ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมหัดคิดแบบวิทย์โดยพยายามอธิบายมายากล เด็กประถมต้นได้เล่น “รถไฟเหาะ” โดยปล่อยลูกแก้วใส่สายรดน้ำต้นไม้ที่ขดเป็นวง เด็กประถมต้นได้ดูกระดิ่งแฟรงคลิน (Franklin’s bell) ที่ทำจากกระป๋องโลหะและไม้ชอร์ตยุง เด็กอนุบาลสามได้เล่นลูกโป่งที่ถูกสายลมคีบเอาไว้ครับ
(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ กิจกรรมประถมคราวที่แล้วเรื่อง “เล่นฝูงลูกโป่ง (Coandă effect)” ครับ ลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)
ก่อนอื่นเด็กประถมได้ดูมายากลนี้ครับ ดูเฉพาะตอนแรกที่เป็นกล ยังไม่ดูส่วนเฉลยตอนหลัง แล้วดูเฉลยหลังจากได้พยายามคิดพยายามอธิบายว่ากลแต่ละกลทำอย่างไรกันก่อนครับ กลวันนี้คือเสกผู้หญิงสองคนให้ออกมาจากกล่องใส:
กิจกรรมนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ครับ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็นครับ
สำหรับเด็กประถมต้น ผมให้เล่นของเล่นรถไฟเหาะจำลองครับ เอาสายพลาสติกใสมาสมมุติว่าเป็นราง เอาลูกแก้วมาสมมุติว่าเป็นรถไฟ แล้วปล่อยลูกแก้วในสายพลาสติกจากที่สูงๆ เด็กๆสังเกตว่าลูกแก้วจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเมื่อตกลงสู่ที่ต่ำ (สำหรับเด็กโตๆหน่อยจะอธิบายว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานศักย์เป็นพลังงานจลน์ สำหรับเด็กประถมต้นจะไม่อธิบายอะไรลึกครับ แค่ให้สังเกตว่าของตกลงมาจะมีความเร็ว ผมเคยบันทึกคำอธิบายที่ละเอียดขึ้นอยู่ที่ “จำลอง “รถไฟเหาะ” การเปลี่ยนรูปพลังงานระหว่างศักย์และจลน์” ครับ)
คลิปสโลโมชั่นที่เคยถ่ายไว้ครับ:
เด็กๆเล่นกันสนุกสนานครับ:
สำหรับเด็กๆประถมปลาย ผมให้ดูของเล่นที่เรียกว่าระฆังของแฟรงคลินหรือ Franklin’s bell กันครับ คลิปวิธีทำเป็นดังนี้:
ผมเคยเขียนรายละเอียดการทำงานของไม้ชอร์ตยุง ทำไมมันถึงเหมือนฟ้าผ่าจิ๋ว และการทำงานของ Franklin’s bell ไว้ที่หน้า “ดูวิดีโอแขนขาไฟฟ้าเทียม ไม้แปะยุง=ฟ้าผ่าจิ๋ว กลจากไฟฟ้าสถิต” นะครับ ถ้าสนใจเชิญดูได้ครับ
สำหรับเด็กอนุบาลสามทับสาม บ้านพลอยภูมิ ผมให้เด็กๆปล่อยลูกโป่งเหนือพัดลมที่พัดขึ้นครับ ลมจะคีบลูกโป่งไว้ด้วยปรากฎการณ์ควานด้า (Coandă effect) คือเวลาลมหรือน้ำไหลไปตามผิวโค้งนูน มันจะวิ่งไปตามผิวโค้ง ไม่ชนแล้วกระเด้งออกมาครับ ถ้าวัตถุมีลักษณะโค้งนูนคล้ายผิวลูกโป่ง สายน้ำหรือสายลมก็จะวิ่งโค้งไปตามผิวและวัตถุก็จะถูกดูดเข้าสู่สายน้ำหรือสายลมด้วย เวลาเราเอาลูกโป่งไปวางเหนือพัดลมที่เป่าขึ้น สายลมจึง “คีบ” ลูกโป่งไว้ได้ครับ
ในอดีตผมเคยอัดคลิปการเล่นประมาณนี้ไว้ที่ช่องเด็กจิ๋ว & ดร.โก้ด้วยครับ เด็กๆอาจจะชอบดู:
One thought on ““รถไฟเหาะตีลังกา”, กระดิ่งแฟรงคลิน, ลมคีบลูกโป่ง”