วิทย์ม.ต้น: เขียนโปรแกรม ไพธอนแปลงข้อความและเกมทายตัวเลข

ผมให้เด็กๆม.2-3 ไปพยายามเขียนโปรแกรมแปลงข้อความแบบในรูปนี้ครับ:

เด็กบางคนทำได้ บางคนยังติดอยู่ ผมจะเขียนทีละขั้นตอนให้เด็กๆดู ค่อยๆเพิ่มความสามารถโปรแกรมทีละนิดๆ และตรวจเช็คการทำงานแต่ละขั้นตอน เด็กๆได้เรียนรู้เรื่องสตริงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในไพธอน รู้จักการเก็บข้อมูลไว้ในลิสต์แล้วเปลี่ยนเป็นสตริงภายหลัง รู้จักใช้ดิกชันนารีในไพธอนเก็บข้อมูล รู้จัก .maketrans(…) และ .translate(…) ที่สตริงแต่ละตัวสามารถใช้ได้ ดู Jupyter Notebook ที่บันทึกการเรียนที่นี่นะครับ

หน้าตาจอตอนเรียนเป็นประมาณนี้ครับ:

วิธีที่นี้ใช้ if หลายๆอันตรงๆเลย
วิธีนี้ใช้ดิกชันนารีชื่อ translate เป็นตัวเก็บว่าอักษรอะไรเปลี่ยนเป็นอะไร ใช้ if i in translate ดูก่อนว่าตัวอักษรที่จะเปลี่ยนมีอยู่ใน translate
วิธีนี้ใช้ฟังก์ชั่นของสตริงในไพธอนชื่อ .maketrans และ .translate

สำหรับเด็กม.1 เด็กๆได้เรียนรู้เรื่องตัวแปร การเก็บข้อมูลจากผู้ใช้ด้วย input(…) การทำงานตามเงื่อนไขด้วย if … else การทำงานซ้ำๆด้วย for … in และ while(…) การสุ่มตัวเลขด้วย random.randint(…) แล้วหัดทำเกมทายตัวเลขกันครับ

เด็กๆเห็นว่าในการเดาเลขตั้งแต่ 1 ถึง 100 เราสามารถเดาไม่เกิน 7 ครั้งก็ถูกถ้าเราแบ่งครึ่งช่วงการเดาโดยเดาไปตรงกลางของช่วงที่เป็นไปได้ของตัวเลขเสมอ เพราะช่วงที่เป็นไปได้จะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆจาก 100, 50, 25, 13, 7, 4, 2, 1

ถ้าเดาตั้งแต่ 1 ถึง 1,000 ก็เดาไม่เกิน 7 ครั้งเพราะช่วงที่เป็นไปได้จะมีขนาดเล็กลง จาก 1000, 500, 250, 125, 63, 32, 16, 8, 4, 2, 1

ถ้าเดาตั้งแต่ 1 ถึง 2**n ก็เดาไม่เกิน n ครั้ง เพราะช่วงที่เป็นไปได้จะมีขนาดเล็กลงจาก 2**n, 2**(n-1), 2**(n-2), 2**(n-3), … , 8, 4, 2, 1

เมื่อลองคำนวณขนาด 2**i โดยให้ i เป็น 0 ถึง 30 จะเห็นว่า 2**10 มีค่าประมาณหนึ่งพัน 2**20 มีค่าประมาณ หนึ่งล้าน และ2**30 มีค่าประมาณ พันล้าน

ดู Jupyter Notebook ที่บันทึกการเรียนที่นี่นะครับ

หน้าตาจอตอนเรียนเป็นประมาณนี้ครับ:

เราสามารถทายตัวเลข 1 ในล้านตัวได้ภายใน 20 ครั้ง ถ้าเราแบ่งครึ่งช่วงที่ตัวเลขอยู่ข้างในให้เล็กลงครึ่งหนึ่งทุกครั้งที่ทาย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.