ลิงก์เรื่องการสังเคราะห์คลิปภาพยนต์และเสียงด้วย AI (ข่าวปลอม, DeepFakes)

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องการสังเคราะห์ภาพยนต์และเสียงด้วย AI เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ

สรุปคือ:

  1. เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีเปลี่ยนหน้าคนในวิดีโอ และเปลี่ยนเสียงให้เหมือนใครก็ได้ โดยที่คนส่วนใหญ่ดูหรือฟังไม่รู้ว่าเป็นคลิปที่ถูกสร้างขึ้น
  2. ที่ผ่านมาเทคโนโลยีอย่างนี้ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการแต่งภาพและสังเคราะห์เสียง ใช้สร้างภาพยนต์ที่นักแสดงเสียชีวิตไปแล้วหรือเพื่อลดวัยของนักแสดง (เช่น Forrest Gump, The Fast and the Furious 7, Rogue One: A Star Wars Story, ฯลฯ) ต้องลงทุนด้วยเงินและเวลาเป็นจำนวนมาก
  3. ในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา งานวิจัยด้าน AI เรียนรู้วิธีการแต่งภาพหน้าและสังเคราะห์เสียงจากตัวอย่างภาพและเสียงจนสามารถทำงานได้อัตโนมัติ ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญหรือทุนสูงๆ มีโปรแกรมสำเร็จรูปให้ดาวน์โหลดไปใช้ที่บ้าน
  4. โปรแกรมพวกนี้ทำงานโดยเอาตัวอย่างภาพหน้าคนมาสร้างแบบจำลองสามมิติเพื่อวาดทับไปบนหน้าคนอื่น สร้างแบบจำลองการขยับปากให้เข้ากับเสียงต้องการให้พูด เอาตัวอย่างเสียงมาสังเคราะห์ให้พูดเป็นคำต่างๆแต่มีลักษณะเหมือนผู้พูดต้นฉบับ
  5. เทคโนโลยีนี้มีประโยชน์ในการทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับคนด้วยเสียงเป็นธรรมชาติ สามารถสร้างนักอ่านข่าวสังเคราะห์ที่อ่านข่าวเป็นธรรมชาติ สร้างครูสังเคราะห์ในการสอน สร้างตัวละครต่างๆในภาพยนต์
  6. เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีนี้ประกอบอาชญากรรม เช่นปลอมเสียงให้โอนเงิน เปลี่ยนหน้าคนในคลิปอนาจาร สร้างคลิปใส่ร้ายคู่แข่งการเมือง ฯลฯ
  7. ประชาชนและสื่อควรตระหนักว่าสิ่งที่เห็นและได้ยินอาจเชื่อไม่ได้เสมอ ควรตรวจสอบให้ละเอียดมากขึ้น สื่อต่างๆควรจะคัดกรองการแพร่กระจายของสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นการปลอมแปลงเพื่ออาชญากรรมหรือไม่
  8. มีการวิจัยเทคโนโลยีตรวจสอบว่าคลิปถูกปลอมแปลงมาหรือไม่ ความสามารถเก่งกว่าคนส่วนใหญ่ แต่ทางฝ่ายปลอมแปลงก็พัฒนามากขึ้น เป็นการแข่งกันสองฝ่าย

ลิงก์น่าสนใจ:

ตัวอย่างคลิปต่างๆที่ r/GifFakes และ r/SFWdeepfakes

ซอฟท์แวร์ DeepFaceLab สำหรับเปลี่ยนหน้าคนในวิดีโอ

งานศิลปะ อ่านบทกวีด้วยหน้าและเสียงดาราดังต่างๆ:

ข่าวสรุปจาก CNN: When seeing is no longer believing

Google และ Facebook จะต่อสู้กับคลิปปลอมได้ไหม/อย่างไร:

นักวิจัยเชื้อชาติไทยคุยเรื่องนี้ที่ TED:

ปัญหาวิดีโอปลอมต่อสังคม:

ตัวอย่างงานวิจัยตรวจจับวิดีโอที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมา:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.