Category Archives: มัธยม

วิทย์ม.ต้น: ทำแบบฝึกหัดเขียนโปรแกรม, ใช้ Tracker วัดความเร็วลูกเหล็ก

1. วันนี้รุ่นพี่เขียนโปรแกรมไพธอนพยายามแก้โจทย์เหล่านี้:

-เขียนโปรแกรม ถามตัวเลขจำนวนเต็มบวก แล้วสร้างสูตรคูณเลขนั้นคูณกับ 1 – 12 แล้วแสดงสูตรคูณ

-เขียนโปรแกรมสร้างสูตรคูณแม่ 1 ถึง 12

-เขียนโปรแกรมรับค่าตัวเลขไปเรื่อยๆ ถ้าจะหยุดให้ใส่คำว่า END แล้วโปรแกรมจะคำนวณค่าเฉลี่ยของตัวเลขที่รับเข้าไป (ใช้ while และ list)

-เขียนโปรแกรมรับค่าตัวเลขไปเรื่อยๆ ถ้าจะหยุดให้ใส่คำว่า END แล้วโปรแกรมจะคำนวณค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวเลขที่รับเข้าไป (ใช้ while และ list)

เด็กๆทำสองข้อสุดท้ายยังไม่เสร็จจึงเอาไปทำต่อเป็นการบ้านครับ ให้เด็กๆค้นหาเองว่าคำนวณค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอย่างไร

2. รุ่นน้องใช้โปรแกรม Tracker วัดความเร็วลูกเหล็กจากการเล่นปืนแม่เหล็กคราวที่แล้ว โดยหาความเร็วเฉลี่ยดูว่าลูกเหล็กเคลื่อนที่ไปได้ไกลแค่ไหนหารด้วยเวลาระหว่างเฟรมภาพแรกและภาพสุดท้าย ไฟล์วิดีโอต่างๆโหลดได้ที่ลิงก์นี้ สเปรดชีตตัวอย่างการวัดอยู่ที่นี่

วิทย์ประถม: เล่นกับแม่เหล็ก

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กประถมปฐมธรรมครับ เด็กๆหัดคิดแบบวิทย์โดยอธิบายมายากล ประถมต้นได้เล่นการเหนี่ยวนำด้วยแม่เหล็ก เบรกแม่เหล็ก ประถมปลายได้เล่นปืนแม่เหล็กและการเหนี่ยวนำด้วยแม่เหล็ก

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลเหล่านี้ครับ ดูเฉพาะตอนแรกที่เป็นกล ยังไม่ดูส่วนเฉลยตอนหลัง แล้วดูเฉลยหลังจากได้พยายามคิดพยายามอธิบายว่ากลแต่ละกลทำอย่างไรกันก่อน ประถมต้นได้ดูคลิปคนหาย:

ประถมปลายได้ดูคลิปลูกบอลหาย:

กิจกรรมนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็นครับ

เด็กๆได้ดูคลิปว่าแม่เหล็กแรงๆมีอันตรายอย่างไร (ถ้าเอามาใกล้กันมันจะวิ่งเข้าหากันด้วยความเร็วสูง หนีบนิ้วหรืออวัยวะต่างๆได้):

ได้ดูได้ดูคลิปการลอยตัวด้วยการเหนี่ยวนำ:

เด็กๆประถมต้นได้เล่นกับการเหนี่ยวนำด้วยแม่เหล็ก ผมเคยอธิบายเรื่องนี้ไว้ในคลิปในอดีต:

จากนั้นเด็กๆก็แยกย้ายกันเล่นครับ:

เด็กๆประถมปลายเล่นการเหนี่ยวนำด้วยแม่เหล็กและปืนแม่เหล็ก (Gaussian gun) เล่นปืนแม่เหล็กโดยเอาลูกเหล็กอย่างน้อยสองลูกมาเรียงกันแล้วติดกับแม่เหล็กแรงๆปล่อยลูกเหล็กอีกลูกให้กลิ้งเข้าชนจากอีกด้านจะมีลูกเหล็กกระเด็นออกไปด้วยความเร็วสูง เพราะแม่เหล็กเพิ่มความเร็วลูกเหล็กที่วิ่งเข้ามาชน สามารถต่อกันเป็นตอนๆให้ความเร็วลูกเหล็กเพิ่มขึ้นเยอะๆได้:

เด็กๆแยกย้ายกันเล่นครับ:

วิทย์ม.ต้น: เฉลยข้อสอบเทอมที่แล้ว, การเหนี่ยวนำด้วยแม่เหล็ก, ปืนแม่เหล็ก

วันนี้เราคุยกันเรื่องเหล่านี้ครับ:

1. เฉลยข้อสอบองค์ที่แล้วและพาดพิงสิ่งต่างๆเหล่านี้:

-แนะนำให้เด็กๆศึกษา Cosmic Calendar

-เขียนโปรแกรมบวกเลข 1 – 1/2 + 1/3 – 1/4 + 1/5 – 1/6 … ได้ค่าประมาณ 0.69 = natural log of 2 = ln(2)

-โชว์ว่า 1 + 1/2 + 1/3 + 1/4 + 1/5 + 1/6 … จะเพิ่มไปเรื่อยๆแต่จะเพิ่มช้ามากๆ (ถ้าเรียนมากกว่านี้สามารถพิสูจน์ว่ามีค่าเป็นอนันต์)

-รู้จักกฎของ 72 (หรือ 70) ไว้ใช้ประมาณในใจว่าถ้าลงทุนมีผลตอบแทนทบต้นที่ r % ต่อปี จะใช้เวลาประมาณ 72/r ปีที่เงินจะงอกเงยเป็น 2 เท่า ทำสเปรดชีตไว้คำนวณเปรียบเทียบการเติบโตของเงินที่นี่

-คำนวณการออมเงินเป็นประจำทุกปีที่ผลตอบแทนคงที่ต่อปีเป็นเวลา 40 ปีจะมีเงินออมรวมเท่าไร ทำสเปรดชีตไว้ที่นี่

2. เล่นเหนี่ยวนำด้วยแม่เหล็ก สองอันนี้เป็นคลิปอธิบายในอดีตครับ:

และเด็กๆได้ดูคลิปการลอยตัวด้วยการเหนี่ยวนำ:

3. เล่นปืนแม่เหล็ก (Gaussian Gun) โดยเอาลูกเหล็กอย่างน้อยสองลูกมาเรียงกันแล้วติดกับแม่เหล็กแรงๆปล่อยลูกเหล็กอีกลูกให้กลิ้งเข้าชนจากอีกด้านจะมีลูกเหล็กกระเด็นออกไปด้วยความเร็วสูง เพราะแม่เหล็กเพิ่มความเร็วลูกเหล็กที่วิ่งเข้ามาชน สามารถต่อกันเป็นตอนๆให้ความเร็วลูกเหล็กเพิ่มขึ้นเยอะๆได้:

เราทำการถ่ายวิดีโอสโลโมชั่นไว้สำหรับวิเคราะห์ด้วย Tracker ในโอกาสต่อไปด้วยครับ

ภาพบรรยากาศกิจกรรมวันนี้:

วันนี้เด็กม.ต้นเรียนรู้เรื่องการเหนี่ยวนำด้วยแม่เหล็ก และเล่นและถ่ายวิดีโอปืนแม่เหล็กเพื่อไปวิเคราะห์ต่อไปครับ

Posted by Pongskorn Saipetch on Tuesday, November 10, 2020