วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องเทคโนโลยีสู้ภัยพิบัติเลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ
สรุปคือ:
- มีการใช้ภาพและข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อคาดการณ์ (เช่นทิศทางพายุ, ความชุ่มน้ำของดิน, การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิศาสตร์) ว่าอาจเกิดภัยพิบัติที่ใดในเวลาประมาณใด ข้อมูลต่างๆถูกประมวลด้วยซอฟท์แวร์หลายๆแบบ รวมถึงมีการพัฒนาระบบ AI ต่างๆมาช่วย
- ภาพและข้อมูลจากดาวเทียมใช้สำรวจพื้นที่ประสบภัยพิบัติเพื่อการช่วยเหลือต่างๆ
- ระบบสื่อสารที่ไม่ต้องใช้เครือข่ายรวมศูนย์เริ่มมีการใช้มากขึ้น เช่นโทรศัพท์มือถืออาจติดต่อกันโดยตรงและช่วยกันส่งข้อมูลไปมาแบบ Mesh Networking (การติดต่อแบบนี้มีประโยชน์ในกรณีระบบโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้)
- โปรแกรมต่างๆบนโทรศัพท์มือถือสามารถช่วยระบุตัวตน ตำแหน่ง และข้อมูลอื่นๆเช่นภาพถ่าย วิดีโอ และส่งข้อมูลเหล่านี้เข้าสู่ศูนย์ช่วยเหลือ
- มีการใช้โดรนและหุ่นยนต์ต่างๆเข้าสำรวจสถานที่ประสบภัย เพื่อสร้างแผนที่หน้างานและค้นหาผู้ประสบภัยที่ตกค้างตามที่ต่างๆ มีกล้องและเซนเซอร์ รวมถึงระบบสื่อสารกับผู้ประสบภัย
- มีระบบจ่ายไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ ตั้งแต่ขนาดเล็กๆจนไปถึงระดับโรงไฟฟ้า
- มีการพัฒนาซอฟท์แวร์ที่รวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่งแล้วสรุปเป็นภาพและแผนที่เพื่อช่วยในการตัดสินใจต่างๆในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการวิจัยพวก Big Data และ AI ในเรื่องนี้ด้วย
ลิงก์น่าสนใจ:
ดาวเทียมญี่ปุ่นเพื่อถ่ายภาพภัยพิบัติ:
ประเมินความเสี่ยงแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น
ตัวอย่างการพัฒนา AI ช่วยดูภาพจากดาวเทียมเพื่อทำนายภัยพิบัติ:
ตัวอย่างการพัฒนา AI ช่วยเหลือบริเวณประสบภัย:
ใช้โซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่จ่ายไฟฟ้า:
ตัวอย่างโปรแกรมให้ประชาชนช่วยรายงานเรื่องต่างๆ
ตัวอย่างการพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยหาผู้ประสบภัย: