คุยกับเด็กๆเรื่องแรงลอยตัว (ต่อ)

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “เรียนรู้เรื่องแรงลอยตัวด้วยของเล่นนักดำน้ำ และเล่นกับแรงตึงผิว” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เราคุยกันเรื่องแรงลอยตัวต่อครับ

ก่อนเริ่มผมให้เด็กๆดูคลิปสองคลิปครับ คลิปแรกเป็นลูกบอลทำด้วยโลหะนิคเกิลเผาไฟให้ร้อนแล้วปล่อยลงไปบนก้อนน้ำแข็ง ให้เด็กๆสังเกตและตื่นเต้น:

คลิปที่สองเป็นโฆษณาของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทำจากสารเคมีที่ไม่รวมตัวกับน้ำและน้ำมัน ทำให้เมื่อเอามันไปเคลือบสิ่งต่างๆแล้วสิ่งนั้นจะเปื้อนสิ่งสกปรกยาก:

พอเด็กๆดูเสร็จก็ลองถามเด็กๆว่าคิดว่าน่าเอาไปเคลือบอะไรได้บ้างครับ อยากให้เด็กๆเห็นสิ่งประดิษฐ์แปลกๆบ่อยๆโดยหวังว่าในอนาคตเด็กๆจะคิดประดิษฐ์อะไรบ้างครับ Continue reading คุยกับเด็กๆเรื่องแรงลอยตัว (ต่อ)

เรียนรู้เรื่องแรงลอยตัวด้วยของเล่นนักดำน้ำ และเล่นกับแรงตึงผิว

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “Spectroscope ทำมือ และเล่นไม้สั่น/หมุน” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องแรงลอยตัวสำหรับเด็กประถม และเล่นกับแรงตึงผิวสำหรับเด็กอนุบาลครับ

สำหรับเด็กประถม ก่อนจะเข้าเรื่อง ผมให้ดูวิดีโออันนี้ครับ โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 1:27 นาที แล้วให้เขาทายกันว่ามันเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร (ถ้าดูตั้งแต่เริ่มต้นจะมีคำอธิบายเลยครับ เลยเริ่มดูตอนกลางๆ):

เด็กๆป.1-2 เดาว่ามีแม่เหล็กแต่ยังไม่เข้าใจว่าทำไมมันไม่ดูดติดกันเลย เด็กๆป.3-5 มีบางคนบอกว่ามันต้องมีแม่เหล็กสองแบบคือแบบตรงกลางจะดูดกับแม่เหล็กข้างนอก และแบบเล็กๆรอบๆในวงแหวนสีดำจะผลักแม่เหล็กข้างนอก ผมจึงบอกว่าใช่แล้ว แม่เหล็กตรงกลางจะดูดให้แม่เหล็กข้างนอกเข้ามาใกล้ๆ แต่พอใกล้ถึงระยะน้อยๆแรงผลักจากแม่เหล็กเล็กๆในวงแหวนสีดำก็จะมากพอที่จะกันไม่ให้เข้ามาใกล้กว่านั้น

สำหรับเด็กป.3-5 ผมให้ดูรูปเครื่องยิงระเบิดรูปนี้ด้วย โดยให้สังเกตบริเวณศูนย์ที่ใช้เล็ง:

เวลาเล็งก็คือมองผ่านศูนย์หลังในช่องที่ความสูงเหมาะสม ให้ทาบกับศูนย์หน้าและเป้า ช่องที่ศูนย์หลังแต่ละช่องถูกปรับมาสำหรับระยะทางต่างๆ พอทาบกันแล้วตัวลำกล้องก็จะอยู่ในแนวที่ทำมุมกับพื้นราบ ทำให้ลูกระเบิดที่ออกไปวิ่งขึ้นไปสูง แล้วค่อยโค้งตกลงมาสู่พื้นอีกครั้ง คล้ายๆกับในเกม Angry Birds แต่ต่างจากในเกมตรงที่ในโลกมีอากาศ เมื่อลูกระเบิดวิ่งออกไปก็จะถูกแรงต้านอากาศทำให้วิ่งช้าลง ทำให้วิถีตอนตกลงมามีระดับความชันมากกว่าตอนวิ่งขึ้นไป ผมเสริมอีกด้วยว่าคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกถูกสร้างขึ้นมาเพื่อคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ว่ายิงที่มุมแบบนี้ ความเร็วแบบนี้ จะไปตกลงที่ไหน โดยรวมผลจากแรงต้านอากาศและอื่นๆเข้าไปด้วย (เด็กๆเข้าใจการเล็งจากการยิงปืนของเล่นพวก Nerf มาบ้างแล้ว) Continue reading เรียนรู้เรื่องแรงลอยตัวด้วยของเล่นนักดำน้ำ และเล่นกับแรงตึงผิว

Spectroscope ทำมือ และเล่นไม้สั่น/หมุน

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “คุยกับเด็กประถมเรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เด็กอนุบาลเล่นกับความเฉี่อย” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่อง Spectroscope ทำเองได้สำหรับเด็กประถม และเล่นของเล่นที่เปลี่ยนการสั่นเป็นการหมุนสำหรับเด็กๆอนุบาลครับ

สำหรับเด็กประถมผมพยายามเชื่อมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วที่ว่าแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยที่แสงที่มีสีแตกต่างกันก็เพราะเป็นคลื่นที่สั่นด้วยความถี่ต่างกัน คราวนี้ผมเลยให้เด็กๆได้รู้จักเครื่องมือที่เรียกว่า Spectroscope ที่จะแยกแสงสีต่างๆให้เราเห็นได้ เจ้าเครื่องมือนี้เราสามารถทำกันเองได้ง่ายๆด้วยแผ่น CD กล่องกระดาษ ฟอยล์อลูมิเนียม และเทปกาว

ผมเอาแผ่น CD มาเอียงไปเอียงมาให้สะท้อนแสงเป็นสีรุ้งๆให้เด็กเห็น แม้ว่าเราจะเห็นสีหลายๆสีแต่เนื่องจากมีแสงจากหลายๆทิศทางมากระทบแผ่น CD ทำให้เราเห็นสีไม่ชัดนัก วิธีที่จะทำให้เห็นชัดก็คือเราต้องจำกัดแสงที่มากระทบแผ่น CD ให้เข้ามาจากทิศทางเดียวโดยใช้กล่องกระดาษมาติดกับ CD และเจาะรูกล่องให้แสงวิ่งเข้ามาในทิศทางเดียวเท่านั้น จะได้เห็นสีชัดๆ

สาเหตุที่เราเห็นสีรุ้งๆสะท้อนบนแผ่น CD ก็เพราะว่าแผ่น CD บันทึกข้อมูลเป็นจุดๆที่เรียงกันเป็นเส้นรูปก้นหอยวนจากตรงกลางด้านในออกมาถึงขอบด้านนอก พวกจุดข้อมูลเหล่านี้จะทำให้คลื่นแสงขนาดต่างๆสะท้อนและหักเหออกมาในทิศทางต่างๆกัน ทำให้แสงสีต่างๆกันสะท้อนออกมาในทิศทางต่างกันทำให้เราเห็นแต่ละสีได้ ภาพข้างล่างนี้คือภาพขยายว่าหน้าตาของจุดข้อมูลในแผ่น CD เป็นอย่างไรครับ:

ภาพขยายพื้นผิวของแผ่น CD ถ่ายภาพด้วย Atomic Force Microscope (ภาพต้นแบบจาก http://en.wikipedia.org/wiki/File:Afm_cd-rom.jpg)

วิธีประกอบ Spectroscope ก็คือเอากล่องกระดาษแข็งมาเจาะรูสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างยาวประมาณ 2 เซ็นติเมตรสองรู โดยรูแรกอยู่ที่ด้านข้างของกล่องให้แสงเข้า(เจาะรูให้ห่างจากขอบบนลงมาสัก 2 เซ็นติเมตร) รูที่สองอยู่ด้านบนของกล่องไว้ให้เราสามารถมองเข้าไปในกล่องได้ ที่บริเวณรูที่ใช้มองให้ตัดกล่องเป็นช่องสำหรับเสียบแผ่น CD ลงไปได้สักครึ่งแผ่น แล้วเสียบ CD ลงไปให้ด้านที่สะท้อนแสงหันไปทางรูที่แสงเข้ามา เมื่อประกอบอย่างนี้เสร็จแล้วให้ลองให้แสงจากท้องฟ้าหรือหลอดไฟเข้ามาทางรูรับแสงแล้วมองเข้าไปในกล่อง เราควรจะเริ่มเห็นสีรุ้งๆแล้วแต่อาจจะเบลอๆไม่ชัด

แสดงบริเวณที่เจาะรูที่กล่อง และเสียบ CD

Continue reading Spectroscope ทำมือ และเล่นไม้สั่น/หมุน

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)