วิทย์ประถม: สายลมคีบลูกโป่ง (Coandă effect)

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กประถมศูนย์การเรียนปฐมธรรมมาครับ เด็กๆหัดคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยพยายามอธิบายมายากลดาบเสียบไพ่ เราเล่นใช้สายลมเลี้ยงลูกโป่งและลูกปิงปองโดยใช้หลักการ Coanda ที่เริ่มรู้จักไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลในคลิปนี้ครับ เด็กๆดูกลก่อนแล้วพยายามอธิบายก่อนเฉลย คราวนี้เป็นกลดาบแทงไพ่ครับ:

กิจกรรมหัดอธิบายมายากลนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็น และหวังว่าเมื่อโตไปจะไม่ถูกหลอกง่ายๆครับ

นอกจากนี้ยังไม่คลิปโบนัสพิเศษเฉลยกลง่ายๆหลายอย่างให้เด็กๆดู:

สัปดาห์ที่แล้วเราก็ทำความรู้จักกับ Coandă effect คือการที่ของไหลเช่นน้ำหรือสายลมชอบวิ่งไปผิวเรียบๆของวัตถุ ถ้าวัตถุมีลักษณะโค้งๆคล้ายผิวลูกโป่ง สายน้ำหรือสายลมก็จะวิ่งโค้งไปตามผิวและวัตถุก็จะถูกดูดเข้าสู่สายน้ำหรือสายลมด้วย:

วันนี้เราเลยมาเล่นกับปรากฏการณ์นี้ โดยใช้สายลมจากเครื่องกรองอากาศเครื่องเป่าผมและเครื่องเป่าใบไม้มาเลี้ยงลูกโป่ง ลูกปิงปอง และลูกบอลชายหาดกัน

สายลมที่วิ่งไปตามผิวโค้งของลูกโป่ง (หรือลูกบอลอื่นๆ) จะ “หนีบ” หรือ “คีบ” ลูกโป่งไว้ ถ้าเราค่อยๆเปลี่ยนทิศทางลม ลูกโป่งก็จะถูกสายลมหนีบให้เปลี่ยนตำแหน่งตามด้วยครับ

ผมเคยถ่ายคลิปเชือกเส้นเล็กๆให้เห็นทิศทางของสายลมรอบๆลูกโป่งครับ:

ถ้าสายลมแรงพอ เช่นออกมาจากเครื่องอัดลมความดันสูง แรงลมสามารถ “คีบ” ไขควงให้ลอยอยู่ได้ด้วยครับ:

ในอดีตผมเคยอัดคลิปการเล่นประมาณนี้ไว้ที่ช่องเด็กจิ๋ว & ดร.โก้ด้วยครับ เด็กๆอาจจะชอบดู:

เด็กๆเล่นกันสนุกสนานครับ:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.