อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ
ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ
(คราวที่แล้วเรื่อง “ห้ามดับไฟน้ำมันด้วยน้ำ โค้ก vs. ลาวา “ลูกโป่งจับปีศาจ” พัดลมน้ำระเหย” ครับ)
วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมต้นได้ดูวิดีโอคลิ
สำหรับเด็กประถมต้น ก่อนอื่นผมให้ดูวิดีโอนี้ครับ:
จะเห็นได้ว่ากล้ามเนื้อคนมาทำงานผลิตไฟฟ้าได้ไม่เยอะนะครับ ขนาดนักกีฬาโอลิมปิกยังเหนื่อยมากๆเลย เราถึงต้องประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงและเครื่องจักรกลทั้งหลายมาช่วยเราครับ
จากนั้นเด็กๆประถมต้นก็ได้เอาวัสดูเล็กๆต่างๆที่เตรียมมาจากบ้าน เช่น หัวน็อต ลูกปัด ลูกแก้ว ตุ๊กตาพลาสติกกลมๆเล็กๆ เมล็ดถั่วต่างๆ ใส่เข้าไปในลูกโป่งแล้วผมก็สูบลมเข้าให้โป่งและมัดกันอากาศออก เด็กๆเอาลูกโป่งไปแกว่งให้วัสดุข้างในกลิ้งหรือกระเด้งไปตามผนังภายในของลูกโป่ง และสังเกตเสียงที่แตกต่างกัน ผมให้เด็กๆสังเกตและเดาว่าทำไมเสียงถึงแตกต่างกัน แต่ผมยังไม่เฉลยอะไรครับ อยากให้เด็กๆพยายามฝึกสังเกตและตั้งสมมุติฐานต่างๆกัน จะได้ชินกับการพยายามหาความรู้เอง ไม่รอฟังจากครูเท่านั้นครับ
สำหรับเด็กประถมปลาย ผมให้ทำกิจกรรมให้ความรู้สึกว่าแรงดันอากาศมันเยอะแค่ไหนให้เขาซึมซับกันครับ ก่อนอื่นผมก็เอาหลอดฉีดยาขนาดใหญ่มาให้เด็กๆดึงก้านไปมาครับ ตอนที่ผมไม่อุดหัวหลอดฉีดยา ก้านจะขยับได้ง่ายมาก แต่ถ้าผมปิดหัวไม่ให้อากาศผ่าน ก้านจะขยับได้ยากมาก
ปกติที่ผิวโลก แรงดันอากาศจะมีค่าประมาณเท่ากับน้ำหนักสิบตันต่อตารางเมตร หรือประมาณหนึ่งกิโลกรัมต่อตารางเซ็นติเมตร ขนาดหน้าตัดของเข็มฉีดยามีพื้นที่ประมาณ 5 ตารางเซ็นติเมตร ดังนั้นแรงดันอากาศที่เด็กๆต้องต่อสู้ด้วยมีขนาดประมาณ 5 กิโลกรัมเลยครับ
จากนั้นผมก็เอาขวดพลาสติกมาตัดดังในคลิปข้างล่างครับ น้ำคงอยู๋ในขวดได้เพราะแรงดันอากาศดันไว้ครับ:
ต่อไปผมก็เอาแก้วใส่น้ำคว่ำบนตะแกรงแต่น้ำไม่ไหลออกครับ วิธีการทำจะเป็นดังคลิปนี้:
ถ้าเราแทนแก้วด้วยแก้วที่ถูกเจาะรู (ในห้องผมใช้กระบอกฉีดยาครับ) น้ำจะไม่สามารถคงอยู่ในแก้วได้ แสดงว่าแรงที่พยุงน้ำให้อยู่ในแก้วส่วนใหญ่คือแรงดันอากาศภายนอกแก้วที่มีแรงมากพอที่จะพยุงน้ำหนักของน้ำได้ครับ ส่วนแรงตึงผิวของน้ำที่ตะแกรงมันทำหน้าที่รักษาผิวของน้ำให้อากาศออกแรงดันไว้ได้
เด็กๆได้ทดลองตัดขวดตัวเองตามที่ต่างๆของขวดตามใจครับ ดูว่าตัดแบบไหนกักเก็บน้ำได้บ้าง
สำหรับเด็กอนุบาลสามห้อง 3/2 เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วไม่ได้เล่นลูกข่างไจโรและลูกโป่งจับปีศาจที่ห้อง 3/1 เล่น ผมจึงเอาไปให้เล่นกันครับ หลักการทำงานบันทึกไว้ที่นี่นะครับ
ต่อไปนี้คือบรรยากาศและบันทึกการเรียนรู้ของเด็กๆครับ อัลบั้มเต็มอยู่ที่นี่นะครับ
One thought on “จักรยานปั่นไฟ เสียงจากการเสียดสี อากาศจอมพลัง ลูกข่างไจโร ลูกโป่งจับปีศาจ”