ผมมีลูกสามคนชื่อธีธัช (ธีธัช) ธัชธีญา (ธีญา) และธัญญา (ธัญญ่า) อายุ 11, 9, 7 ปีตามลำดับ เมื่อวันสองวันที่แล้วธัญญ่าเขียนรายการบนกระจกเพื่อเตือนใจตนเองดังนี้:
ภรรยาผมอธิบายไว้อย่างนี้ที่ Facebook เธอครับ: Continue reading เกร็ดประสบการณ์การเลี้ยงลูกจากภรรยาผมครับ →
อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ
ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่นี่นะครับ
(คราวที่แล้วเรื่อง “เสือไต่ถัง รถไฟเหาะ แรงเหวี่ยงติดขอบกาละมัง” ครับ)
วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมครับ วันนี้ผมให้เด็กๆสังเกตลูกแก้วที่ตกจากที่สูงว่าความเร็วเพิ่มขึ้นเมื่อตกลงสู่พื้น ได้คุยกันว่าถ้าของตกโดยไม่มีแรงต้านอากาศของต่างๆจะตกจากที่สูงเท่ากันลงถึงพื้นพร้อมๆกัน เด็กประถมปลายได้เริ่มรู้จักพลังงานจลน์และพลังงานศักย์ และเห็นตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงระหว่างพลังงานทั้งสองแบบ เด็กประถมต้นได้เห็นว่าความสูงและความเร็วเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ เด็กๆได้เล่นรถไฟเหาะจำลองที่ทำจากลูกแก้ว (แทนรถไฟ) และสายยางพลาสติกใสยาวสิบเมตร (แทนราง) ครับ
สืบเนื่องมาจากวิดีโอรถไฟเหาะสัปดาห์ที่แล้วครับ: Continue reading จำลอง “รถไฟเหาะ” การเปลี่ยนรูปพลังงานระหว่างศักย์และจลน์ →
อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ
ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ
(คราวที่แล้วเรื่อง “คุยเรื่องดวงจันทร์ วัดปริมาตรด้วยการแทนที่น้ำ กลตั้งไข่และกระป๋อง” ครับ)
วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กๆได้เล่น “เสือไต่ถัง” โดยเอาลูกแก้วหรือลูกเหล็กกลมๆไปวิ่งเร็วๆตามขอบกาละมัง ขวดแก้ว ขวดพลาสติก แก้วไวน์ครับ สำหรับเด็กประถมผมให้สังเกตว่าเมื่อลูกแก้วหลุดออกมา มันเคลื่อนที่อย่างไร (วิ่งเป็นเส้นตรงหรือวิ่งโค้งๆ? วิ่งไปทิศทางไหน?) และเล่าให้ฟังเรื่องความเฉื่อย เด็กๆประถมได้ดูวิดีโอคนวิ่งกลับหัว รถไฟเหาะตีลังกา การดริฟท์รถ และเรื่องเล่าเกี่ยวกับชุดนักบินที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือด และได้ฟังคำอธิบายว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน เป็นหลักการเดียวกัน
สืบเนื่องจากวิดีโอ “เสือไต่ถัง” ที่เด็กๆได้ดูกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้วครับ:
Continue reading เสือไต่ถัง รถไฟเหาะ แรงเหวี่ยงติดขอบกาละมัง →
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)