Category Archives: มัธยม

วิทย์ม.ต้น: สั่งให้คอมพิวเตอร์แยกตัวประกอบให้จะได้ไม่เหนื่อย (Factors และ Prime Factorization)

ผมให้แบบฝึกหัดเด็กม.ต้นที่หัดเขียนโปรแกรมไพธอนโดยให้กลับไปคิดและเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาที่ต้องทำด้วยมือในวิชาคณิตศาสตร์กันครับ ถ้าสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ก็แสดงว่าเข้าใจหลักการต่างๆแล้ว นอกจากนี้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาใหญ่ๆที่เราทำด้วยมือไม่ไหวด้วย

คราวนี้ให้เด็กๆไปเขียนโปรแกรมกันว่าตัวเลขใดๆมีตัวประกอบอะไรบ้าง เด็กๆก็ทำได้นะครับ คือสั่งให้คอมพิวเตอร์ไล่หารไปเรื่อยๆถ้าหารลงตัวก็เป็นตัวประกอบ

สัปดาห์ต่อมาผมก็เฉลยในห้อง และแนะนำเด็กๆว่าเวลาเราไล่หารไปเรื่อยๆเราหยุดแถวๆสแควรูทของตัวเลขก็ได้ จะประหยัดเวลาไปได้หลายเท่าถ้าตัวเลขใหญ่

มีอย่างหนึ่งที่ผมไม่ได้พูดในห้องแต่ใส่ไว้โค้ดสำหรับคำนวณคือเลขจำนวนนับตั้งแต่สองขึ้นไปจะเป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่ก็เป็นผลคูณของจำนวนเฉพาะได้แบบเดียวเท่านั้น (ถ้าไม่นับการสลับที่ต่างๆ) ความจริงอันนี้เรียกว่า Fundamental theorem of arithmetic ครับ

ผมบันทึกตัวอย่างเหล่านี้ไว้ให้เด็กๆและผู้สนใจเข้ามาดูทบทวนโดยสามารถโหลด Jupyter Notebook ได้ที่นี่ หรือดูออนไลน์ได้ที่นี่นะครับ

วิทย์ม.ต้น: The Problem with Average, ขั้นตอนสำคัญในประวัติศาสตร์สิ่งมีชีวิต

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง the problem with average จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ที่ข้อมูลหลายๆอย่างจะมีลักษณะกระจายตัวแบบ power law ที่ข้อมูลไม่กี่ตัวมีขนาดใหญ่กว่าที่เหลือมากๆจนไม่ควรนำมาหาค่าเฉลี่ยเพราะจะทำให้เข้าใจผิด เด็กๆควรจะสร้างฮิสโตแกรมดูว่าข้อมูลกระจายตัวแบบไหนก่อน เป็นกลุ่มก้อนหน้าตาเหมือนระฆังคว่ำ หรือกระจายตัวแบบอื่นๆเช่น power law

เราควรเรียนรู้การใช้โปรแกรมให้สร้างฮิสโตแกรมให้เรา เช่นหาดูว่าคำสั่งให้ Excel สร้างฮิสโตแกรมทำอย่างไร หรือในภาษาไพธอนใช้คำสั่งอะไร

จากนั้นเราก็คุยกันเรื่องสิ่งมีชีวิตและขบวนการวิวัฒนาการต่อ เป็นส่วนหนึ่งของ  threshold 5 ของ Big History Project ครับ

From chemicals to consciousness:

What is Life?

วิทย์ม.ต้น: Contagion Bias, ระยะทางในอวกาศ, กำเนิดสิ่งมีชีวิต

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง contagion bias จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli  ที่คนเรามักให้ความสำคัญกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เราชอบหรือเกลียดทั้งๆที่ไม่ควรจะให้ความสำคัญ

จากนั้นเด็กได้ดูเว็บ If the Moon is Only One Pixel: A Tediously Accurate Scale Model of the Solar System เพื่อให้ซาบซึ้งระยะทางระหว่างดาวเคราะห์ในระบบสุริยะและความกว้างใหญ่ไพศาลของอวกาศ

เด็กๆได้ดูคลิปเปรียบเทียบความเร็วแสงเมื่อต้องเดินทางระหว่างดวงดาวดังนี้ครับ:

ผมเล่าเรื่องเกี่ยวกับการเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตและขบวนการวิวัฒนาการนิดหน่อยเป็นส่วนหนึ่งของ threshold 5 ของ Big History Project ครับ

คลิปเกี่ยวกับการเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตที่เข้าใจง่ายครับ:

ถ้ามีเวลาเด็กๆควรลองอ่าน overview เรื่องการเกิดสิ่งมีชีวิตดูที่นี่ และลองรีวิวเรื่องการวิวัฒนาการที่เคยบันทึกไว้ครับ