โซเดียม + น้ำ = ระเบิด Smart Watch สุดเจ๋ง แรงลอยตัว บูมเมอแรง

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้ดูคลิปการระเบิดเมื่อโซเดียมโดนน้ำ ประถมปลายได้ดูคลิปการดัดแปลง Smart Watch ให้ตรวจจับการสั่นสะเทือนต่างๆแล้วใช้สั่งงานหรือตรวจจับสิ่งต่างๆได้ หลังจากดูคลิปแล้วเด็กๆก็ทดลองเรื่องแรงลอยตัวต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว เด็กอนุบาลสามได้เล่นบูมเมอแรงกระดาษแข็งกันครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ กิจกรรมคราวที่แล้วเรื่อง “คุยกันเรื่อง Supermoon เริ่มเรียนเรื่องแรงลอยตัว บูมเมอแรงกระดาษ” ครับ รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ผมไปพบคลิปน่าตื่นเต้นสำหรับเด็กมาครับ เลยเอามาให้เด็กประถมดูกัน มีคนเอาโซเดียม (Na) ใส่ลงไปในโถส้วมครับ ดูว่าเกิดอะไรขึ้น:

ปรากฎว่ามันระเบิดครับ! โซเดียมเมื่อโดนน้ำจะกลายเป็นสารละลายโซดาไฟ (NaOH) และก๊าซไฮโดรเจน ปล่อยความร้อนออกมามาก ทำให้ไฮโดรเจนระเบิดครับ สมการเคมีเป็นอย่างนี้ครับสำหรับผู้สนใจ:

2Na(s) + 2H2O → 2NaOH(aq) + H2(g)

ผมเล่าให้เด็กๆฟังว่าเกลือแกงที่เรากินกันเค็มๆประกอบด้วยธาตุสองอย่างคือโซเดียม และคลอรีน ธาตุแต่ละอย่างมีอันตรายต่อร่างกายคือโซเดียมโดนน้ำก็เป็นโซดาไฟร้อนๆและก๊าซไฮโดรเจน คลอรีนก็กัดผิวและเนื้อเยื่ออ่อนๆ ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งใช้เป็นแก๊ซพิษด้วย แต่พอโซเดียมและคลอรีนรวมตัวกันเป็นเกลือแกง กลับเป็นเครื่องปรุงอาหารที่เรากินได้

ถ้าเราดูโซเดียมในตารางธาตุ เราจะเห็นว่ามันอยู่ในคอลัมน์แรก ธาตุในคอลัมน์แรกก็มีไฮโดรเจน ลิเธียม โซเดียม โปตัสเซียม รูบิเดียม ซีเซียม และฟรานเซียม ธาตุเหล่านี้ตั้งแต่ลิเธียมเป็นต้นไปเมื่อผสมกับน้ำจะร้อนและมีแก๊ซไฮโดรเจนกันทั้งนั้นครับ มีคนทำเป็นวิดีโอให้ดูกัน: Continue reading โซเดียม + น้ำ = ระเบิด Smart Watch สุดเจ๋ง แรงลอยตัว บูมเมอแรง

สอนวิทย์มัธยม1: คลิปจากอินเทอร์เน็ตเรื่องเซลล์

ผมสอนเรื่องเซลล์ให้เด็กๆโดยให้เด็กหัดใช้กล้องจุลทรรศน์และอธิบายคลิปเหล่านี้ครับ:

ส่วนประกอบของเซลล์คร่าวๆ:

รายละเอียดมากขึ้น (เผื่อสนใจเพิ่ม):

รายละเอียดเกี่ยวกับอวัยวะจิ๋ว Organelles (เผื่อสนใจเพิ่ม):

Continue reading สอนวิทย์มัธยม1: คลิปจากอินเทอร์เน็ตเรื่องเซลล์

คุยกันเรื่อง Supermoon เริ่มเรียนเรื่องแรงลอยตัว บูมเมอแรงกระดาษ

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้คุยกันเรื่อง Supermoon ซื่งก็คือดวงจันทร์เต็มดวงตอนอยู่ใกล้ๆโลก (อยุ่ใกล้ได้เพราะวงโคจรมันเป็นวงรี ไม่ใช่วงกลม) เด็กๆได้เริ่มกิจกรรมเกี่ยวกับแรงลอยตัว เด็กอนุบาลสามได้เรียนรู้วิธีทำบูมเมอแรงกระดาษแข็งและไ้ด้ลองขว้างให้วนกลับมาหาตัวกันครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ กิจกรรมคราวที่แล้วเรื่อง “คานทุ่นแรง เงินเฟ้อและการเติบโตแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล เสือไต่ถัง” ครับ รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

สำหรับเด็กประถม ผมเล่าเรื่องเกี่ยวกับปรากฎการณ์ Supermoon ที่เกิดเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายา 2559 ให้ฟัง เด็กๆหลายคนก็ได้รู้จักมาบ้างแล้วจากข่าวต่างๆที่พูดถึงเรื่องนี้ หลายคนตอบได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้โลก และอยู่ด้านที่เห็นเต็มดวงพอดี จึงดูสว่างกว่าปกติ ผมเอารูปที่ครอบครัวผมถ่ายผ่านกล้อง Sony HX400V ซูมที่ 50 เท่ามาให้ดูครับ:

ถ่ายวันที่ 14 พ.ย. 2559 เวลาประมาณ 1 ทุ่ม กล้อง Sony HX400V ซูม 50 เท่า
ถ่ายวันที่ 14 พ.ย. 2559 เวลาประมาณ 1 ทุ่ม กล้อง Sony HX400V ซูม 50 เท่า

ผมเล่าให้เด็กๆฟังว่าดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรีไม่ใช่วงกลมเป๊ะๆ ดังนั้นจะมีช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ห่างและอยู่ใกล้โลก ตอนดวงจันทร์อยู่ห่างโลกที่สุดจะห่างประมาณ 400,000 กิโลเมตร  และเมื่ออยู่ใกล้ที่สุดจะใกล้ประมาณ 350,000 กิโลเมตร  ดวงจันทร์โคจรรอบโลกหนึ่งรอบใช้เวลาเท่าๆกับที่ดวงจันทร์หมุนรอบตัวพอดี (โคจรหนึ่งรอบใช้เวลา 27.322 วัน) ทำให้ชาวโลกมองเห็นแค่ด้านเดียวของดวงจันทร์เท่านั้น ผมเคยเล่าว่าทำไมเวลาโคจรรอบโลกและเวลาหมุนรอบตัวเองถึงเท่ากัน และทำไมดวงจันทร์ด้านที่ชี้เข้าหาโลกจึงดูแตกต่างกับด้านที่หันออกจากโลกมากไว้ที่นี่นะครับ ถ้าสนใจกดเข้าไปดูได้ Continue reading คุยกันเรื่อง Supermoon เริ่มเรียนเรื่องแรงลอยตัว บูมเมอแรงกระดาษ

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)