วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้ลองวิ่งเป็นวงกลมเล็กและวงกลมใหญ่ ให้สังเกตว่าวิ่งแบบไหนลื่นง่ายกว่ากัน เด็กประถมทั้งต้นและปลายได้ทดลองกับอุปกรณ์หลายอย่างเพื่อเข้าใจว่าการเคลื่อนที่เป็นวงกลมต้องมีแรงสู่ศูนย์กลางทำให้เป็นวงกลม ไม่งั้นจะวิ่งเป็นเส้นตรง เด็กอนุบาลสามได้ทดลองเกี่ยวกับสมดุลและการทรงตัวครับ
(อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ คราวที่แล้วเรื่อง “คุยกันเรื่องจรวด ทำจรวดลูกโป่ง สมดุลสำหรับเด็กอนุบาล” ครับ)
สำหรับเด็กประถม ผมแสดงกลวิทยาศาสตร์นี้ก่อนครับ:
ถ้าใครไม่เคยเห็นกลนี้ จะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากเลยครับว่าทำไมเหรียญถึงไม่ตกลงมาเวลาเราแกว่งไม้แขวนเสื้อ มันเป็นเรื่องเดียวกันกับแรงโน้มถ่วงเทียมที่เราเคยคุยกันไปแล้วที่นี่ และได้ทำการทดลองแบบคลิปนี้ครับ:
Continue reading การเคลื่อนที่เป็นวงกลมสำหรับประถม สมดุลสำหรับอนุบาล →
วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิมาครับ เด็กประถมได้ดูคลิปลูกไฟในท้องฟ้าเมื่อคืน แล้วได้คุยกันเรี่องการทำงานของจรวดที่เกิดจากพ่นก๊าซร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ไปทางหนึ่งแล้วทำให้ส่วนที่เหลือของจรวดวิ่งไปอีกทางหนึ่ง ได้ทำของเล่นจำลองจรวดด้วยลูกโป่งและหลอด สำหรับเด็กอนุบาลเด็กๆได้เริ่มเรียนรู้เรื่องการสมดุล และได้ทดลองหาจุดสมดุล (จุดศูนย์ถ่วง) ของท่อพีวีซีครับ
(อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ คราวที่แล้วเรื่อง “จุดศูนย์ถ่วงและการทรงตัว” ครับ)
สำหรับเด็กประถม ผมให้เขาดูคลิปลูกไฟที่น่าจะเกิดจากอุกกาบาตที่ตกลงมาเหนือประเทศไทยเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2558 ครับ:
https://www.youtube.com/watch?v=dVsQ0klZ09A
Continue reading คุยกันเรื่องจรวด ทำจรวดลูกโป่ง สมดุลสำหรับเด็กอนุบาล →
วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมมาครับ เด็กๆได้ทำการทดลองสามอย่างที่เกี่ยวกับจุดศูนย์ถ่วงและการทรงตัวครับ ได้ยืนให้ส้นเท้าและก้นติดผนังแล้วพยายามโน้มตัวลงมาเก็บของบนพื้นด้วยไม่ย่อเข่า ได้ทดลองหาจุดศูนย์ถ่วงของท่อพีวีซีที่ถ่วงปลายด้วยดินน้ำมันขนาดต่างๆ และได้เอาส้อมมาทรงตัวให้สมดุลผ่านก้านไม้จิ้มฟันครับ
(อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ คราวที่แล้วเรื่อง “ท่อกระดาษทรงพลัง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรด ถุงพลาสติกยกคน“)
ก่อนอื่นผมให้เด็กๆดูวิดีโอนี้ครับ:
พวกเราได้เห็นการจับของมาเรียงกันให้สมดุลทรงตัวอยู่ได้อย่างเยี่ยมยอด ของที่จะถูกยกขึ้นมาผ่านตำแหน่งเดียว (เช่นใช้นิ้วเดียวยก หรือใช้เชือกผูก) โดยที่ของไม่หมุนแล้วตกลงไปนั้น ตำแหน่งที่ถูกยกจะต้องอยู่ในแนวเดียวกันกับจุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity) ของมัน Continue reading จุดศูนย์ถ่วงและการทรงตัว →
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)