อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ (คราวที่แล้วเรื่อง “กลนิ้วนางจอมดื้อและความเฉื่อยของเหรียญ” นะครับ) วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ สำหรับเด็กประถมเราได้คุยกันเรื่องขนาดโลกเทียบกับดวงอาทิตย์ และระยะห่างที่ไกลมากอย่างที่คนส่วนใหญ่คาดไม่ถึง ทำไมเราเห็นดวงอาทิตย์สีเหลืองหรือแดงทั้งๆที่จริงๆแล้วดวงอาทิตย์ร้อนมากจนเป็นสิขาว เราได้ดูภาพลวงตาหลายแบบเพื่อเตือนสติว่าพวกเราถูกประสาทสัมผัสและสมองหลอกได้ง่ายมาก ถ้าจะป้องกันการหลอกตัวเอง เราต้องวัดและบันทึกสิ่งต่างๆด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ถูกหลอกง่ายๆ สำหรับเด็กอนุบาลสามผมไปสอนวิธีทำของเล่นคอปเตอร์กระดาษครับ
อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ (คราวที่แล้วเรื่อง “ใครๆก็ชอบอุกกาบาต วัดปริมาตรมือ และเล่นกับเสียง” ครับ) วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เราคุยกันเรื่องตา เซลล์รับแสง (เซลล์ร็อดและเซลล์โคน) และภาพลวงตาครับ เราเริ่มกันด้วยการดูภาพลูกตาและส่วนประกอบต่างๆ โดยเนื้อหาตอนเริ่มต้นจะคล้ายๆกับที่พูดไปปีที่แล้ว จึงขอยกที่บันทึกปีที่แล้วมาที่นี่นะครับ วันนี้ที่ทดลองเพิ่มเติมก็คือการทำให้เซลล์รับแสงในตาล้าให้เราเห็นภาพลวงตาดังที่จะกล่าวต่อไปครับ ก่อนอื่นผมก็คุยเรื่องตาของเราก่อนครับ เรามองเห็นได้โดยแสงวิ่งไปกระทบกับจอรับแสง (เรตินา, Retina) ที่ด้านหลังข้างในลูกตา แต่บังเอิญตาของคนเราวิวัฒนาการมาโดยมีเส้นเลือดและเส้นประสาทอยู่บนผิวของจอรับแสง เมื่อจะส่งสัญญาณไปตามเส้นประสาทไปยังสมอง เส้นประสาทจะต้องร้อยผ่านรูอันหนึ่งที่อยู่บนจอรับแสง รอบบริเวณรูนั้นจะไม่มีเซลล์รับแสง ดังนั้นถ้าแสงจากภายนอกลูกตาไปตกลงบนบริเวณนั้นพอดี ตาจะไม่สามารถเห็นแสงเหล่านั้นได้ บริเวณรูนั้นจึงเรียกว่าจุดบอด หรือ Blind Spot นั่นเอง จุดบอดหรือ Blind spot อยู่ตรงที่เส้นประสาทรวมกันเป็นเส้นลากจากภายในลูกตาออกมาด้านหลัง ไปยังสมองในที่สุด (ภาพจาก http://transitionfour.wordpress.com/tag/blind-spot/) ตาของปลาหมึกทั้งหลายจะไม่มีจุดบอดแบบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างเราครับ เนื่องจากเส้นประสาทของปลาหมึกอยู่หลังจอรับแสง จึงไม่ต้องมีการร้อยผ่านรูในจอรับแสงแบบตาพวกเรา วิธีดูว่าเรามีจุดบอดก็ทำได้ง่ายมากครับ แค่เขียนตัวหนังสือตัวเล็กๆบนแผ่นกระดาษสองตัว ให้อยู่ในแนวบรรทัดเดียวกันแต่ห่างกันสักหนึ่งฝ่ามือ จากนั้นถ้าเราจะหาจุดบอดในตาขวา เราก็หลับตาซ้าย แล้วใช้ตาขวามองตัวหนังสือตัวซ้ายไว้นิ่งๆ จากนั้นเราก็ขยับกระดาษเข้าออกให้ห่างจากหน้าเราช้าๆ … Continue reading คุยกับเด็กๆเรื่องตา ภาพลวงตา เซลล์ร็อดและเซลล์โคน →
อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ (คราวที่แล้วเรื่องวิดีโอหุ่นยนต์นกและถ่ายหนัง Silly Putty กลืนแม่เหล็ก อยู่ที่นี่ครับ) เปิดเทอมใหม่แล้วครับ วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องจุดบอดในตาของเรา และภาพลวงตาต่างๆครับ ทุกครั้งที่เริ่มเทอมใหม่ ผมจะพยายามคุยกับเด็กๆว่าเราต้องระมัดระวังที่จะเชื่อประสาทสัมผัสต่างๆของเราครับ เนื่องจากประสาทสัมผ้สเรามีข้อจำกัด และเรารับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆด้วยการแปลผลของสมอง และสมองก็ถูกหลอกได้ง่าย คิดไปเองได้ง่าย ถ้าเราไม่ระวัง เราก็รับรู้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ถ้าเราสงสัยหรือไม่มั่นใจว่าเรารับรู้ได้ถูกต้องหรือเปล่า เราควรจะหาวิธีใช้อุปกรณ์ที่น่าเชื่อถือมาวัดด้วยครับ จะเชื่อแต่ความรู้สึกหรือความคิดของเราเองไม่ได้ ผมหวังว่าในอนาคตเมื่อเด็กๆเห็นอะไรแปลกๆพิสดารเขาจะได้ไม่รีบเชื่ออะไรง่ายๆ แต่ต้องพยายามเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไรจริงๆก่อน
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)