ลูกตุ้มเลื้อย สนุกกับสารเคมี คอปเตอร์กระดาษ

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้ทำกิจกรรมการแกว่งของลูกตุ้มกันต่อ ได้วัดความยาวที่เหมาะสมแล้วมาประกอบกันเป็นแถวเพื่อให้ลูกตุ้มแกว่งตามๆกันไปเหมือนงูเลื้อย เด็กประถมปลายได้เห็นปฏิกริยาเคมีด่างทับทิม+ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และด่างทับทิม+กลีเซอรอล เด็กอนุบาลสามได้หัดทำและเล่นของเล่นคอปเตอร์กระดาษกันครับ

(อัลบั้มภาพกิจกรรมอยู่ที่นี่ครับ คราวที่แล้วเรื่อง “หัดวัดคาบการแกว่งลูกตุ้ม “แม่เหล็กดูดกระดาษ” เคลื่อนที่เป็นวงกลม” ครับ)

จากสัปดาห์ที่แล้วที่เด็กๆประถมต้นได้ทดลองวัดคาบการแกว่งของลูกตุ้มที่มีความยาวแตกต่างกัน และพบว่าถ้าความยาวลูกตุ้มมากคาบการแกว่งก็มาก ถ้าลูกตุ้มสั้นคาบการแกว่งก็สั้นครับ สรุปมาเป็นกราฟแบบนี้:

เด็กๆประถมต้นช่วยกันวัดคาบการแกว่งลูกตุ้มความยาวต่างๆกันครับ จุดกลมๆคือข้อมูลที่เด็กๆประถมต้นช่วยกันวัด เทียบกับทฤษฎีที่เป็นเส้นทึบครับถ้าคิดค่าความเร่งจากแรงโน้มถ่วง (ค่า g) จะได้ g = 9.89 m/s^2 คลาดเคลื่อนจากค่ามาตรฐานไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ครับ
เด็กๆประถมต้นช่วยกันวัดคาบการแกว่งลูกตุ้มความยาวต่างๆกันครับ จุดกลมๆคือข้อมูลที่เด็กๆประถมต้นช่วยกันวัด เทียบกับทฤษฎีที่เป็นเส้นทึบครับถ้าคิดค่าความเร่งจากแรงโน้มถ่วง (ค่า g) จะได้ g = 9.89 m/s^2 คลาดเคลื่อนจากค่ามาตรฐานไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ครับ

จากความสัมพันธ์ระหว่างคาบการแกว่งกับความยาวลูกตุ้ม เราก็สามารถสร้างลูกตุ้มที่ความยาวต่างๆให้แกว่งด้วยคาบที่เราต้องการได้ครับ เช่นถ้าต้องการให้แกว่ง 60 ครั้งต่อนาที ก็แปลว่าคาบของมันเท่ากับ 1 วินาที แล้วเราก็ไปหาว่าความยาวแค่ไหนจะแกว่งที่คาบเท่ากับ 1 วินาที เราจะพบว่าความยาวต้องเป็น 25 เซ็นติเมตรเป็นต้น (ความสัมพันธ์ที่ได้จากการทดลองระหว่างคาบเป็นวินาที (T) และความยาวของลูกตุ้มเป็นเซ็นติเมตร (L) คือ T = 0.199825 x รูทที่สองของ L หรือ L = 25.0438 T2 ครับ) Continue reading ลูกตุ้มเลื้อย สนุกกับสารเคมี คอปเตอร์กระดาษ

หัดวัดคาบการแกว่งลูกตุ้ม “แม่เหล็กดูดกระดาษ” เคลื่อนที่เป็นวงกลม

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้หัดวัดคาบการแกว่งของลูกตุ้มที่ยาวต่างๆกัน แล้วเราเอาข้อมูลทุกคนมารวมกันเพื่อดูกราฟความสัมพันธ์ระหว่างคาบและความยาว เด็กประถมปลายได้สังเกตและเสนอคำอธิบายว่าทำไมแม่เหล็กถึง “ดูด” กระดาษที่ลอยน้ำอยู่ เด็กอนุบาลสามได้เล่นของเล่นที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่เป็นวงกลมสามอย่างครับ

(อัลบั้มภาพกิจกรรมอยู่ที่นี่ครับ คราวที่แล้วเรื่อง “การแกว่งของลูกตุ้ม ปั๊มน้ำขวดพลาสติก เคลื่อนที่เป็นวงกลม” ครับ)

หลังจากเด็กประถมต้นได้เรียนรู้เรื่องการแกว่งของลูกตุ้มไปบ้างในสัปดาห์ที่แล้ว สัปดาห์นี้เด็กๆก็แบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆช่วยกันวัดคาบการแกว่งของลูกตุ้มความยาวต่างๆกันครับ เราใช้น็อตเหล็กเป็นลูกตุ้ม ใช้กาวดินน้ำมันติดเชือกให้ห้อยไว้กับขอบโต๊ะหรืออะไรสูงๆ วัดความยาวลูกตุ้มจากจุดที่เชือกถูกห้อยไ้ว้จนถึงกึ่งกลางน็อต จับเวลาที่ลูกตุ้มแกว่งสิบรอบแล้วหารด้วยสิบเพื่อให้ได้เวลาการแกว่งหนึ่งรอบ

Continue reading หัดวัดคาบการแกว่งลูกตุ้ม “แม่เหล็กดูดกระดาษ” เคลื่อนที่เป็นวงกลม

การแกว่งของลูกตุ้ม ปั๊มน้ำขวดพลาสติก เคลื่อนที่เป็นวงกลม

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้สังเกตการแกว่งของลูกตุ้ม ได้สังเกตว่าปล่อยลูกตุ้มที่มุมต่างๆกันมีคาบการแกว่งเหมือนกันหรือไม่ สังเกตการหยุดของลูกตุ้มอันเกิดจากแรงต้านอากาศ และทำอย่างไรให้ผลของแรงต้านอากาศน้อยลง สังเกตคาบของการแกว่งเมื่อเทียบกับความยาวลูกตุ้ม สังเกตว่าคาบเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อความยาวเพิ่มขึ้นสี่เท่า เด็กประถมปลายได้เอาขวดพลาสติกมาติดวาล์วที่ทำจากเทปกาวเพื่อเป็นปั๊มน้ำง่ายๆครับ เด็กอนุบาลสามทับหนึ่งได้เล่นของเล่นจากหลักการแรงสู่ศูนย์กลางสำหรับการเคลื่อนที่เป็นวงกลมสามชนิดครับ

(อัลบั้มภาพกิจกรรมอยู่ที่นี่ครับ คราวที่แล้วเรื่อง “การเคลื่อนที่เป็นวงกลมสำหรับประถม สมดุลสำหรับอนุบาล” ครับ)

สำหรับเด็กประถมต้น ผมให้สังเกตการแกว่งของลูกตุ้มครับ ผมเอาเชือกเส้นเล็กๆมาใส่ลูกตุ้มดินน้ำมันเล็กๆให้ความยาวเชือกถึงกลางลูกตุ้มยาว  50 เซ็นติเมตร จับลูกตุ้มยกขึ้นแล้วปล่อยให้มันแกว่ง มันแกว่งน้อยลงเรื่อยๆได้สัก 20-23 รอบก็หยุดแกว่ง ผมถามเด็กๆสองคำถามว่า ทำไมมันถึงแกว่ง และทำไมมันถึงหยุดแกว่ง Continue reading การแกว่งของลูกตุ้ม ปั๊มน้ำขวดพลาสติก เคลื่อนที่เป็นวงกลม

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)