วิทย์ม.ต้น: COSMOS EP. 8 รู้จักดวงดาว

วันนี้เราคุยกันถึงคลิปวิดีโอ Cosmos Ep. 8: Sisters of the Sun ที่เด็กๆไปดูกันที่บ้านในสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับความรู้เรื่องดาวฤกษ์ครับ

เด็กๆควรอ่านเรื่องดาวฤกษ์เป็นความรู้รอบตัวจากเว็บของ NASA ที่นี่ครับ 

รายละเอียดเพิ่มเติมเป็นภาษาอังกฤษที่นี่ เป็นภาษาไทยที่นี่ หรือแนะนำให้ดูคลิปนี้ครับ:

ดาวมีชะตากรรมต่างๆกันขึ้นกับมวลของมันครับ สรุปได้ด้วยรูปนี้ (เชิญกดดูถ้าเห็นไม่ชัด) จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Stellar_evolution:

ดาวมวลน้อย (ประมาณ 0.02-0.08 เท่ามวลดวงอาทิตย์) เป็น brown dwarf (ดาวแคระน้ำตาล) จะมีชีวิตยืนยาวเป็นแสนล้าน-ล้านล้านปี อุณหภูมิไม่สูง แสงที่เปล่งอยู่ในช่วงอินฟราเรดเป็นส่วนใหญ่ ถ้าสนใจลองดู 10 Interesting Facts about Brown Dwarf Stars ดูได้ครับ

ดาวมวลกลางๆ (0.08-8 เท่ามวลดวงอาทิตย์, ดวงอาทิตย์เราก็เป็นพวกนี้) จะมีอายุขัยหลายพันล้านถึงหมื่นล้านปี (ดวงอาทิตย์เราน่าจะมีอายุขัยประมาณหมื่นล้านปี) อุณหภูมิสูงปานกลาง เมื่อแก่ลง (แปลงไฮโดรเจนเป็นธาตุอื่นๆไปมากแล้ว) ก็กลายเป็น red giant (ดาวยักษ์แดง) และจะกลายเป็น white dwarf (ดาวแคระขาว) ในที่สุด แต่ระหว่างทางถ้ามีดาวโคจรกันเป็นคู่ก็จะทำให้เกิด type Ia supernova (ซุปเปอร์โนวาประเภท 1a) ได้

ดาวมวลมากๆ (มากกว่า 8 เท่ามวลดวงอาทิตย์) จะมีอายุสั้น ยิ่งมวลมากยิ่งสั้นเพราะนำ้หนักที่กดทับศูนย์กลางเร่งปฏิกริยานิวเคลียร์ให้เร็วมากขึ้น อายุขัยอาจจะประมาณไม่กี่ล้านถึงไม่กี่สิบล้านปี เมื่อแก่จะกลายเป็น red supergiant (ดาวยักษ์ใหญ่แดง) แล้วระเบิดเป็น type II supernova (ซุปเปอร์โนวาประเภท 2) ส่วนแกนกลางที่เหลือจะกลายเป็น neutron star (ดาวนิวตรอน) หรือ black hole (หลุมดำ) ขึ้นอยู่ว่ามวลเริ่มต้นของดาวมากแค่ไหน

ถ้าสนใจเรื่องพวกนี้ ลองดู Playlist ของ Professor Dave ก็ได้ครับ มีหลายตอน ค่อยๆดูไปเรื่อยๆสัปดาห์ละสองสามคลิปก็ได้ ถ้าจดโน้ตไปด้วยก็จะเรียนรู้ได้ดีขึ้น:

ประวัตินิดหน่อยว่าทำไมถึงแจกแจงดาวฤกษ์เป็น OBAFGKM  (จำง่ายๆว่า Oh, Be A Fine Guy(Girl), Kiss Me.):

O จะเป็นพวกร้อนสุด พวก M จะเป็นพวกเย็นสุด ถ้าอยากรู้ประวัติ H-R Diagram (Hertzsprung-Russell Diagram) ที่อยู่ในวิดีโอกดดูที่นี่นะครับ

ภาพสเปคตรัมของแสงจากดาวประเภทต่างๆที่ทีมของ Annie Jump Cannon ศึกษา ในคลิป Cosmos ครับ (ภาพจาก https://blog.sdss.org/2015/11/30/how-sdss-uses-light-to-measure-the-mass-of-stars-in-galaxies/):

อันนี้ความรู้รอบตัวว่าทำไมเราถึงเห็นดาวเป็นแฉกๆทั้งๆที่ดวงดาวจริงๆเป็นทรงกลมครับ:

คำถามจากเด็กๆว่าดาวใกล้ๆจะเป็น supernova แล้วทำให้เราตายไหม เชิญดูคลิปโดยนักดาราศาสตร์มาเล่าให้ฟังว่าดาวไหนน่าจะเป็น supernova บ้างครับ:

คำถามจากเด็กๆเรื่องเราวัดระยะทางไกลๆในอวกาศได้อย่างไร ควรศึกษาเรื่อง cosmic distance ladder ครับ:

ตัวอย่างการเลี้ยงลูกให้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้

ผมบอกเด็กๆที่ผมสอนเสมอๆว่าให้หัดใช้ภาษาอังกฤษไปเรื่อยๆ อย่าท้อ อย่าหยุด พยายามฝึกหัดและปรับปรุงไปเรื่อยๆทุกวัน (ไม่สำคัญว่าเริ่มเร็วเริ่มช้า แต่จงเริ่มและอย่าหยุด) เนื่องจากเมื่อรู้ภาษาอังกฤษแล้วจะสามารถเรียนรู้เรื่องต่างๆได้กว้างขวางมากมาย เรียนจากคนสอนเรื่องต่างๆที่เก่งระดับโลกก็ได้ ไม่ต้องรอให้ใครมาเล่าให้ฟัง

มีผู้ปกครองหลายท่านถามมาว่าลูกๆของผมหัดใช้ภาษาอังกฤษอย่างไร จึงอยากมาสรุปไว้ตรงนี้เป็นตัวอย่างแบบหนึ่งที่ได้ผลกับครอบครัวผม อาจมีประโยชน์ให้ท่านอื่นๆทดลองดูว่าได้ผลบ้างไหม (จริงๆผมเลี้ยงลูกไม่ค่อยเป็นนะครับ ภรรยาเป็นคนเลี้ยง ดังนั้นสิ่งต่างๆเหล่านี้จะมาจากภรรยาผมเป็นส่วนใหญ่)

  1. ตอนลูกยังเล็ก พวกเขาไม่ค่อยได้ดูรายการทีวีทั่วไป ไม่ได้เล่นโทรศัพท์ ผมและภรรยาอ่านหนังสือเล่านิทานภาษาไทยให้ฟัง
  2. เริ่มที่ประมาณ 5-6 ขวบ เด็กๆได้ดูภาพยนต์ที่มีเสียงเป็นภาษาอังกฤษ (ตอนประถมต้นมีซับไตเติ้ลเป็นภาษาไทยได้ ตอนประถมปลายเป็นภาษาอังกฤษ) เป็นการ์ตูนดูง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ให้ดูๆฟังๆไป เราช่วยอธิบายเรื่องไปด้วย สะสมไปเรื่อยๆแล้วเขาจะคุ้นเคยฟังได้ จำคำต่างๆได้ จำประโยคได้ ออกเสียงตามได้ ภาพยนต์ก็เลือกเรื่องที่เด็กดูสนุก เด็กแต่ละคนอาจชอบต่างๆกัน (สมัยนี้ผมก็เห็นหลานเล็กๆอนุบาลสามของผมดูการ์ตูนภาษาอังกฤษที่เขาชอบเช่น Pepa Pig ก็ได้ผลดี, กดดูลิงก์ด้านล่างที่ภรรยาผมพูดถึงลิงก์เลือกภาพยนต์ด้วยนะครับ)
  3. ผมและภรรยาเปิดเพลงหรือภาพยนต์ภาษาอังกฤษในรถเวลาเดินทางกับลูกๆ หวังให้เขาซึมซับเสียงต่างๆ (เดี๋ยวนี้ใน YouTube, Spotify, Netflix, Disney, ฯลฯ ก็น่าจะได้)
  4. พวกเราอ่านหนังสือต่างๆเป็นเรื่องปกติ ให้ลูกหัดอ่านไปด้วย ตอนแรกก็นิทานภาษาไทย เอาที่เขาชอบอ่าน พอเขาโตขึ้นก็เริ่มอ่านนิทานภาษาอังกฤษง่ายๆก่อน เมื่ออ่านเก่งขึ้นก็อ่านอันที่ยากขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่สำคัญคือต้องเป็นเรื่องที่เขาสนใจอยากอ่าน แต่ละคนก็ชอบไม่เหมือนกัน (สมัยนี้ก็มีหนังสือต่างๆมากมายให้เลือกอ่านบนอินเทอร์เน็ต, กดดูลิงก์ด้านล่างที่ภรรยาผมพูดถึงลิงก์เลือกหนังสือด้วยนะครับ)
  5. พอเด็กๆเริ่มใช้ภาษาอังกฤษได้ เขาก็ได้เข้าไปเล่นกิจกรรมต่างๆใน Starfall และ Khan Academy Kids
  6. ถ้ามีโอกาสเล่นหรือคุยกับผู้ใช้ภาษาอังกฤษอื่นๆก็พยายามใช้ภาษาอังกฤษกับเขา ถ้าโรงเรียนมีคุณครูที่ใช้ภาษาอังกฤษก็พูดคุยกันเยอะๆหน่อย
  7. ผมไม่แนะนำให้เด็กๆเข้าไปดูสื่อออนไลน์เองตั้งแต่เล็กๆเพราะเขาอาจเสพติดรายการทำลายสมองต่างๆได้ พ่อแม่ควรพยายามเลือกรายการสร้างสรรค์ให้ก่อนจนเขาเริ่มมีรสนิยมที่ใช้ได้
  8. ทำสะสมไปเรื่อยๆหลายๆปีลูกๆก็ใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นเรื่องปกติ

ต่อไปคือลิงก์เกี่ยวข้องที่น่าจะมีประโยชน์ครับ (กดลิงก์เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมนะครับ):

ไปเป็นวิทยากรงานแนะให้แนว

เรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วย Online Etymology Dictionary, Google, และ Wiktionary

คนเรียนภาษาอังกฤษจากการ์ตูน

เรียนภาษาอังกฤษกับอาจารย์อดัม

รวมช่อง youtube เด็ดๆ สำหรับฝึกภาษาด้วยตัวเอง

รวมโปรแกรม & Website ช่วยให้เขียนภาษาอังกฤษได้เป๊ะขึ้น

Things to Teach My Children บันทึกสิ่งที่ต้องบอกลูก 

Designing Your Life

เมื่อ 3 มีนาคม 2564 ได้เข้าไปคุยใน Club House (โดยได้รับเกียรติเชิญโดย TeamBa) เกี่ยวกับวิชา Design Your Life ซึ่งผมไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับวิชานั้นเลย ได้แต่แชร์ประสบการณ์ที่ผมมี ?

ผมจดหัวข้อที่ผมกล่าวถึงไว้ตรงนี้ เผื่อมีประโยชน์กับเด็กๆ นักศึกษา หรือคนหนุ่มสาวครับ:

Design Your Life

กิจกรรมเรียนรู้พยายามให้สนุก และสร้างนิสัยที่น่าจะมีประโยชน์ในอนาคต

สอนเด็กคิดแบบวิทย์โดยให้พยายามอธิบายมายากลต่างๆ

พยายามเข้าใจว่าธรรมชาติทำงานอย่างไร เข้าใจขบวนการต่างๆ

สงสัย หาคำอธิบาย เดาคำตอบ เช็คคำตอบ เช็คว่าคำตอบผิดไหม

ตั้งใจหาข้อมูลที่บอกว่าคำตอบเราผิด

หัดใช้ภาษาอังกฤษเรียนรู้เรื่องต่างๆ

ฝึกจดเอง สรุปเอง

หาข้อมูลเรียนรู้เอง ออกความเห็นคุยกันในห้องเรียน

เด็กโตหัดดูคลิปและสรุปเองเพื่อเตรียมทำกิจกรรมและการทดลองในครั้งต่อไป

ฝึกวิจารณญาณว่าอะไรเชื่อถือได้เพราะอะไร หลักฐานสนับสนุน หลักฐานโต้แย้ง

รู้จัก confirmation bias, survivorship bias และ cognitive biases อื่นๆ

ฝีกฝนให้มีตรรกะ 

Unknown มากมาย  ถ่อมตัวเสมอ เราไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรเท่าไรหรอก

เราอาจเข้าใจอะไรผิดได้เสมอ ต้องอาศัยข้อมูลบ่งชี้ พยายามทำตัวให้หลุดจาก confirmation bias

พยายามศึกษาว่าใครทำอะไรแล้วเจ๊ง 

ศึกษาว่าใครทำอะไรแล้วประสบความสำเร็จอาจไม่ค่อยช่วยอะไร

ถ้าศึกษาว่าใครเจ๊งอย่างไรเราน่าจะมีโอกาสรอดมากขึ้น

ชีวิตมันไม่ค่อยเป็นไปตามแผน

โชค เป็นปัจจัยใหญ่

แต่เราก็ต้องเตรียมตัวในส่วนที่เตรียมทำได้ให้ดีๆ มีพื้นฐานต่างๆให้แน่น

คิดบ่อยๆว่าสิ่งที่เราทำจะทำให้เราเข้าใกล้หรือห่างจากเป้าหมายของเรา

ถ้าห่างขึ้นเรื่อยๆอาจต้องหาทางอื่น

กฎ 80-20 ผลตอบแทนส่วนใหญ่มาจากของที่เราทำไม่กี่อย่าง

แต่เราไม่รู้หรอกว่าอันไหน ดังนั้นทำตัวไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีศักยภาพบ่อยๆเท่าที่ทำได้ แต่ห้ามตาย ห้ามเจ๊ง

จินตนาการว่าอนาคตจะมีอะไรดีๆได้บ้าง แล้วก็ไปทำ หรือไปออมหรือไปลงทุนในสิ่งต่างๆนั้น

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)