Tag Archives: ไจโรสโคป

ห้ามดับไฟน้ำมันด้วยน้ำ โค้ก vs. ลาวา “ลูกโป่งจับปีศาจ” พัดลมน้ำระเหย

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “การระเหยทำให้เย็นและกลไฟฟ้าสถิต” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมได้ดูวิดีโอว่าทำไมเราไม่ควรใช้น้ำดับไฟที่ลุกบนน้ำมัน เด็กประถมต้นได้เดาว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อลาวาไหลทับกระป๋องน้ำอัดลม และได้เล่น(และเดาหลักการทำงาน)ของเล่น “ลูกโป่งจับปีศาจ” ที่ส่งเสียงโหยหวนเมื่อเขย่า เด็กประถมปลายได้ทดลองพัดลมน้ำระเหยแบบต่างๆที่ใช้วัสดุเปียกหลายๆแบบไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังใบพัดแล้ววัดอุณหภูมิและเปรียบเทียบแรงลม เด็กอนุบาลสามได้เล่นของเล่นลูกข่างไจโรและลูกโป่งจับปีศาจครับ

ก่อนอื่นผมถามเด็กประถมว่าเวลาทำอาหารในกระทะ มีน้ำมันและไฟลุกขึ้นมา จะดับไฟอย่างไร เด็กๆหลายๆคนบอกว่าใช้น้ำราด ผมจึงบอกว่าห้ามทำอย่างนั้นเด็ดขาด แล้วให้เด็กๆดูวิดีโอนี้ครับ:

Continue reading ห้ามดับไฟน้ำมันด้วยน้ำ โค้ก vs. ลาวา “ลูกโป่งจับปีศาจ” พัดลมน้ำระเหย

เรียนรู้เกี่ยวกับการสั่น ดูวิดีโอการสั่นของแผ่นโลหะด้วยคลื่นเสียง

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ความเร็วลมและความดันอากาศ วัดความต้านทานและแรงดันไฟฟ้า และตัดโฟมด้วยลวดไฟฟ้า” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสั่น ดูวิดีโอการสั่นของแผ่นโลหะด้วยคลื่นเสียง วิดีโอโซ่มหัศจรรย์ เล่นของเล่นไจโรสโคป ของเล่นสลิงกี้ และเลี้ยงลูกบอลชายหาดด้วยล

เราเริ่มโดยการดูวิดีโอประหลาดของโซ่ลูกปัดครับ เชิญดูคลิปก่อนครับ:

อันนี้เป็นคลิปแบบสโลโมชั่นและคำอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นครับ:

เวลาโซ่ตกลงมา มันถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงให้มีความเร็วสูง แล้วมันก็ดึงโซ่ส่วนที่เหลือในโหลแก้วให้พุ่งขึ้นออกจากปากโหลแก้วด้วยความเร็วสูง โซ่ที่พุ่งด้วยความเร็วสูงในทิศทางขึ้นต้องเปลี่ยนทิศทางให้ตกลงในแนวดิ่ง มันจึงใช้เวลาและระยะทางยาวพอสมควรในการเปลี่ยนความเร็วจากวิ่งขึ้นให้เป็นวิ่งลง ทำให้เราเห็นการเคลื่อนที่ที่เราไม่คุ้นเคยครับ Continue reading เรียนรู้เกี่ยวกับการสั่น ดูวิดีโอการสั่นของแผ่นโลหะด้วยคลื่นเสียง