เรียนรู้เรื่องการปั่นไฟ

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้หัดคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยพยายามอธิบายมายากล จากนั้นได้เรียนรู้เรื่องการสร้างไฟฟ้าโดยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กกับขดลวดครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมต่างๆอยู่ที่นี่นะครับ กิจกรรมประถมคราวที่แล้วเรื่อง “ต่อแบตเตอรี่แบบอนุกรมและขนาน เล่นกับ LED และมอเตอร์” ครับ รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กประถมได้ดูมายากลเหล่านี้ครับ ดูเฉพาะตอนแรกที่เป็นกล ยังไม่ดูส่วนเฉลยตอนหลังนะครับ ไว้ดูเฉลยหลังจากได้พยายามคิดพยายามอธิบายว่ากลแต่ละกลทำอย่างไรกันก่อนครับ อันแรกคือกลทำให้กระป๋องบุบๆพองออก:

อีกอันคือเสกให้แบงค์ลอยครับ:

กิจกรรมนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ครับ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็นครับ

ต่อจากนั้นเด็กๆได้ฟังเรื่องการผลิตไฟฟ้าแบบต่างๆ แบบหลักๆก็คือการทำให้ขดลวดและแม่เหล็กเคลื่อนที่ผ่านกันแล้วจะมีกระแสไฟฟ้าไหลในขดลวด การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ พลังลม พลังน้ำมัน พลังก๊าซ และพลังนิวเคลียร์จะอยู่ในตระกูลนี้ คือจะใช้น้ำหรือลมไปทำให้ตัวปั่นไฟฟ้า (dynamo สำหรับไฟฟ้ากระแสตรง หรือ alternator สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ) ที่มีแม่เหล็กและขดลวดหมุน ส่วนพลังน้ำมัน พลังก๊าซ พลังนิวเคลียร์จะทำหน้าที่สร้างความร้อนไปต้มน้ำให้เป็นไอไปหมุนเครื่องปั่นไฟอีกที การผลิดไฟฟ้าอีกแบบที่ไม่ใช้ตัวปั่นไฟก็คือใช้สารกึ่งตัวนำมากระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อปล่อยไฟฟ้าออกมาเช่นแผ่นโซลาร์เซลล์ การผลิตกระแสไฟฟ้ายังมีแบบอื่นๆอีกแต่ที่ผลิดเยอะๆก็จะเป็นแบบปั่นไฟและแบบโซลาร์เซลล์ครับ

จากนั้นเด็กๆก็ได้ทดลองขยับแม่เหล็กผ่านขดลวดที่ติดกับไฟ LED ครับ เนื่องจากไฟ LED จะสว่างเมื่อไฟฟ้าไหลในทิศทางที่ถูกต้องเท่านั้น เด็กๆจะเห็นไฟสว่างเมื่อแม่เหล็กวิ่งเข้าไปในขดลวด หรือตอนแม่เหล็กออกมาจากขดลวดเท่านั้น แต่ถ้าเรากลับขั้วแม่เหล็กไฟก็จะสว่างสลับกับแบบเดิม

เด็กๆได้ทดลองกันเองครับ:

จากนั้นผมก็เอามอเตอร์กระแสตรงออกมาเอามือหมุนให้เด็กๆดู ปรากฎว่าถ้าเราเอาหมุนมอเตอร์ มันจะทำหน้าที่เป็นไดนาโมปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาได้ครับ เราเอาไฟ LED ต่อให้สว่างได้:

จากนั้นเด็กๆก็ทดลองเล่นกันเองครับ ผมให้เด็กๆดูบางส่วนของคลิปนี้ให้เห็นว่าข้างในมอเตอร์/ไดนาโมมีขดลวดและแม่เหล็กอย่างไรด้วยครับ:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.