ไปเป็นวิทยากรงานแนะให้แนว

วันนี้ผมไปคุยกับเด็กๆเรื่องการศึกษาวิทย์ที่งานแนะให้แนวที่ทีเคพาร์คครับ

ผมแนะนำตัว แนะนำบันทึกกิจกรรมวิทย์ที่วิทย์พ่อโก้ และช่อง YouTube เด็กจิ๋ว & ดร.โก้

เรามีเวลา 90 นาที ผมจึงบอกเด็กๆว่าผมมีคำแนะนำที่น่าเบื่อ และจะรีบบอกเด็กๆให้เสร็จเร็วที่สุด แล้วเรามาทำกิจกรรมกัน

ผมบอกเด็กๆว่าการเรียนในห้องเรียน กับการเรียนรู้ มันไม่ใช่เรื่องเดียวกันซะทีเดียว ปกติการเรียนในห้องเรียนประเทศไทยจะเป็นแบบเรียนๆไปแล้วสอบ แล้วก็ลืม เนื้อหาเยอะแยะมากมาย และทำให้คนไม่ชอบเรียน แต่จริงๆแล้วพวกเราจำเป็นต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะเรียนรู้เองและเรียนรู้นอกห้องเรียน เพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เราต้องเตรียมตัว แต่เราไม่สามารถเตรียมตัวโดยเรียนวิชาต่างๆให้ครบ เรียนเผื่อไปหมด เพราะความรู้มันพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเราต้องมีนิสัยที่ทำให้เราสามารถเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถปรับตัวได้ในอนาคต

ผมขอให้เด็กๆฝึกนิสัย 10 อย่างซึ่งน่าจะมีประโยชน์ครับ: Continue reading ไปเป็นวิทยากรงานแนะให้แนว

ไฟฟ้าสถิต & น้ำ & ไม้ช็อตยุง สร้าง Electroscope ระเบิดเบกกิ้งโซดา

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทย์มาครับ เด็กประถมต้นได้สังเกตไฟฟ้าสถิตดูดสายน้ำ ได้เห็นการเอาประจุไฟฟ้าจากไม้ช็อตยุงมาเป็นไฟฟ้าสถิต เห็นฟ้าผ่าจิ๊วจากไม้ช็อตยุง เด็กประถมปลายได้สร้าง Electroscope วัดไฟฟ้าสถิตกันเอง เด็กอนุบาลสามได้ดูการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากด้วยการผสมเบคกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชู ใช้เป่าลูกโป่ง ทำถุงระเบิด และจรวดจุกคอร์กครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “Electroscope เปรียบเทียบไฟฟ้าสถิต ระเบิดเบคกิ้งโซดา” ครับ)

สำหรับเด็กประถมต้น เราเล่นไฟฟ้าสถิตกันต่อโดยสร้างไฟฟ้าสถิตบนลูกโป่งหรือหลอดพลาสติก (ด้วยการถูกับพื้น ผ้า หรือกระดาษ) แล้วเอาไปใกล้ๆสายน้ำเล็กๆครับ สายน้ำจะถูกดูดเข้าหาลูกโป่งหรือหลอดพลาสติกครับ:

Continue reading ไฟฟ้าสถิต & น้ำ & ไม้ช็อตยุง สร้าง Electroscope ระเบิดเบกกิ้งโซดา

สอนวิทย์มัธยม 1: เริ่มรู้จักคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

สืบเนื่องจากการบ้านคราวที่แล้วผมให้เด็กไปหาความยาวคลื่นแสงสีแดงมาเปรียบเทียบกับขนาดตัวคนว่าใหญ่กว่ากันกี่เท่า เด็กๆก็ไปหามาได้ว่าความยาวคลื่นประมาณ 700 nm หรือ 0.7 μm หรือขนาดอยู่ในระดับเดียวกับขนาดแบคทีเรีย E. coli แต่ใหญ่กว่าขนาดไวรัสหลายเท่าเพราะไวรัสเล็กกว่า E. coli ประมาณ 10 ถึง 100 เท่า

เด็กๆพบว่าแสงสีต่างๆกันมีความยาวคลื่นไม่เท่ากัน ผมเลยเล่าให้ฟังว่าจริงแล้วแสงที่เรามองเห็น เป็นส่วนเล็กๆของสิ่งที่เรียกว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) คือถ้ามีประจุไฟฟ้าขยับไปมาเร็วๆ มันจะสร้างคลื่นให้วิ่งออกมา คลื่นนี้ประกอบด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปมาเป็นจังหวะ เราจะแบ่งแยกและตั้งชื่อคลื่นเหล่านี้ตามความถี่ในการสั่นของคลื่น (หรือในทางกลับกันตามความยาวคลื่นก็ได้ เพราะความถี่ในการสั่นแปรผกผันกับความยาวคลื่น)

จินตนาการหน้าตาของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าครับ (จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Electromagnetic_radiation)
จินตนาการหน้าตาของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าครับ (จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Electromagnetic_radiation)

ผมไล่ชื่อของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตามรูปนี้ให้เด็กๆเห็นความถี่และเข้าใจคุณสมบัติมันว่าใช้ทำอะไรบ้างครับ: Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: เริ่มรู้จักคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)