Tag Archives: วิทย์ม.ต้น

วิทย์ม.ต้น: หัดต่อภาพทำ Collage ด้วย Pillow กัน

วันศุกร์ที่ผ่านมาเด็กๆหัดใช้ Pillow ต่ออีกครับ ครั้งที่แล้วต่อภาพสองภาพในแนวตั้งและแนวนอนได้แล้ว คราวนี้ลองต่อหลายๆภาพเข้าด้วยกันเป็น Collage เล่นดู การบ้านเด็กๆคือให้ไปพยายามรวมภาพเข้าด้วยกันให้ดูดีๆ หรือไม่ก็สร้างออกมาทีละหลายๆภาพแล้วเลือกเอาครับ

ตัวอย่างการใช้ Pillow ให้เด็กศึกษาเพิ่มเติมมีเช่นที่ https://automatetheboringstuff.com/chapter17/ และ https://pillow.readthedocs.io/en/stable/handbook/tutorial.html

ข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับ Pillow ไว้ทำความเข้าใจให้ลึกขึ้น: https://pillow.readthedocs.io/en/stable/handbook/concepts.html

วิธีสลับของหรือเลือกของแบบสุ่มดูได้จากลิงก์เหล่านี้ครับ: https://pynative.com/python-random-shuffle/ และ https://pynative.com/python-random-choice/ และดูลิงก์ https://docs.python.org/3/library/random.html สำหรับฟังก์ชั่นเกี่ยวกับการสุ่มต่างๆใน Python

สามารถดาวน์โหลด Jupyter Notebook ที่มีตัวอย่างโค้ดได้ที่นี่ครับ

วิทย์ม.ต้น: ใช้ Pillow ใน Python รวมภาพเข้าด้วยกัน

วันศุกร์ที่ผ่านมาเด็กๆหัดใช้ Pillow กันต่อครับ (ต่อจากศุกร์ที่แล้ว) คราวนี้โจทย์คือต่อภาพสองภาพเข้าด้วยกันโดยสามารถกำหนดความสูงหรือความกว้างภาพผลลัพธ์ได้ เด็กๆก็ศึกษาวิธีทำจาก https://automatetheboringstuff.com/chapter17/ และ https://pillow.readthedocs.io/en/stable/handbook/index.html และค่อยๆเขียนโปรแกรมไปครับ

หน้าตาของตัวโปรแกรมจะเป็นประมาณนี้ครับ:

สามารถดาวน์โหลด Jupyter Notebook ที่มีตัวอย่างโค้ดทั้งหมดที่นี่นะครับ

วิทย์ม.ต้น: Cognitive Biases สามอย่าง, ประดิษฐ์เครื่องฟอกอากาศแบบง่ายๆ

วันนี้เราก็คุยกันเรื่อง cognitive biases สามอย่างที่เด็กๆไปอ่านในหนังสือ The Art of Thinking Clearly ในสัปดาห์ที่ผ่านมาครับ คราวนี้เรื่อง Groupthink, Neglect of Probability, และ Scarcity Error

Groupthink คือการตัดสินใจตามๆกัน อาจเป็นเพราะไม่อยากขัดเสียงส่วนใหญ่ หรือคิดว่าคนอื่นๆคิดดีแล้วเราขี้เกียจคิดก็ตัดสินใจตามๆเขา ในการประชุมใดๆก็ตามถ้ามีการตัดสินใจแบบเหมือนกันหมดให้ระวังและพยายามหาเหตุผลและข้อมูลมาแย้งว่ามีอะไรบ้างด้วย

Neglect of probability คือการที่คนเรากะประมาณความน่าจะเป็นต่างๆไม่ถูกต้องหรือไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ทำให้ประมาณความเสี่ยงต่างๆผิดพลาด ยกตัวอย่างเช่นเราไม่เข้าใจโอกาสถูกล็อตเตอรี่ต่างๆ หรือไม่สามารถแยกได้ระหว่างความน่าจะเป็น 1/หมื่น 1/ล้าน 1/100ล้าน ฯลฯ

Scarcity error คือการที่เราให้มูลค่ากับของที่มีจำกัดมากกว่าความเป็นจริง จะพบเห็นบ่อยๆตามร้านค้าหรือเว็บขายของที่บอกว่าของมีจำนวนจำกัด หรือซื้อได้จำกัดจำนวนชิ้น หรือลดราคาถึงวันที่…เท่านั้น หรือการที่คนยินดีจ่ายเงินมากๆกับของที่มีจำกัดทั้งๆที่บางทีของนั้นๆไม่ได้ดีกว่าแบบอื่นๆที่มีจำนวนมากกว่า

จากนั้นผมเล่าเรื่องไส้กรองอากาศ HEPA ให้เด็กๆฟัง แล้วเด็กๆก็ช่วยกันประกอบเครื่องฟอกอากาศแบบง่ายๆที่เอาพัดลมและไส้กรองอากาศมาต่อกัน ทำตามแบบที่ผมทดลองทำแบบนี้ครับ ผมเคยทดลองสำหรับห้องปิด 30 ตารางเมตรต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงที่จะลด PM 2.5 จาก 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเป็น 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีพัดลมปกติอีกตัวเป่าลมผ่านหน้าเครื่องกรองให้อากาศไหลเวียนเยอะๆ: