ลิงก์เรื่องการอยู่กับภัยธรรมชาติในญี่ปุ่น

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องการอยู่กับภัยธรรมชาติในญี่ปุ่น เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ

สรุปคือ:

  1. ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภัยธรรมชาติจำนวนมากเพราะเป็นเกาะกลางทะเลในบริเวณที่เปลือกโลกชนกันอยู่ มีภูเขาไฟมากกว่าร้อยลูก มีแผ่นดินไหวประมาณ 20% ของโลก มีพายุเข้าปีละเป็นสิบลูก
  2. เขาเรียนรู้จากประสบการณ์ที่สะสมมา ฝึกประชาชนตั้งแต่เด็กให้รู้จักและเข้าใจว่าต้องทำอะไรในสถานการณ์ต่างๆ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ส่วนบุคคลและต่อส่วนรวม
  3. มีระบบเตือนภัยต่างๆเช่นสถานีวัดความสั่นสะเทือนแผ่นดินกว่า 4,000 สถานีที่สามารถส่งคำเตือนให้ประชาชนปฏิบัติตามที่ฝึกมา หรือส่งข้อมูลให้หยุดรถไฟต่างๆที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหว (เนื่องจากยังไม่สามารถทำนายแผ่นดินไหวได้ จึงได้แต่ส่งคำเตือนล่วงหน้าไม่กี่วินาที่จนถึงไม่กี่สิบวินาที่ก่อนที่การไหวรุนแรงจะตามมาจากการเริ่มไหว) มีระบบติดตามพายุต่างๆด้วยดาวเทียมที่ทำงานร่วมกับนานาชาติเพื่อทำนายทิศทาง ความเร็วลม ปริมาณน้ำฝน ข้อมูลเตือนต่างๆเข้าถึงได้ง่ายผ่าน twitter และ app ของรัฐบาล
  4. มีมาตรฐานการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง ถนน และผังเมืองที่ออกแบบมาเพื่อรองรับภัยธรรมชาติต่างๆ เคร่งครัดในการบังคับใช้
  5. มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ เช่นเจาะชั้นดินดูการทับถมของทรายและโคลนเพื่อดูประวัติและขนาดสึนามิในอดีต มีการวิจัยธรรมชาติของแผ่นดินไหวและการขยับของเปลือกโลก ประดิษฐ์อุโมงค์ยักษ์ที่ทำหน้าที่เหมือนแม่น้ำใต้ดินลงไป 50 เมตรเพื่อช่วยระบายน้ำจากในเมืองออกทะเลให้เร็วขึ้น ฯลฯ

ลิงก์ที่น่าสนใจ:

วัฒนธรรมสู้ภัยธรรมชาติในญี่ปุ่น:

เรียนรู้ประวัติสินามิในอดีตจากชั้นดินและหินในฝั่ง:

อุโมงค์ยักษ์ใต้ดินระบายน้ำ (ดูภาพสวยๆที่นี่):

กันน้ำท่วมรถไฟใต้ดินด้วยดาวเทียม:

เรื่องภัยจากภาวะโลกร้อนโดยอาจารย์ธรณ์:

เว็บดูพายุต่างๆโดย NOAA

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.