วิทย์ประถม: เครื่องยิงที่ใช้อากาศหรือแก๊ส

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กประถมศูนย์การเรียนปฐมธรรมมาครับ เด็กๆได้หัดคิดแบบวิทย์โดยพยายามอธิบายมายากล ได้ดูตัวอย่างการหลอกลวงในวัด ผมได้อธิบายหลักการทำงานของปืน Nerf, ปีนคาบศิลา, ปืนยุคใหม่ใช้กระสุน, และการเป่าลูกดอก เด็กๆได้เล่นเป่าก้านสำลีจากหลอดกัน

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลในคลิปนี้ครับ เด็กๆดูกลก่อนแล้วพยายามอธิบายก่อนเฉลย คราวนี้เป็นกลหญิงหายตัวครับ:

กิจกรรมนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็น และหวังว่าเมื่อโตไปจะไม่ถูกหลอกง่ายๆครับ

ผมอธิบายการทำงานของเครื่องยิงชนิดต่างๆที่อาศัยอากาศหรือแก๊สประเภทต่างๆขับดันกระสุนให้เคลื่อนที่ไปที่เป้าหมาย เริ่มด้วยปืนของเล่น Nerf:

ให้เด็กๆสังเกตลูกสูบปั๊มลมที่ทำหน้าที่เหมือนหลอดฉีดยาในของเล่นจรวดแรงดันอากาศที่เราเคยเล่นกัน ให้สังเกตสปริงที่ทำหน้าที่ดันลูกสูบผลักดันอากาศให้ดันกระสุนโฟมออกไป

จากนั้นผมอธิบายการทำงานของปืนคาบศิลา:

ให้เด็กๆสังเกตว่าดินปืนที่เป็นของแข็งจะถูกจุดไฟด้วยชนวน (แก๊ป หรือไพรเมอร์ ที่คล้ายๆของเล่นกระเทียมที่เราขว้างลงพื้นแล้วดังแป๊ะๆ) ดินปืนเผาไหม้สร้างแก๊สจำนวนมากผลักดันกระสุนออกไปจากลำกล้อง

เล่าให้เด็กๆฟังว่าปืนประเภทนี้ลำกล้องจะไม่มีเกลียว มีขนาดใหญ่กว่ากระสุนเล็กน้อย ทำให้กระสุนชนผนังไปมาก่อนจะพ้นลำกล้องได้ ทำให้มีข้อจำกัดด้านความแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้เวลายิงนัดต่อไปนานอีกด้วยเพราะมีหลายขั้นตอนกว่าจะยิงได้แต่ละนัด

มนุษย์พยายามแก้ปัญหานี้โดยการสร้างกระสุนปืนสำเร็จรูปที่รวมหัวกระสุน ดินปืน ไพรเมอร์ไว้ด้วยกัน ทำให้ยิงได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้การที่ลำกล้องมีเกลียวบังคับให้หัวกระสุนหมุนทำให้แม่นยำมากขึ้นด้วย ดังในคลิปเหล่านี้:

หลังจากเข้าใจทฤษฎีการทำงาน และเนื่องจากเราเล่นปืนไม่ได้ เราเลยใช้ลมหายใจของเราเป่าไม้พันสำลีผ่านหลอดกาแฟใส่เป้าต่างๆแทน ?

One thought on “วิทย์ประถม: เครื่องยิงที่ใช้อากาศหรือแก๊ส”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.