ทาโร่กรอบเพราะอะไร พิมพ์ด้วยสีลอยน้ำ ไฟฟ้ากระแส ลูกข่างไจโร

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วมีเด็กป.1 ถามผมว่าทำไมปลาเส้นทาโร่ใส่ไมโครเวฟถึงกรอบ แต่ของอืนๆใส่ไมโครเวฟแล้วนิ่ม ไม่กรอบ ผมเลยเอาปัญหานี้มาให้เด็กประถมคิด เด็กๆได้หัดเดา (ตั้งสมมุติฐาน) ว่าเป็นเพราะอะไรได้บ้าง แล้วให้ไปหาทางทดลองว่าสิ่งที่เดาน่าจะถูกหรือผิดครับ เป็นการบ้านเพื่อมาคุยกันอีกสามสัปดาห์ จากนั้นได้ดูคลิปการเคลือบสีผลิตภัณฑ์ต่างๆด้วยการพิมพ์ด้วยฟิล์มสีลอยน้ำ (Hydrographic Printing) โดยสืบเนี่องมาจากกิจกรรมที่เด็กๆได้หัดทำ Marbling Art ที่ใช่สีลอยน้ำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้เริ่มสังเกตปรากฎการณ์กระแสไฟฟ้าทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก และสังเกตปืนแม่เหล็กครับ เด็กอนุบาลสามได้เล่นลูกข่างไจโรสโคปกันครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “ไฟฟ้าสถิต & น้ำในยานอวกาศ ฟ้าผ่าจิ๋ว Franklin Bells ไจโรสโคป” ครับ)

เมื่อสองสัปดาห์ก่อนน้องเอวาป.1 ถามผมว่าทำไมปลาเส้นทาโร่ใส่ไมโครเวฟถึงกรอบ แต่ของอย่างอื่นใส่ไปแล้วไม่กรอบ ผมจึงมาถามเด็กประถมว่าคิดว่าอย่างไร เด็กๆก็เสนอไอเดียต่างๆกันดังในรูปครับ:

สมมุติฐานของเด็กประถมต้น
สมมุติฐานของเด็กประถมต้น

Continue reading ทาโร่กรอบเพราะอะไร พิมพ์ด้วยสีลอยน้ำ ไฟฟ้ากระแส ลูกข่างไจโร

สอนวิทย์มัธยม 1: โมเลกุล อะตอม และธาตุ (แต่เราตื่นเต้นเรื่องระเบิดนิวเคลียร์มากกว่า)

วันนี้ผมคุยกับเด็กๆเรื่องอะตอมครับ เมื่อวันพุธเด็กๆสังเกตปรากฎการณ์ไฟฟ้าต่างๆกัน รู้จักประจุไฟฟ้า วันนี้เราเลยคุยกันต่อว่าประจุไฟฟ้ามันอยู่ที่ไหนกัน

ผมเล่าให้เด็กๆฟังว่าของทั้งหลายที่อยู่รอบตัวเรามันมีส่วนประกอบเล็กๆอยู่เรียกว่าโมเลกุล (เช่นน้ำมีโมเลกุลที่เรียกว่า H2O )โมเลกุลเองก็มีส่วนประกอบที่เรียกว่าอะตอม (เช่น H2O ประกอบด้วย H ไฮโดรเจนสองตัว และ O ออกซิเจนหนึ่งตัว)

อะตอมมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่เรียกว่าโปรตอน นิวตรอน และอิเล็คตรอนเป็นจำนวนต่างกัน โปรตอนจะมีประจุไฟฟ้าบวก นิวตรอนไม่มีประจุไฟฟ้า อิเล็คตรอนจะมีประจุไฟฟ้าลบ มวลของโปรตอนและนิวตรอนมีขนาดใกล้ๆกันโดยนิวตรอนหนักกว่านิดนึง และอิเล็คตรอนจะเบากว่าโปรตอนประมาณ 2,000 เท่า (ลิงก์อ่านเพิ่มภาษาอังกฤษ: atom) Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: โมเลกุล อะตอม และธาตุ (แต่เราตื่นเต้นเรื่องระเบิดนิวเคลียร์มากกว่า)

ไฟฟ้าสถิต & น้ำในยานอวกาศ ฟ้าผ่าจิ๋ว Franklin Bells ไจโรสโคป

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้เห็นไฟฟ้าสถิตดูดน้ำชัดๆ และได้ดูคลิปไฟฟ้าสถิตดูดหยดน้ำในยานอวกาศในสภาพไร้น้ำหนัก ได้รู้หลักการทำงานของไม้ช็อตยุงและทำไมมันถึงเป็นฟ้าผ่าแบบจิ๋วๆที่ทำงานด้วยหลักการเดียวกับฟ้าผ่าจริงๆในท้องฟ้า ได้ดูของเล่นจากไฟฟ้าสถิตที่เรียกว่า Franklin Bells หรือป๋องแป๋งไฟฟ้า เด็กประถมปลายได้ดูวิธีประมาณโวลท์ของไม้ช็อตยุงด้วยการดูว่าประกายไฟข้ามอากาศได้กว้างแค่ไหน เด็กอนุบาลสามได้คุยกันเรื่องธรรมชาติและปริมาณการหมุน และได้เล่นลูกข่างไจโรสโคปครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “ไฟฟ้าสถิต & น้ำ & ไม้ช็อตยุง สร้าง Electroscope ระเบิดเบกกิ้งโซดา” ครับ)

สำหรับเด็กประถม ผมพาไปดูไฟฟ้าสถิตดูดสายน้ำให้ชัดๆครับ ไปที่ก๊อกน้ำเปิดน้ำให้ไหลเป็นเส้นเล็กๆ เอาหลอดพลาสติกถูกกับกระดาษ แล้วเอาหลอดไปใกล้ๆสายน้ำ สายน้ำจะวิ่งเข้าหาหลอดพลาสติกครับ:

ไฟฟ้าสถิตบนหลอดพลาสติกดูดสายน้ำเข้าหาหลอดครับ
ไฟฟ้าสถิตบนหลอดพลาสติกดูดสายน้ำเข้าหาหลอดครับ

สาเหตุที่ไฟฟ้าสถิตดูดน้ำก็เพราะว่าโมเลกุลน้ำ H2O บางส่วนสามารถแตกตัวเป็น H+ ซึ่งมีประจุบวกและ OH ซึ่งมีประจุลบได้ รวมถึงอาจมีไอออนอื่นๆที่มีประจุละลายอยู่ เมื่อเอาไฟฟ้าสถิตไปใกล้ๆ ส่วนประกอบในน้ำที่มีประจุตรงข้ามกับประจุไฟฟ้าสถิ­ตจะถูกดูดเข้าหาแหล่งที่มี ไฟฟ้าสถิต ส่วนประจุที่เหมือนกับไฟฟ้าสถิตจะอยู่ด้านที่ห่างออกไปในสายน้ำ

จากนั้นผมก็ให้เด็กๆดูคลิปการทดลองในสถานีอวกาศครับ เอาเข็มถักไหมพรมที่เป็นพลาสติกไนลอน ถูกับกระดาษ แล้วปล่อยหยดน้ำเข้าไปใกล้ๆ ก่อนจะดู ผมถามเด็กๆว่าคิดว่าหยดน้ำจะเป็นอย่างไร มันจะลอยอยู่เฉยๆ หรือวิ่งหนีหรือวิ่งเข้าหาแหล่งไฟฟ้าสถิต เด็กๆก็เดากันไปต่างๆนาๆครับ แล้วเราก็ดูคลิปกัน: Continue reading ไฟฟ้าสถิต & น้ำในยานอวกาศ ฟ้าผ่าจิ๋ว Franklin Bells ไจโรสโคป

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)