(พยายาม)ติดตั้งลูกตุ้มความยาวต่างๆให้มันแกว่งสวยๆ

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “เด็กๆวัดความถี่ลูกตุ้มที่มีความยาวต่างๆกัน + กลจับแบงค์” ครับ ถ้ายังไม่ได้ดูควรจะดูก่อนครับเพราะเนื้อหาต่อเนื่องกัน)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและกลุ่มบ้านเรียนเฟิร์นครับ วันนี้เราทำการทดลองต่อจากสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยพยายามเอาลูกตุ้มที่มีความยาวต่างๆกันมาเรียงกันแล้วปล่อยให้มันแกว่งด้วยความถี่ต่างๆกันให้ดูสวยงามครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมาเด็กๆได้วัดความถี่การแกว่งของลูกตุ้มขนาดต่างๆแล้วผมก็เอาไปวาดเป็นกราฟแล้วพิมพ์ให้เด็กๆ วันนี้ผมเอากราฟที่สรุปความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและความถี่ของลูกตุ้มให้เด็กๆดู:

สรุปความสัมพันธ์ที่เด็กๆวัดได้จากสัปดาห์ที่แล้วครับ
ความสัมพันธ์เดิมแต่เราขยายให้เห็นชัดขึ้นในช่วงแกว่ง 48-70 ครั้งต่อนาทีครับ

จากนั้นผมก็สอนเด็กๆให้ใช้กราฟหาความยาวของลูกตุ้มถ้ารู้ความถี่ หรือหาความถี่ลูกตุ้มถ้ารู้ความยาว ซึ่งก็แค่ไปดูว่าเส้นกราฟมันพาดคู่ความยาวและความถี่ตรงไหนบ้าง  เช่นถ้าต้องการทราบว่าถ้าความถี่คือ 65 ครั้งต่อนาที ลูกตุ้มต้องยาวเท่าไร เราก็แค่ลากเส้นในแนวนอนจากเลข 65 ไปจนชนเส้นกราฟแล้วลากเส้นแนวตั้งลงมาแล้วพบว่าความยาวลูกตุ้มต้องเป็นเกือบๆ 21 เซ็นติเมตรนั่นเอง หรือถ้าต้องการทราบว่าถ้าลูกตุ้มยาว 30 เซ็นติเมตร มันจะแกว่งกี่ครั้งต่อนาที เราก็ลากเส้นในแนวตั้งที่ 30 ขึ้นไปชนเส้นกราฟแล้วลากเส้นแนวนอนไปทางซ้าย ก็จะพบว่ามันแกว่งประมาณ 54 ครั้งต่อนาที Continue reading (พยายาม)ติดตั้งลูกตุ้มความยาวต่างๆให้มันแกว่งสวยๆ

เด็กๆวัดความถี่ลูกตุ้มที่มีความยาวต่างๆกัน + กลจับแบงค์

 

 
อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ไปคุยกับเด็กๆเรื่องการสั่นการแกว่งและเล่นกับเลเซอร์นิดหน่อย” อยู่ที่นี่ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องวัดความถี่การสั่นของลูกตุ้มขนาดต่างๆสำหรับเด็กประถม และกลจับแบงค์สำหรับเด็กอนุบาลครับ

สำหรับเด็กประถม ผมให้ดูวิดีโอจากคราวที่แล้วที่เราได้เห็นลูกตุ้มขนาดยาวต่างๆแกว่งด้วยความถี่ต่างๆกันจนเป็นรูปสวยงาม เราจะทำของอย่างนั้นบ้าง วันนี้เราจึงพยายามวัดความถี่ของลูกตุ้มที่มีความยาวต่างๆกันเพื่อจะได้เลือกความยาวให้ถูกครับ วิดีโอที่เราดูคืออันนี้ครับ:

ก่อนอื่นเราก็สังเกตลูกตุ้มว่าแกว่งอย่างไร พบว่ามันจะแกว่งน้อยลงเรื่อยๆ ผมถามเด็กๆว่าเพราะอะไร เด็กหลายๆคนบอกว่าเพราะโดนอากาศ เพราะแรงต้านอากาศครับ ผมจึงถามว่าเราจะทำให้แกว่งนานๆอย่างไรดี เด็กๆไม่แน่ใจ ผมจึงเอาเพิ่มน้ำหนักของลูกตุ้ม หรือเอาดินน้ำมันมาปั้นรอบๆให้กลมๆ พบว่าลูกตุ้มแกว่งได้นานขึ้น ผมจึงบอกเด็กๆว่า ถ้าเราทำรูปร่างของลูกตุ้มให้มันแหวกอากาศง่ายๆมันก็จะต้านอากาศน้อย และถ้ารูปทรงเหมือนเดิมหรือคล้ายๆกันแล้วเราเพิ่มน้ำหนัก อากาศก็จะต้านให้มันหยุดยากขึ้น Continue reading เด็กๆวัดความถี่ลูกตุ้มที่มีความยาวต่างๆกัน + กลจับแบงค์

ไปคุยกับเด็กๆเรื่องการสั่นการแกว่งและเล่นกับเลเซอร์นิดหน่อย

 
อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “คุยกับเด็กๆเรื่องฟ้าผ่า ไม้แป๊ะยุง กระโดดจากอวกาศ และกลขวดแตก” อยู่ที่นี่ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและกลุ่มบ้านเฟิร์นครับ วันนี้เราคุยกันเรื่องการสั่นและการแกว่งครับ แต่สำหรับระดับประถมขณะที่เรารอเพื่อนๆให้มาครบก่อนผมเอาเลเซอร์มาให้เด็กๆดูด้วยครับ

ผมให้เด็กๆสังเกตสิ่งต่างๆสั่นหรือแกว่งก่อนครับ เริ่มด้วยเอาไม้บรรทัดอลูมิเนียมมาพาดกับโต๊ะให้ปลายข้างหนึ่งยื่นออกมาจากโต๊ะ และกดส่วนที่อยู่บนโต๊ะให้แน่นๆ จากนั้นก็กดปลายที่ยื่นออกมาจากโต๊ะแล้วปล่อยให้มันสั่น เมื่อไม้บรรทัดสั่น เด็กๆก็จะได้ยินเสียง ถ้าเราขยับไม้บรรทัดให้ส่วนที่ยื่นออกมาจากโต๊ะมีความยาวต่างกัน เสียงที่เด็กๆได้ยินก็จะเปลี่ยนไปด้วย

เด็กๆรู้จักเสียงสูงเสียงต่ำและสังเกตได้ว่าเวลาไม้บรรทัดยื่นมาเยอะๆแล้วสั่น เสียงจะต่ำ ถ้ายื่นมาน้อยๆแล้วสั่น เสียงจะสูง ผมถามเด็กๆว่าเสียงมันเกิดได้อย่างไร เด็กๆบางคนตอบได้ว่าเพราะอากาศสั่นจากการที่ไม้บรรทัดสั่น ผมเสริมว่าเวลาไม้บรรทัดยื่นมาเยอะๆมันจะสั่นช้ากว่าเวลามันยื่นออกมาน้อยๆ จำนวนครั้งที่มันสั่นต่อหน่วยเวลาเช่นเป็นครั้งต่อวินาทีเรียกว่าความถี่ เวลามันสั่นจำนวนครั้งเยอะๆความถี่ก็เยอะ อากาศรอบๆก็สั่นด้วยความถี่เยอะ และหูเราฟังได้ว่ามันเป็นเสียงสูง ถ้าสั่นด้วยความถี่ต่ำๆหูเราก็จะเรียกมันว่าเสียงต่ำ

จากนั้นผมก็เอาไม้บรรทัดสั้นและไม้บรรทัดยาวที่เจาะรูที่ปลายข้างหนึ่งมาแกว่งโดยเอาแขวนไม้บรรทัดที่รูที่เจาะไว้ เด็กๆจะเห็นว่าไม้บรรทัดที่สั้นกว่าจะแกว่งด้วยความถี่สูงกว่าไม้บรรทัดที่ยาวกว่า

แกว่งไม้บรรทัดที่สั้นยาวต่างกันอย่างนี้ครับ

Continue reading ไปคุยกับเด็กๆเรื่องการสั่นการแกว่งและเล่นกับเลเซอร์นิดหน่อย

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)