วิทย์ม.ต้น: ความคาดหวัง (Placebo, Nocebo), ช่อง YouTube แนะนำ, แอพ PhyPhox

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง Expectation (ความคาดหวัง) จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ที่ความคาดหวังต่างๆของเรามีผลกระทบในชีวิตประจำวันอย่างมาก

เด็กๆรู้จัก placebo ที่ร่างกายเราหายป่วยเมื่อคิดว่าได้รับการรักษา แม้ว่าจะไ้ด้ยาปลอมๆที่ไม่มีฤทธิ์อะไร หรือได้ฉีดน้ำกลั่น ความคิดในสมองส่งผลให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆในร่างกายทำงานรักษาตนเองได้ อันนี้เป็นตัวอย่างของความคาดหวังที่มีผลต่อร่างกายจริงๆ (ดังนั้นผมจึงแนะนำให้เด็กๆให้พยายามมีอารมณ์แจ่มใส ยิ้มให้ตัวเองในกระจกตอนเช้า คิดขอบคุณสิ่งต่างๆรอบตัว และเมื่อเจอสถานการณ์แย่ๆให้คิดว่ามันยังแย่ลงได้อีกเยอะ หาทางแก้ไขดีกว่ามานั่งเศร้าขุ่นมัว)

เด็กๆได้รู้จัก nocebo ที่ตรงกันข้ามกับ placebo ด้วย คือการคิดว่าตัวเองจะป่วยแล้วป่วยจริงๆ มีการทดลองที่บอกคนว่าใบไม้ (ที่ไม่มีพิษทำให้คัน) ที่มาลูบแขนจะทำให้คันแล้วคนก็คันจริงๆเป็นต้น

เด็กๆได้รู้จักว่าการทดสอบว่ายาหรือการรักษาหรือปัจจัยต่างๆมีผลดีอย่างที่คิดจริงหรือไม่ต้องทดสอบด้วยวิธีที่เรียกว่า double-blind, randomized, controlled trial เพื่ออย่างน้อยจะไม่ถูก placebo ทำให้คิดว่ายาใช้ได้ผลจริง และให้ระวังยาสมุนไพรที่ไม่ได้ทดสอบจริงจังแบบนี้เพราะอาจมีปัญหาทางความเข้มข้นสารเคมีและผลข้างเคียงต่างๆ

ผมแนะนำให้เด็กๆเข้าไปดูคลิปในช่องที่แนะนำเหล่านี้สัปดาห์ละสองคลิปแล้วเขียนสรุปว่าเรียนรู้อะไรส่งให้ผมอ่าน:

ผมแนะนำให้เด็กๆรู้จักแอพโทรศัพท์ชื่อ phyphox (physical phone experiments) โดยใช้เซนเซอร์ต่างๆในโทรศัพท์ของเราวัดสิ่งต่างๆรอบตัวเช่นความดันอากาศ เสียง แม่เหล็ก ความเร่ง ฯลฯ เราจะเอามาเล่นกันสัปดาห์หน้าครับ วันนี้ลองแกว่งโทรศัพท์เหมือนลูกตุ้มก็ได้ความเร่งเป็นคลื่นหน้าตาแบบนี้ครับ (ดู Linear Acceleration x):

เวลาเหลือนิดหน่อยเราเลยเล่นแรงโน้มถ่วงเทียม ให้สังเกตว่าความเร่งทำงานเหมือนแรงโน้มถ่วงที่มีทิศตรงข้ามกันครับ คลิปและภาพอยู่นี่ครับ:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.