สัปดาห์นี้กลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิเปิดเทอมแล้วครับ ผมเลยได้ไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์มา เด็กประถมได้ดูเพชรระเบิดเพ ราะถูกกดทับ ได้ดูภาพลวงตาต่างๆ ได้คุยกันว่าหนังสามมิติทำง านอย่างไร ได้ทดลองว่าการจดจ่อกับสิ่ง หนึ่งทำให้เราพลาดสิ่งอื่นๆ ได้มากแค่ไหน ได้ฟังเสียงรอบทิศทาง (Holophonics/ Binaural recording ) ผ่านหูฟัง ได้ทดลองไขว้นิ้วแล้วแตะจมูกจนรู้สึกว่ามี จมูกสองอัน (Aristotle illusion ) ได้คุยกันว่าสมองเราต้องพยา ยามตีความสัญญาณต่างๆที่จำกัดและไม่ค่อยสมบูรณ์จากทางป ระสาทสัมผัสต่างๆแล้วคิดคำน วณว่าสภาพแวดล้อมที่ประสาทสัมผัสตรวจสอบมาน่าจะเป็นอย่ างไร โดยทั่วไปสมองก็ทำหน้าที่ได้ดีใช้ได้เพราะผ่านการคัดเลือกพันธุ์โดยธรรมชาติมานาน แต่ก็ยังทำงานผิดพลาดได้เยอ ะเพราะมีข้อจำกัดอยู่มาก เด็กอนุบาลได้ทดลองเล่นกลน้ำไม่หกเพราะแรงดันอากาศสองแ บบครับ
(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “แสง สีรุ้ง ปริซึม การสะท้อนภายใน ใยแก้วนำแสง ปรับปรุงปืนลม ” ครับ)
สำหรับเด็กประถมต้นผมให้ดูคลิปนี้ครับ เป็นการบีบอัดเพชรด้วยแรงมากๆ
VIDEO
Continue reading สารพันมายาสำหรับประถม กลความดันอากาศสำหรับอนุบาล →
ตอนผมเป็นเด็กผมได้เจอกับกลอนบทนี้โดย Piet Hein และผมใช้วิธีนี้ในการบังคับให้ตนเองตัดสินใจหลายครั้งแล้ว สรุปก็คือถ้าเรามีสองทางเลือกที่เราไม่แน่ใจว่าจะเลือกอันไหน ให้โยนเหรียญหัวก้อย แต่ไม่ใช่เพราะจะดูผลหัวหรือก้อย แต่ให้สังเกตว่าเราอยากให้ออกหัวหรือก้อย:
Whenever you’re called on to make up your mind, and you’re hampered by not having any, the best way to solve the dilemma, you’ll find, is simply by spinning a penny. No — not so that chance shall decide the affair while you’re passively standing there moping; but the moment the penny is up in the air, you suddenly know what you’re hoping.
เมื่อวันอังคารผมไปทำกิจกรรมวิทยาศา สตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียน ปฐมธรรมเป็นครั้งสุดท้ายของ เทอมครับ เด็กประถมต้นได้คุยกันเรื่อ งสีรุ้งว่าจริงๆมันมีสีเยอะ มากแต่เราตั้งชื่อให้แค่เจ็ ดสี ได้ดูการเลี้ยวเบนของแสงผ่า นปริซึม ได้คุยกันว่าเมื่อแสงเดินทา งผ่านตัวกลางต่างๆกัน ความเร็วของแสงจะเปลี่ยนไป และจะมีการเปลี่ยนทิศทางการ เคลื่อนที่ ได้คุยกันเรื่องการสะท้อนภา ยในเมื่อแสงทำมุมที่เหมาะสม ในตัวกลาง และการประยุกต์หลักการนี้ไป ส่งข้อมูลในใยแก้วนำแสง เด็กประถมปลายได้พยายามปรับ ปรุงปืนลมกระสุนโฟมจากสองสั ปดาห์ที่แล้ว ได้เห็นว่าวิถีกระสุนตกลงเพ ราะแรงโน้มถ่วง และการตั้งศูนย์เล็งว่าทำได้อย่างไรครับ
(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “คลิปหุ่นยนต์สุดเจ๋ง ดูทิศทางการเดินทางของแสง ทำปืนลมยิงกระสุนโฟม ” ครับ)
สำหรับเด็กประถมต้น ผมเอาปริซึม (Prism ) มาให้เด็กๆดูครับ เอามารับแสงแดดอย่างนี้:
แสงแดดวิ่งผ่านปริซึมกลายเป็นหลายๆสีครับ
ผมถามเด็กๆว่าเห็นสีอะไรบ้าง เด็กๆบอกว่าเป็นสีรุ้ง ผมถามว่ารุ้งมีกี่สี เด็กๆก็บอกว่ามีเจ็ดสี ผมเลยให้นับดู เด็กๆนับอย่างยากลำบากมากครับ เพราะจริงๆแล้วสีที่ออกมามันมีเยอะมาก มีหลายสีหลายเฉด แต่เราจำๆกันมาว่ามีเจ็ดสีเพราะเราตั้งชื่อสีมาเรียกสีต่างๆเหล่านี้แค่เจ็ดสีเท่านั้น Continue reading แสง สีรุ้ง ปริซึม การสะท้อนภายใน ใยแก้วนำแสง ปรับปรุงปืนลม →
Posts navigation
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)