ไฟฟ้าสถิตย์สำหรับเด็กอนุบาล 2+3 และเด็กประถม 1+2+3


(คราวที่แล้วเรื่องยกของด้วยถุงลมและกลหลอกพ่อแม่อยู่ที่นี่ครับ)

 
วันนี้เป็นวันอังคารผมเข้าไปทำการทดลองวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและเด็กๆอนุบาล 2 และ 3 โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ ในวันนี้เราทำการทดลองเรื่องเดียวกันเรื่องไฟฟ้าสถิตย์ เนื่องจากเด็กๆประถมจะเริ่มเรียนเรื่องไฟฟ้าและการใช้ประโยชน์
 
ก่อนอื่นผมบอกเด็กประถมว่าเราเป็นมนุษย์ไฟฟ้า เพราะการส่งสัญญาณในร่างกายของเราต้องใช้สัญญาณทางไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นเวลาเราจะหายใจ สมองก็จะส่งสัญญาณ(ไฟฟ้า)มาทางเส้นประสาทไปทำให้กระบังลมหดตัวคลายตัว เราถึงหายใจได้ หรือที่หัวใจเต้นก็เพราะมีสัญญาณ(ไฟฟ้า)บอกให้กล้ามเนื้อหัวใจเต้น หรือการที่เรารู้สึกร้อนเย็นเจ็บคันที่ผิวหนังก็เพราะมีสัญญาณไฟฟ้าวิ่งจากผิวหนังผ่านเส้นประสาทไปยังสมอง

Continue reading ไฟฟ้าสถิตย์สำหรับเด็กอนุบาล 2+3 และเด็กประถม 1+2+3

ยกของหนักด้วยอากาศสำหรับป. 1+2+3 กลหลอกพ่อแม่สำหรับอนุบาล 2+3


(คราวที่แล้วเรื่องความเร็วและแรงดันอากาศอยู่ที่นี่ครับ)
 

เมื่อวานเป็นวันอังคาร ผมเข้าไปที่โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิเพื่อทำการทดลองวิทยาศาสตร์กับเด็กๆประถมของกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม และเด็กอนุบาล 2 และ 3

สำหรับเด็กประถม ผมแสดงว่าเราใช้ถุงพลาสติกยกของหนักๆได้อย่างไร เริ่มด้วยการถามเด็กๆว่าเราจะยกหนังสือด้วยการเป่าได้ไหม เด็กๆก็เสนอว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง ตั้งแต่การเป่าจากด้านบนให้ความดันด้านบนต่ำหนังสือจะได้ลอย สามัคคีกันเป่า หรือวางหนังสือไว้ขอบโต๊ะแล้วเป่า

Continue reading ยกของหนักด้วยอากาศสำหรับป. 1+2+3 กลหลอกพ่อแม่สำหรับอนุบาล 2+3

ความเร็วและแรงดันอากาศสำหรับเด็กป. 1+2+3


(คราวที่แล้วเรื่องยกของหนักด้วยคานที่นี่)

สัปดาห์นี้่โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิมีงานนิทรรศการภูมิผลิใบ ที่ให้คุณพ่อคุณแม่เข้าไปชมผลงานและการแสดงของระดับชั้น เตรียมอนุบาล อนุบาล 1, 2, และ 3 ผมจึงไม่ได้แสดงการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล ได้แต่ทำการทดลองกับเด็กกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม
 
วันนี้เราทำการทดลองเกี่ยวกับความเร็วในการไหลของอากาศและความดันอากาศ โดยธรรมชาติของอากาศนั้น ถ้าอากาศไหลเร็วบริเวณไหน ความดันอากาศบริเวณนั้นจะต่ำลง ไม่ใช่สูงขึ้นอย่างที่คนส่วนใหญ่คิด

Continue reading ความเร็วและแรงดันอากาศสำหรับเด็กป. 1+2+3

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)