่หูเล็กๆสองข้างคืออะตอมไฮโดรเจน โมเลกุลของน้ำเล็กมาก เล็กขนาดที่ว่าในน้ำหนึ่งแก้วมีโมเลกุลน้ำมากกว่าล้านล้านล้านล้านโมเลกุล (มากกว่า 1,000,000,000,000,000,000,000,000 โมเลกุล)

ภาพจำลองโมเลกุลน้ำห้าอันอยู่ใกล้ๆกันและดูดกันจากแรงทางไฟฟ้า สีแดงคืออะตอมออกซิเจน สีขาวคืออะตอมไฮโดรเจน

Continue reading คุยกับเด็กเรื่องโมเลกุลน้ำ แรงตึงผิว สบู่และน้ำยาล้างจาน featuring ซูเปอร์คอนดัคเตอร์

ทำไอศครีม ดูลูกบอลกระเด้ง เล่นเรือป๊อกแป๊ก ปล่อยลูกแก้วใส่เป้า

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “คุยกับเด็กๆอนุบาล3-ป.3 เรื่องอุณหภูมิ เด็กๆป.4-6 ต่อของเล่นด้วยมอเตอร์” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมได้ไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กป.1-3 ได้ดูวิดีโอหนวดปลาหมึกและขากบโดนเกลือ ได้ดูภาพเปรียบเทียบขนาดโลกและดวงจันทร์ และได้ทำไอศครีมกันด้วยนม น้ำตาล และวานิลลาครับ ส่วนเด็กป.4-6 ได้ดูการกระเด้งของลูกบอล และได้ดูการเปลี่ยนรูปร่างของลูกบอลในแบบสโลโมชั่น ได้ทดลองน้ำพุ ได้เล่นและเข้าใจการทำงานของเรือป๊อกแป๊ก และได้ดูวิดีโอภาพประหลาดที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่พอดีกับอัตราการถ่ายภาพของกล้องวิดีโอ ส่วนเด็กๆอนุบาลได้ดูบอลกระเด้งและปล่อยลูกแก้วใส่เป้าครับ

สำหรับเด็กป.1-3 ผมให้ดูวิดีโอประหลาดที่หนวดปลาหมึกพึ่งตัดใหม่ๆโรยซอสโชยุเค็มๆและขากบโรยเกลือขยับไปมาครับ:

Continue reading ทำไอศครีม ดูลูกบอลกระเด้ง เล่นเรือป๊อกแป๊ก ปล่อยลูกแก้วใส่เป้า

คุยกับเด็กๆอนุบาล3-ป.3 เรื่องอุณหภูมิ เด็กๆป.4-6 ต่อของเล่นด้วยมอเตอร์

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “คุยกับเด็กๆเรื่องอุณหภูมิ เฟือง และปืนใหญ่ลม” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้คุยกันเรื่องอุณหภูมิต่อสำหรับเด็กป.1-3 สำหรับเด็กป.4-6 ผมให้เด็กๆลองต่อของเล่นจากมอเตอร์ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ ส่วนเด็กๆอนุบาลได้ดูเทอร์โมมิเตอร์แบบที่มีแอลกอฮอลสีแดงๆ และทดลองทาแอลกอฮอลที่แขนแล้วเป่าดูครับ

สำหรับเด็กป.1-3 วันนี้ผมเอาเทอร์โมมิเตอร์ที่มีแอลกอฮอลสีแดงภายในมาให้ดูเพิ่มเติมจากเทอร์โมมิเตอร์แบบไฟฟ้าที่เอามาให้ดูครั้งที่แล้วครับ เวลาเราเอามือไปกำแท่งเทอร์โมมิเตอร์ เส้นสีแดงก็จะยาวขึ้นๆ เวลาเราเอาเทอร์โมมิเตอร์ไปแช่น้ำแข็ง เส้นสีแดงก็จะสั้นลงๆ ผมให้เด็กๆลองเดาว่ามันทำงานอย่างไร เด็กๆไม่แน่ใจ ผมจึงบอกว่าในแท่งแก้วเทอร์โมมิเตอร์มีท่อเล็กๆที่เชื่อมกับกระเปาะแอลกอฮอลอยู่ จากนั้นผมถามว่าเวลาเราเอาเทอร์โมมิเตอร์มาโดนของร้อนๆจะเกิดอะไรขึ้น เด็กๆบอกได้ว่ามันจะร้อนตาม ผมจึงถามต่อว่าของเวลาร้อนขึ้นแล้วจะเป็นอย่างไร จะขยายตัวหรือหดตัว เด็กๆบอกว่าขยายตัว ผมจึงถามต่อว่าแอลกอฮอลสีแดงๆขยายตัวแล้วจะไปไหนได้ มันไหลออกมาข้างนอกได้ไหม เด็กๆบอกว่าไม่ได้ ผมจึงให้สังเกตว่าแอลกอฮอลชยายตัวแล้วจะวิ่งไปตามท่อเล็กๆในแท่งแก้ว ทำให้เราเห็นเส้นสีแดงๆยาวขึ้น Continue reading คุยกับเด็กๆอนุบาล3-ป.3 เรื่องอุณหภูมิ เด็กๆป.4-6 ต่อของเล่นด้วยมอเตอร์

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)