กราฟระดับความสูงกรวยกระดาษที่ตกลงมาครับ (y vs. t)

วิทย์ม.ต้น: Cognitive Biases สองอัน, เปรียบเทียบการตกกรวยกระดาษและลูกบอล

วันนี้สำหรับมัธยมต้นพวกเราคุยกันเรื่อง cognitive biases ที่เด็กๆไปอ่านในหนังสือ The Art of Thinking Clearly ในสัปดาห์ที่ผ่านมาครับ คราวนี้เรื่อง Confirmation Bias และ Authority Bias

Confirmation Bias คือเราค้นหาและเชื่อแต่หลักฐานที่สนับสนุนความเชื่อที่เราอยากให้เป็นจริง ไม่ค่อยให้น้ำหนักกับหลักฐานที่ขัดแย้งกับความเชื่อของเรา การคิดแบบนี้ทำให้เรามีอวิชชาผิดๆได้เยอะมากเพราะจะยึดติดกับความเชื่อผิดๆไม่ตรงกับความเป็นจริงได้อย่างเหนียวแน่น แม้ว่าจะมีหลักฐานมากมายที่ขัดแย้งความเชื่อของเรา

อันนี้เป็นเกมเกี่ยวกับ confirmation bias ครับ:

Authority Bias  คือการที่เราเชื่อหรือให้น้ำหนักความเห็นของ “ผู้ใหญ่” หรือ “ผู้นำ” มากเกินไป แม้ว่าจะมีหลักฐานว่าท่านเหล่านั้นมีความเห็นที่ผิดก็ตาม อันนี้รวมไปถึงความเชื่อในหนังสือ คัมภีร์ และ เรืองเล่าต่างๆที่คนคิดว่าศักดิ์สิทธิ์ด้วยครับ

จากนั้นเด็กๆได้เปรียบเทียบการตกของลูกบาสและกรวยกระดาษกันครับ เราถ่ายวิดีโอการตกแล้วใช้โปรแกรม Tracker มาหาตำแหน่งและความเร็วที่เวลาต่างๆกันครับ

กราฟระดับความสูงกรวยกระดาษที่ตกลงมาครับ (y vs. t)
กราฟระดับความสูงกรวยกระดาษที่ตกลงมาครับ (y vs. t) จะเห็นว่าอัตราการตกตอนหลังตกแบบความเร็วคงที่  คือความชันของกราฟคงที่
กราฟความเร็วในแนวดิ่งของกรวยกระดาษที่ตกลงมาครับ (V_y vs. t)
กราฟความเร็วในแนวดิ่งของกรวยกระดาษที่ตกลงมาครับ (V_y vs. t) เห็นว่าตอนหลังๆความเร็ว V_y มีค่าประมาณ -1.8 เมตรต่อวินาที
กราฟระดับความสูงลูกบาสที่ตกลงมาครับ (y vs. t)
กราฟระดับความสูงลูกบาสที่ตกลงมาครับ (y vs. t) ความเร็วการตกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆคือความชันชันมากขึ้นเรื่อยๆ
กราฟความเร็วในแนวดิ่งของลูกบาสที่ตกลงมาครับ (V_y vs. t)
กราฟความเร็วในแนวดิ่งของลูกบาสที่ตกลงมาครับ (V_y vs. t) จะเห็นว่าความเร็วตกเร็วขึ้นเรื่อยๆ ความเร็วยังไม่คงที่
ความเร็วในแนวดิ่งของลูกบาสที่ตกลง จะเห็นว่าตกเร็วมากขึ้นเรื่อยๆด้วยอัตราคงที่
ความเร็วในแนวดิ่งของลูกบาสที่ตกลง จะเห็นว่าตกเร็วมากขึ้นเรื่อยๆด้วยอัตราคงที่

เด็กๆได้รู้จัก “ความเร็วสุดท้าย” หรือ terminal velocity เมื่อแรงต้านอากาศมีค่าพอดีกับน้ำหนักวัตถุพอดี คือปกติแรงต้านอากาศจะเพิ่มขึ้นเมื่อความเร็วการตกของวัตถุเพิ่มขึ้น ถ้าวัตถุยังตกไม่เร็วพอ น้ำหนักก็จะยังมากกว่าแรงต้านอากาศ วัตถุก็จะตกเร็วขึ้นอีก ถ้าวัตถุตกเร็วพอจะทำให้แรงต้านอากาศหักล้างกับน้ำหนักวัตถุพอดี ทำให้วัตถุตกต่อไปด้วยความเร็วสุดท้ายอันนั้น 

ดูคลิป terminal velocity ครับ:

ถ้าไม่เคยใช้ Tracker มาก่อน ลองดูวิธีใช้จากวิดีโอเหล่านี้นะครับ:

ผมเคยใช้ Tracker ศึกษาการกระเด้งของลูกปิงปองในอดีตครับ:

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.