วิทย์ม.ต้น: Cosmos Ep. 13 วิทยาศาสตร์คือเทียนไขในความมืดแห่งอวิชชา

วันนี้เราคุยกันถึงคลิปวิดีโอ Cosmos Ep. 13: Unafraid of the Dark ที่เด็กๆไปดูกันที่บ้านในสัปดาห์ที่แล้ว เป็นตอนสุดท้ายของซีรีส์ เกี่ยวกับความรู้อันจำกัดของมนุษยชาติและการคิดแบบวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้มนุษยชาติสะสมเพิ่มเติมความรู้ไปเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป

บทสรุปสำคัญในการคิดแบบวิทยาศาสตร์โดย Neil deGrasse Tyson ที่ทำให้มนุษยชาติค้นพบความจริงต่างๆตามที่ธรรมชาติเป็นมีดังนี้ครับ:

1. Question authority. No idea is true just because someone says so, including me. (ไม่เชื่อใครง่ายๆ ใครๆก็อาจผิดได้ )

2. Think for yourself. Question yourself. Don’t believe anything just because you want to. Believing something doesn’t make it so. (คิดด้วยตัวเอง อย่าเชื่ออะไรเพียงเพราะเราอยากให้เป็นอย่างนั้น การเชื่ออะไรบางอย่างไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เราเชื่อจะเป็นจริง)

3. Test ideas by the evidence gained from observation and experiment. If a favorite idea fails a well-designed test, it’s wrong. Get over it. (ทดสอบความคิดความเชื่อด้วยหลักฐานจากการสังเกตและการทดลอง ถ้าผลของการทดลองที่ออกแบบอย่างระมัดระวังบอกว่าความคิดความเชื่อของเราผิด เราต้องเปลี่ยนความเชื่อ)

4. Follow the evidence wherever it leads. If you have no evidence, reserve judgment. (สรุปและตัดสินใจด้วยหลักฐานจากการสังเกตและการทดลอง ถ้ายังไม่มีหลักฐาน ก็ยังไม่ต้องฟันธง)

And perhaps the most important rule of all… (และข้อที่น่าจะสำคัญที่สุด…) 

5. Remember: you could be wrong. Even the best scientists have been wrong about some things. Newton, Einstein, and every other great scientist in history — they all made mistakes. Of course they did. They were human.  (ตัวเราเองก็อาจผิดได้ นักวิทยาศาสตร์เอกของโลกต่างก็เคยผิดพลาดทั้งนั้น เป็นเรื่องปกติของมนุษย์)

Science is a way to keep from fooling ourselves, and each other.  (การคิดแบบวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือป้องกันไม่ให้เราหลอกทั้งตนเอง และผู้อื่น)

ใน Ep. 13 กล่าวถีงเรื่องน่าสนใจหลายเรื่อง เชิญดูคลิปเหล่านี้ครับ:

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหอสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย:

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Victor Hess และ Cosmic Rays:

ความรู้เรื่อง Supernova:

ความรู้เรื่อง Dark Matter และ Dark Energy:

รู้จักยาน Voyager 1 และ 2 กันครับ:

เกี่ยวกับข้อความที่เราส่งไปเผื่อมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวอ่านได้ครับ:

บรรยายพิเศษ: การแนะนำเด็กอนุบาลถึงมัธยมต้นให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ผ่านมายากลและของเล่น

ผมได้มีโอกาสบรรยายพิเศษกับภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 ครับ คลิปการบรรยายอยู่ที่นี่:

มีลิงก์อื่นๆที่เกี่ยวข้องอยู่ในโพสต์นี้ครับ:

วิทย์ม.ต้น: Cosmos Ep. 12 ภาวะโลกร้อน/โลกรวน Climate Change

วันนี้เราคุยกันถึงคลิปวิดีโอ Cosmos Ep. 12: The World Set Free ที่เด็กๆไปดูกันที่บ้านในสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน/โลกรวน (Climate Change) ที่โลกเรามีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มมากอย่างรวดเร็วใน 100-200 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก คือก๊าซเรือนกระจกเช่นไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์และมีเธนในบรรยากาศทำการกักรังสีอินฟราเรดที่จะพาความร้อนออกไปจากโลก (ไปปล่อยในอวกาศเย็นๆ) ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกค่อยๆสูงขึ้น

ผมให้เด็กๆเข้าไปช่วยกันทำแบบสอบถาม “คุณรู้จักโลกร้อนดีแค่ไหน?” โดยให้ช่วยกันหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมาตอบทีละข้อ เด็กๆพบว่าคำตอบหลายๆข้อน่าประหลาดใจหรือคาดไม่ถึงเหมือนกัน แต่ในที่สุดเด็กๆก็ช่วยกันทำจนได้ถูกทุกข้อ มีเฉลยอยู่ที่เพจของผู้แต่งหนังสือด้วยนะครับ

ลิงก์ที่เด็กๆช่วยกันหามาตอบคำถามครับ:

แนะนำให้เด็กๆดูคลิปเหล่านี้ด้วยนะครับ

เด็กๆเข้าไปอ่านเรื่องราวของ Augustin Mouchot (มูโชท์) ที่สร้างเครื่องแปลงความร้อนจากแสงอาทิตย์ให้ทำงานกลให้เมื่อปี 1878 ได้ทื่นี่นะครับ

Public Domain, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=7952045
เครื่องจักรของมูโชท์ เปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานกล
Public Domain, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=7952045

เด็กๆเข้าไปอ่านเรื่องราวของ Frank Shuman ที่ใช้แสงอาทิตย์ทำชลประทานในอียิปต์ได้ที่นี่ครับ

หน้าตาเครื่องจักรของ Frank Shuman
หน้าตาเครื่องจักรของ Frank Shuman
สิทธิบัตรเครื่องจักรของ Frank Shuman
สิทธิบัตรเครื่องจักรของ Frank Shuman

เด็กๆอย่าลืมว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ตกลงมาบนโลกมากกว่าพลังงานที่มนุษยชาติใช้ทั้งหมด 7,000+ เท่านะครับ ตอนนี้เรากำลังพัฒนาวิธีเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้แทนการเผาน้ำมัน ถ่านหินและก๊าซ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศครับ 

เด็กๆสำรวจวิธีจับคาร์บอนไดออกไซด์ที่น่าจะเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ในอนาคตนะครับ:

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)