เรียนรู้เรื่องนาฬิกาลูกตุ้มและของเล่นเครื่องร่อน

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องการหมุนและแรงดันอากาศอยู่ที่นี่ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องนาฬิกาและลูกตุ้มสำหรับเด็กกลุ่มบ้านเรียน และทำเครื่องร่อนจากหลอดกาแฟและกระดาษสำหรับเด็กอนุบาลสามบ้านพลอยภูมิครับ

ผมเริ่มด้วยการถามเด็กๆว่าใครรู้บ้างว่าเวลาคืออะไร ทุกคนก็อึ้งกันไปหมด รวมทั้งผมด้วย คือพวกเรารู้ว่าเราใช้นาฬิกาและเครื่องมือต่างๆวัดเวลาได้ แต่ตัวเวลาจริงๆคืออะไรเราไม่รู้แน่ๆ ผมเคยอ่านตอนผมเป็นเด็กว่า “เวลาเป็นสิ่งที่กันไม่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆกัน” (“Time… is what keeps everything from happening at once”) และผมก็ไม่มีคำจำกัดความอื่นๆที่ผมชอบกว่า (แต่อีกอันที่ผมชอบเหมือนกันคือ “Time is the school in which we learn, Time is the fire in which we burn.” มันทำให้เราเห็นถึงความไม่จีรังของเราดีครับ 🙂 )

ผมบอกเด็กๆว่าเมื่อประมาณร้อยปีที่แล้วมีนักวิทยาศาสตร์พบว่าเวลากับระยะทางเป็นของที่เกี่ยวข้องกันสามารถผสมกันได้ สิ่งที่คนหนึ่งเรียกว่าเวลาอีกคนอาจเรียกว่าเป็นระยะทางก็ได้ ทำให้เรางงเมื่อเราพยายามตอบคำถามว่าเวลาคืออะไร ผมถามว่าเด็กๆรู้ไหมว่านักวิทยาศาสตร์คนนั้นชื่ออะไร เด็กๆก็ตอบว่า นิวตัน ผมบอกว่า นิวตันอยู่เมื่อสามร้อยกว่าปีมาแล้ว เด็กๆบอกว่า กาลิเลโอ ผมก็บอกว่ากาลิเลโออยู่เมื่อสี่ร้อยกว่าปีมาแล้ว เด็กๆเลยบอกว่าถ้างั้นเป็นไอน์สไตน์ก็แล้วกัน ผมก็บอกว่าถูกต้อง ไอน์สไตน์ค้นพบว่าธรรมชาติทำงานอย่างไรและส่วนหนึ่งที่เขาพบก็คือเวลาและระยะทางมีความเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีสัมพัทธภาพของเขา

เนื่องจากเราทุกๆคนไม่รู้ว่าจะบอกว่าเวลาคืออะไร เราจึงข้ามไปก่อนและคุยกันว่าเราวัดเวลาอย่างไร เด็กๆก็ตอบกันใหญ่ว่าใช้นาฬิกา ผมก็ถามเด็กๆว่าใครรู้บ้างว่านาฬิกาทำงานอย่างไร ทุกคนก็บอกว่าไม่รู้ ผมจึงบอกเด็กๆว่ามนุษย์เรามีวิธีวัดเวลาหลายอย่าง เด็กๆรู้จักวิธีไหนบ้าง เด็กๆก็ตอบได้ว่าดูว่าดวงอาทิตย์อยู่ตรงไหน ผมบอกว่าใช่แล้ว เรารู้เวลาได้จากการดูตำแหน่งของดวงอาทิตย์ แล้วผมก็ถามเด็กๆว่าทำไมเราถึงเห็นดวงอาทิตย์เปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆล่ะ เด็กๆก็ตอบได้อีกว่าเพราะโลกหมุน ผมถามว่าโลกหมุนเร็วแค่ไหน หนึ่งรอบนานเท่าไร เด็กๆก็บอกว่าหนึ่งวัน 24 ชั่วโมง ผมเสริมว่าหนึ่งวันเคยสั้นกว่านี้เพราะเมื่อก่อนโลกหมุนเร็วกว่านี้ จากการเรียนสัปดาห์ที่แล้วเรารู้ว่าถ้าอะไรหมุนอยู่ มันจะหมุนไปเรื่อยๆเหมือนเดิมนอกจากจะมีอะไรมาบิดให้การหมุนเปลี่ยนไป ดังนั้นต้องมีอะไรมาบิดให้โลกหมุนช้าลงแน่ๆ สิ่งนั้นก็คือแรงเสียดทานจากน้ำขึ้นน้ำลงนั่นเองที่ทำให้โลกหมุนช้าลง Continue reading เรียนรู้เรื่องนาฬิกาลูกตุ้มและของเล่นเครื่องร่อน

เรียนรู้เรื่องการหมุนจากของเล่น และการทดลองแรงดันอากาศสำหรับเด็กอนุบาล

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่องคุณสมบัติของเกลือและทำไอศครีมอยู่ที่นี่ครับ)

 

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องคุณสมบัติของการหมุนสำหรับเด็กกลุ่มบ้านเรียน และเรื่องความเร็วและความดันอากาศสำหรับเด็กอนุบาลสามบ้านพลอยภูมิ

ผมเริ่มด้วยการเอาลูกอเมริกันฟุตบอลเล็กๆมาตั้งโดยให้ปลายแหลมสัมผัสพื้น ลูกบอลก็จะล้มลง ไม่สามารถตั้งอยู่ได้ ผมถามเด็กๆว่ามันมีวิธิให้ตั้งอยู่ได้นานๆทำอย่างไรรู้ไหม เด็กๆก็ยังงงๆอยู่ ผมเลยจับลูกบอลหมุนซะเลย และมันก็ควงเป็นลูกข่างตั้งอยู่ได้ เด็กๆก็อ๋อว่าเคยเห็นแล้ว

ลูกฟุตบอลรีๆตั้งได้ถ้าหมุนเป็นลูกข่าง

จากนั้นผมก็เอาลูกข่างที่ทำจากดินน้ำมันกับไม้จิ้มฟันมาหมุนให้เด็กๆดู ถ้าไม่หมุนมันจะล้มทันที แต่พอหมุนก็จะตั้งอยู่ได้นาน Continue reading เรียนรู้เรื่องการหมุนจากของเล่น และการทดลองแรงดันอากาศสำหรับเด็กอนุบาล

Things to Teach My Children (Version 1.1) บันทึกสิ่งที่ต้องบอกลูก เวอร์ชั่น 1.1

Things to Teach My Children (version 1.1: August 1, 2011)
(Version 1.0 is here.  Differences from version 1.0 are shown in red.
เวอร์ชั่น 1.0 อยู่ที่นี่ครับ ข้างล่างผมใช้สีแดงแสดงว่าอะไรต่างไปจากเวอร์ชั่น 1.0 บ้าง)

Foundations:

  1. Don’t believe anything easily. Use evidences & reasoning. อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ
  2. Empathize with other people. Be kind to others. เอาใจเขา มาใส่ใจเรา
  3. Don’t take advantage of people. อย่าเอาเปรียบผู้อื่น
  4. Remember that life is short. Try to make it a good one. ดำรงชีวิตให้มีประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมโลก ชีวิตมีชีวิตเดียว ใช้ชีวิตแบบที่เราสามารถภูมิใจได้เมื่อเราตาย
  5. Learn about mathematics & sciences. เรียนรู้หลักการทางคณิตศาสตร์ มันเป็นภาษาของจักรวาลที่เราอยู่ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อรู้ว่ากฎเกณฑ์ธรรมชาติเป็นอย่างไร
  6. Learn about history. เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ให้ทราบถึงธรรมชาติของมนุษย์
  7. Learn English. รู้จักใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆที่จำเป็นในอนาคต
  8. Pick at least one sport to enjoy. Pick at least one musical instrument to enjoy. หัดเล่นกีฬาและดนตรีที่เราชอบ แม้ว่าเราจะไม่เก่งจนไปแข่งกับใครได้ แต่เราจะมีความสุข และสุขภาพดีพอควร
  9. Be brave when you have to. จงกล้าหาญที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าเราจะกลัวก็ตาม ความกล้าหาญไม่ใช่การไม่กลัวอะไร แต่คือการที่เลือกจะทำสิ่งที่ถูกแม้ว่าจะมีผลกระทบที่ไม่ดีต่อตัวเรา
  10. Practice Learn from Buddhism, not necessarily as a religion, but at least as a user manual for the human mind. ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ยึดถือเป็นศาสนา แต่เพื่อให้เราใช้สมองและจิตอย่างมีสติ
  11. Don’t take yourself too seriously.  We are all fools in the grand scheme of things. อย่าทะนงตัว เรายังเขลานักและเราเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่เกิดขึ้นมาและจะหายไปในเวลาสั้นๆเท่านั้น

Good books for them to read:

  1. The Feynman’s Lecture on Physics Vol. 1, 2, and 3 by Richard P. Feynman
  2. The Blind Watchmaker by Richard Dawkins
  3. The Evolution of Cooperation by Robert Axelrod
  4. The Red Queen by Matt Ridley
  5. Buddhadasa’s Books หนังสือของท่านพุทธทาส (และ http://www.buddhadasa.org/)
  6. A Short History of Nearly Everything by Bill Bryson (แปลเป็นไทยขื่อ ประวัติย่อของเกือบทุกสิ่ง แปลโดย โตมร ศุขปรีชา/วิลาวัลย์ ฤดีศานต์)
  7. The Demon-Haunted World: Science as a Candle in the Dark by Carl Sagan

Skills to have:

  1. Know how to learn. Be a self-learner. จงเรียนรู้ด้วยตนเองได้
  2. Know how to tell computers to do your tasks. จงสามารถบอกให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆให้เราได้
  3. Know when to discount expert opinions. จงกล้าที่จะไม่เชื่อผู้เชี่ยวชาญเมื่อเรามีข้อมูลและเหตุผลที่บอกว่าเขาผิด
  4. Know how to gauge people. Respect people, not because of their ranks or wealth, but because of their honorable lives. นับถือคนดี เกียรติของคนไม่ได้อยู่ที่ยศตำแหน่งหรือทรัพย์สิน เกียรติอยู่ที่จิตใจที่งดงาม และสิ่งดีๆที่เขาทำให้สังคมและโลก
  5. Know how to avoid harm and to defend yourself. รู้จักเทคนิคการป้องกันตนเอง จากภัยต่างๆ

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)