วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องการขาดแคลนน้ำจืด เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ
สรุปคือ:
- แม้ว่าผิวโลกจะถูกปกคลุมด้วยน้ำถึงประมาณ 2/3 หรือ 70% แต่ปริมาณน้ำจริงๆไม่ได้มากมายอะไรเมื่อเทียบกับขนาดโลก มหาสมุทรมีความลึกเฉลี่ย 4 กิโลเมตร (ลึกสุดประมาณ 10 กิโลเมตร) ถ้าจำลองลูกโลกให้มีเป็นลูกกลมๆสูงเท่าๆกับคน มหาสมุทรจะลึกแค่ไม่ถึง 1 มิลลิเมตร
- น้ำ 97% เป็นน้ำเค็ม 2% เป็นน้ำแข็ง 1%เป็นน้ำจืดที่คน พืช สัตว์บกใช้ในการดำรงชีวิต
- จำนวนคนที่เพิ่มมากขึ้น มาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และฤดูกาลที่แปรปรวนจากภาวะโลกร้อนทำให้หลายๆแห่งบนโลกขาดแคลนน้ำจืด ในประเทศไทยยังไม่รุนแรงแต่เราไม่ควรประมาท
- น้ำจืดส่วนใหญ่ใช้ในการเกษตรกรรมปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ประมาณ 70% (ที่เหลือคือใช้ดื่ม ทำอาหาร ทำความสะอาด 10% ใช้ในอุตสาหกรรมพลังงาน 10% ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ 10%)
- ถ้าพัฒนาเกษตรกรรมให้มีประสิทธิภาพสูงจะแก้ปัญหาน้ำจืดไปได้มาก พัฒนาโดยการคัดเลือกพันธุ์พืชที่ใช้น้ำน้อย หรือเติบโตด้วยน้ำกร่อยน้ำเค็มได้ และทำการเกษตรใช้น้ำหยดอย่างที่หลายๆประเทศเช่นอิสราเอลทำ
- น้ำเสียน้ำทิ้งรวมถึงขยะเปียกสามารถจัดการแยกน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยหลายๆวิธีเช่นให้ดินและทรายช่วยกรอง หรือป้อนเข้าสู่โรงไฟฟ้าเผาขยะกลั่นน้ำและสร้างวัสดุก่อสร้างจากซาก หรือใช้พืชต่างๆช่วยกรองเช่นที่โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- การสร้างแหล่งเก็บน้ำขนาดเล็กกระจายทั่วไปก็ช่วยกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้และเติมระดับน้ำบาดาลใต้ดิน
- ลดการกินสัตว์ กินพืชให้มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่แต่ละคนทำได้และมีผลกับการใช้น้ำจืดในเกษตรอุตสาหกรรม
- มีเทคโนโลยีเปลี่ยนน้ำเค็มเป็นน้ำจืด (อิสราเอล สิงคโปร์ สหรัฐใช้ในเชิงอุตสาหกรรมแล้ว) หลักการจะเหมือนเครื่องกรองน้ำ RO ตามบ้าน แต่ใหญ่ขึ้นเป็นโรงงาน กรณีที่ดีสุดตามทฤษฎี(ด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่)ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างน้อยประมาณ 1 กิโลวัตต์ชั่วโมงเพื่อสร้างน้ำจืด 1 ลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อทำจริงๆใช้ประมาณ 3-5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อน้ำจืด 1 ลูกบาศก์เมตร ถ้าใช้พลังงานหมุนเวียนเช่นจากแสงอาทิตย์เพื่อการนี้ได้จะดีมาก
ลิงก์ที่น่าสนใจ:
โครงการแหลมผักเบี้ยบำบัดน้ำเสีย:
การสูบน้ำบาดาลมาใช้มากๆทำให้แผ่นดินทรุด เช่นที่เมืองเม็กซิโกซิตี้:
ตัวอย่างวิธีเติมน้ำใต้ดิน (แต่จริงๆอาจจะไม่ต้องทำแบบนี้เพราะผลลัพธ์อาจไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษา):
ตัวอย่างโรงงานไฟฟ้าขยะที่สร้างน้ำจืดและวัสดุก่อสร้าง:
อีกตัวอย่างโรงงานสร้างน้ำจืดจากขยะครับ:
มูลนิธิ Solar Impulse ที่เกี่ยวกับเรื่องขาดแคลนน้ำ
วิธีที่อิสราเอลจัดการเรื่องขาดแคลนน้ำ
วิธีที่สิงคโปรจัดการเรื่องขาดแคลนน้ำ