อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ
ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ
(คราวที่แล้วเรื่อง “จักรยานปั่นไฟ เสียงจากการเสียดสี อากาศจอมพลัง ลูกข่างไจโร ลูกโป่งจับปีศาจ” ครับ)
วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ คราวนี้ผมเอาหลอดฉีดยาพลาสติ
เนื่องจากวันพฤหัสสัปดาห์ที่แล้วเด็กๆปฐมธรรมได้ร่วมกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์กับอาจารย์สิทธิโชค มุกเตียร์ และกิจกรรมหนึ่งที่เด็กๆชอบมากคือเรียนรู้เรื่องของไหลผ่านหลอดฉีดยา โดยได้เอาหลอดฉีดยาสองหลอดมาต่อกันด้วยท่อพลาสติกโดยหลอดหนึ่งติดกับตุ๊กตารูปสัตว์ที่ขยับตัวได้เมื่อเด็กๆกดอีกหลอด ผมจึงทำกิจกรรมต่อให้เด็กๆครับ (อาจารย์สิทธิโชคมีกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่น่าสนใจมากสำหรับเด็กๆครับ แนะนำให้ติดต่ออาจารย์และเข้าไปดูเว็บอาจารย์นะครับ)
สำหรับเด็กประถมผมมีกิจกรรมดังนี้ครับ:
1. เอาหลอดฉีดยาต่อกันด้วยท่อพลาสติก แล้วกดหลอดหนึ่งให้อีกหลอดหนึ่งขยับตัว เปรียบเทียบระหว่างมีแต่อากาศในหลอดฉีดยา และแบบมีแต่น้ำในหลอดฉีดยา ให้เด็กๆสังเกตความเร็วในการขยับตัว และให้สังเกตว่าเรากดพร้อมกันสองหลอดได้ไหม (ถ้าใส่อากาศไว้จะกดได้ ถ้าใส่น้ำไว้จะกดไม่ได้) ให้เด็กๆลองเดาว่ามันต่างกันเพราะอะไร อากาศกับน้ำต่างกันอย่างไรเราถึงเห็นสิ่งที่เราเห็น ในที่สุดเด็กๆก็บอกว่าอากาศเปลี่ยนขนาดได้แต่น้ำไม่เปลี่ยน
2. ผมเอาหลอดฉีดยาขนาดใหญ่สูบอากาศให้เต็ม ต่อท่อกับหลอดขนาดเล็ก แล้วกดหลอดใหญ่ให้อากาศไปดันก้านหลอดเล็กให้กระเด็นออกไปพร้อมกับเสียงป๊อปเหมือนในวิดีโอนี้ครับ:
4. ผมให้เด็กๆลองเอาหลอดสูบอากาศให้เต็มแล้วอุดปลายหลอด แล้วพยายามกดให้ก้านหลอดเข้าไป เปรียบเทียบกับอีกแบบที่สูบน้ำให้เต็มหลอด อุดปลายหลอด แล้วกด เด็กๆก็พบว่าเขาสามารถอัดอากาศให้เล็กลงได้ แต่ไม่สามารถอัดให้น้ำเล็กลง
5. ทำแม่แรงจำลอง โดยผมเอาหลอดฉีดยาขนาดเล็กสูบน้ำให้เต็ม เอาท่อพลาสติกจุ่มในน้ำให้น้ำเต็มท่อ แล้วต่อกับหลอดฉีดยาขนาดเล็กที่มีน้ำเต็ม ไล่ฟองอากาศเพื่อให้มีแต่น้ำในหลอดฉีดยาและท่อพลาสติก แล้วเอาหลอดขนาดใหญ่มาต่อกับท่อ แล้วให้เด็กๆทดลองกดหลอดทั้งสองไปมา ให้เปรียบเทียบแรงทั้งสองข้างครับ
6. สำหรับเด็กประถมปลาย ก่อนเล่นหลอดฉีดยา ผมให้ดูคลิปตู้ปลาคอนโดที่ทำงานด้วยแรงดันอากาศเหมือนที่เราทำการทดลองตัดขวดพลาสติกในสัปดาห์ที่แล้วด้วยครับ:
7. เด็กๆประถมปลายได้ทำกิจกรรมเหมือนเด็กประถมต้น (กิจกรรม 1-5) แต่สำหรับกิจกรรมแม่แรง ผมอธิบายเรื่องความดันด้วยครับว่าคือแรงต่อพื้นที่ เวลาเรามีหลอดขนาดต่างกันใส่น้ำไว้ พอกดหลอดหนึ่ง ความดันมันส่งผ่านน้ำไปอีกหลอดหนึ่งทำให้สามารถเป็นตัวคูณแรงได้ถ้าพื้นที่หน้าตัดของหลอดหนึ่งใหญ่กว่าอีกหลอดหนึ่ง ผมให้เด็กๆกดหลอดเล็กขณะที่ผมกดหลอดใหญ่สู้กัน ซึ่งเด็กๆก็ชนะผมได้ครับ
สำหรับเด็กอนุบาลสาม ผมทำกิจกรรมจรวดหลอดฉีดยาแบบกิจกรรมหมายเลข 2 ข้างต้น กิจกรรมดึงหลอดฉีดยาแบบหมายเลข 3 และทำกิจกรรมแม่แรงแบบกิจกรรมหมายเลข 7 โดยกดสู้กับผม ผมใช้นิ้วโป้งกด เด็กๆใช้มือสองมือกด ทำให้เด็กๆชนะผมได้ทุกคนครับ
ต่อไปนี้คือบรรยากาศและบันทึกการเรียนรู้ของเด็กๆครับ อัลบั้มเต็มอยู่ที่นี่นะครับ
If some one wishes expert view about running a blog
then i propose him/her to visit this webpage, Keep up the good job.