แป้งที่เป็นคาร์โบไฮเดรตทั้งหลาย มีพลังงานสะสมในตัวเยอะ ร่างกายเราถึงใช้เป็นอาหาร ปกติจะติดไฟยากหน่อยเพราะโมเลกุลแป้งไม่ค่อยโดนล้อมด้วยออกซิเจน ถ้าเป่าผงแป้งให้ฟุ้งๆให้ผสมกับอากาศที่มีออกซิเจนอยู่จะติดไฟง่ายดังในวิดีโอคลิปต่อไปนี้ครับ ถ้าจะเล่นให้ระมัดระวังไฟจะไหม้นะครับ ต้องมีผู้ใหญ่ที่ดับไฟเป็นอยู่ใกล้ๆด้วย:
ของแข็งที่เป็นผงๆและมีพลังงานเยอะ (คือพวกที่เราใช้เป็นอาหารหรือเชื้อเพลิงเช่นน้ำตาลหรืดถ่านหิน) สามารถติดไฟได้ง่ายๆอย่างนี้เมื่อฟุ้งผสมกับอากาศครับ คลิปนี้คืออุบัติเหตุโรงงานน้ำตาลระเบิดจากเหตุนี้ครับ:
อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ
ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ
(คราวที่แล้วเรื่อง “ดูปล่อยยาน Orion ถ่ายภาพ Time-lapse รวมคลื่น สนุกกับที่ปั๊มส้วม” ครับ)
วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมได้ดูคลิปคนติดปีกมีเครื่องยนต์ทำให้บินได้ (Jetman) ได้ดูภาพเปรียบเทียบขนาดของยานอวกาศและจรวดต่างๆ ได้ดูของเล่นจรวดอัดลมจากร้านไดโซะเพื่อเข้าใจความดันในการขับดัน เด็กประถมต้นได้สังเกตการหดและขยายตัวของอากาศในขวดพลาสติกปิดแน่นและขวดโหลแก้วปิดด้วยฟิล์มพลาสติกเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง เด็กประถมปลายได้ประดิษฐ์จรวดเชื้อเพลิงแข็งจากหัวไม้ขีดไฟ ฟอยล์อลูมิเนียม และไม้เสียบลูกชิ้น เด็กอนุบาลสามได้เรียนรู้เรื่องการระเหยของแอลกอฮอล์บนแขนจะดูดความร้อนจากแขนทำให้รู้สึกเย็น และได้สังเกตุการขยายและหดตัวของอากาศในขวดพลาสติกปิดแน่น
สำหรับเด็กประถม ผมให้ดูคลิปวิดีโอนี้ก่อนครับ: Continue reading จรวดเชื้อเพลิงแข็ง! อากาศขยายตัวหดตัวตามความร้อนเย็น →
อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ
ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ
(คราวที่แล้วเรื่อง “วิดีโอเร็วและช้า (Time-lapse & Slow Motion)” ครับ)
วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมได้ดูวิดีโอการส่งยาน Orion เข้าสู่อวกาศ เด็กประถมต้นได้หัดถ่ายภาพยนต์แบบ Time-lapse ด้วยโปรแกรม iMotion เด็กประถมปลายได้สังเกตการรวมกันของคลื่นในสปริงและคลื่นเสียง เด็กอนุบาลสามได้เล่นสูญญากาศกับที่ปั๊มส้วม (ที่ไม่เคยใช้) ครับ
ก่อนอื่นเด็กประถมได้ดูการทดสอบปล่อยยานอวกาศโอไรออน (Orion) ด้วยจรวดเดลต้า 4 เฮฟวี่ (Delta IV Heavy) ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมาครับ: Continue reading ดูปล่อยยาน Orion ถ่ายภาพ Time-lapse รวมคลื่น สนุกกับที่ปั๊มส้วม →
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)