เจ็ดวันอันตรายและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย

ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาผมเห็นรายงานข่าวอุบัติเหตุและการตายทางจราจรว่าเจ็ดวันอันตรายมีคนตายไปเท่าไรแล้ว ทำให้ผมสงสัยว่าจริงๆแล้วมันอันตรายแค่ไหน (มากกว่าปกติแค่ไหน) ผมเลยไปเอาข้อมูลจากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนมาดูครับ

ข้อมูลเป็นตารางตัวเลข ทำให้ดูลำบาก ผมเลยเอาตัวเลขมาวาดกราฟสำหรับจำนวนต่อเดือนและต่อวันครับ:

จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย (ต่อเดือน)
จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย (ต่อเดือน)
จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย (ต่อวัน)
จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย (ต่อวัน)

 สำหรับคนตายในช่วงเจ็ดวันอันตราย ผมก็ค้นหาใน Google  เพื่อดูข่าวเก่าๆไปเรื่อยๆ ได้ตัวเลขมาดังนี้ครับ: Continue reading เจ็ดวันอันตรายและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย

หนังสือเปลี่ยนชีวิต (1): The Feynman Lectures on Physics

ตอนผมอายุ 16 ปี ผมได้พบกับหนังสือ The Feynman Lectures on Physics Vol. 1 เป็นครั้งแรกที่ร้านโอเดียนสโตร์สยามสแควร์ ตอนนั้นหนังสือปกสีแดงๆ ผมเริ่มหัดอ่านภาษาอังกฤษจริงๆจังๆมาได้สองปีแล้วเริ่มด้วยการอ่านนิยายผีๆภาษาอังกฤษ (เรื่องแรกที่อ่านจบทั้งเล่มคือ The Omen ภาคสาม ไปซื้อถูกๆที่สนามหลวง) พอเห็นหนังสือ Feynman สีแดงสดจึงเปิดดู อ่านไปสักพักก็ติดเลย ชอบมาก ซื้อมาราคา 441 บาท อ่านและคิดตามก่อนนอนเกือบทุกคืน  ผู้เขียนพูดถึงการเข้าใจธรรมชาติด้วยวิทยาศาสตร์โตยเฉพาะฟิสิกส์ จึงวางแผนจะไปเรียนฟิสิกส์กับ Feynman ที่มหาวิทยาลัย California Institute of Technology (Caltech) ให้ได้ ผมตั้งใจเรียนภาษาอังกฤษและอ่านแต่ Textbooks ตลอดปีม.5 ในวิชาด้านวิทยาศาสตร์ทั้งหลายเพื่อเตรียมตัว ในที่สุดก็ได้ไปเรียนที่ Caltech แต่ตอนที่ไป Feynman ป่วยมากแล้ว และเสียชีวิตหลังจากผมไปถึงไม่นาน

ถ้าไม่เจอหนังสือนี้ ผมก็คงเรียนหมอตามที่สอบเทียบติดที่เชียงใหม่ไปแล้ว และก็คงเป็นหมอที่ไม่ได้เรื่องนักเนื่องจากนิสัยผมไม่เหมาะกับอาชีพเสียสละอย่างนั้นเอาเสียเลย และก็คงไม่มีเวลาทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆอย่างที่ผมชอบได้

วันนี้เห็นฉบับพิมพ์ใหม่ที่ Kinokuniya สยามพารากอนครับ เห็นแล้วตื้นตัน

สำหรับผู้สนใจ สามารถอ่าน Online ได้ที่ http://www.feynmanlectures.caltech.edu/ นะครับ

เด็กๆทำความรู้จักกับรอกกัน

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “คาน –> ทำของเล่น Trebuchet รอกจอมพลัง ท่อกระดาษมหัศจรรย์” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมครับ วันนี้เด็กประถมต้นและปลายได้ดูวิดีโอคลิปปลาหมึกยักษ์กระโดดขึ้นบกมาจับปู ได้ดูวิดีโอการลุยไฟทำไมถึงทำได้ไม่ต้องเป็นผู้วิเศษอะไร จากนั้นเด็กๆก็ทดลองยกน้ำหนักสามกิโลกรัมด้วยการยกตรงๆ ผูกเชือกแล้วยกขึ้น และใช้รอกยกเพื่อเปรียบเทียบกันครับ

ก่อนอื่นผมให้เด็กๆดูวิดีโอคลิปนี้ครับ ก่อนดูถามเด็กๆว่าปูกับปลาหมึกยักษ์สู้กันใครจะชนะ ให้เด็กๆเดาแล้วก็ดูวิดีโอครับ:

เด็กๆตื่นเต้นที่เห็นปลาหมึกกระโดดออกมาจากน้ำมาลากปูลงไปกินได้ครับ ผมถามเด็กๆว่าแล้วปลาหมึกกินปูได้ยังไงถ้าปูมีกระดองแข็ง เด็กๆไม่แน่ใจผมเลยบอกว่ามันมีปากแหลมๆแข็งๆเหมือนนกแก้ว สามารถเจาะกระดองหรือเปลือกหอยได้ หน้าตาเป็นอย่างนี้ครับ: Continue reading เด็กๆทำความรู้จักกับรอกกัน

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)